Back

สัญญาทาสเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย

18 September 2019

2819

สัญญาทาสเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย

สัญญาว่าด้วยการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ แปลงที่สี่ พื้นที่น้ำคิว-ภูขุมทอง ถือเป็นสินทรัพย์ตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายด้วยหรือไม่ และสัญญาดังกล่าวต้องถูกยกเลิกเพิกถอนไปตามการล้มละลายของเจ้าของสัญญาด้วยหรือไม่ ?

...

 

หยุดพักเรื่องราวเกี่ยวกับชายฉกรรจ์หัวเกรียนที่เข้ามาเจรจาเชิงข่มขู่คุกคามชาวบ้านเพื่อขอขนสินแร่ทองคำผสมทองแดงและสินทรัพย์ที่มีค่ารายการต่าง ๆ ที่ยังอยู่นอกบัญชีทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอาไปขาย (ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วของศาลล้มละลายที่สั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำสินทรัพย์ทั้งหมดของเจ้าของเหมืองทองคำ คือ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ไปขายทอดตลาด  เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายต่าง ๆ  แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังจัดทำบัญชีรายการทรัพย์สินไม่แล้วเสร็จดูโพสต์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้ในเพจ เหมืองแร่ เมืองเลย V2) สักครู่  มาหาความรู้ในประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับเหมืองทองคำจังหวัดเลยกันดีกว่า

 

ตามคำถามจากหัวโพสต์นี้มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.. ๒๕๖๐ ระบุว่า สิทธิตามประทานบัตรไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี” (และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.. ๒๕๑๐ ที่ถูกยกเลิกใช้บังคับไปแล้วก็ระบุเช่นเดียวกันว่า สิทธิตามประทานบัตรไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี”)

 

ส่วนที่ว่าสัญญาดังกล่าวถือเป็นสิทธิตามประทานบัตรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๕ ด้วยหรือไม่  ก็อาจจะต้องศึกษากรณีเทียบเคียง  ดังเช่นกรณีกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐  ที่ ยธ ๐๕๐๑/๔๑๒๔  เรื่อง รายงานผลการพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) .. .... (ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

 

โดยที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ  และมอบหมายให้ ยธ. รับข้อสังเกตไปพิจารณาร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของ  ข้อสังเกตดังกล่าว  และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการในภาพรวม  แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการ ครม. ภายใน ๓๐ วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง  เพื่อนำเสนอ ครม. ต่อไป นั้น 

 

ยธ. ได้ดำเนินการพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ  โดยกรมบังคับคดีได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ มีข้อสรุปออกมาว่าที่ให้กรมบังคับคดีกำหนดแนวปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการบังคับคดียึดสิทธิของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามใบอนุญาตประทานบัตร  อาชญาบัตร  สัมปทาน  หรือสิทธิอย่างอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือเกี่ยวเนื่องกับสิทธิดังกล่าว ตามร่างมาตรา ๓๑๑  ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยมีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ให้ข้อมูลด้วยนั้น 

 

สรุปได้ว่าสิทธิในการขอประทานบัตรหรือสัมปทานต่าง ๆ เป็นสิทธิเฉพาะตัว  ที่มีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ขออนุญาตหรือผู้ถือสิทธิไว้  อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง  หรือเป็นสมบัติของชาติ  และสิทธิตามใบอนุญาตประทานบัตร  อาชญาบัตร  หรือสัมปทานบางอย่าง  มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี  เช่น  สิทธิตามใบอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่  หรือสิทธิตามใบอนุญาตสัมปทานปิโตรเลียม  เป็นต้น

 

เมื่อดูจากกรณีเทียบเคียงที่ยกมานี้  ก็ถ่างกว้างขึ้นมาได้นิดหน่อย  ถ้าตีความอย่างกว้างก็อาจจะแจงได้ว่าสัญญาดังกล่าวคือ แม่ของลูก ๆ อาชญาบัตรและประทานบัตร  ดังนั้น  มาตรา ๖๕ จึงรวมถึงสัญญาดังกล่าวด้วย

 

แต่ถ้าตีความอย่างตรงไปตรงมาก็มีประเด็นให้พิจารณาว่า  สัญญาดังกล่าวไม่ได้พูดแค่เรื่อง สิทธิตามประทานบัตรเพื่อขอทำเหมืองแร่ตามมาตรา ๖๕ เท่านั้น  แต่ยังพูดถึง สิทธิตามอาชญาบัตรเพื่อขอสำรวจแร่ด้วย  และยังพูดถึงสิทธิการจับจองพื้นที่แปลงใหญ่มากขนาดมากกว่า ๓ แสนไร่  เพื่อจับจองเอาไว้ให้เจ้าของสัญญาดังกล่าวครอบครองแต่ผู้เดียวโดยไม่มีอายุขัย (เพื่อมอบอภิสิทธิให้แก่เจ้าของสัญญาเป็นผู้มีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียวให้ได้สิทธิตามอาชญาบัตรและประทานบัตร)

 

ซึ่งเป็นการทำสัญญาที่เกินไปกว่าบทบัญญัติใด ๆ ที่มีอยู่ในพระราชบัญญัติแร่ พ.. ๒๕๑๐ จะสามารถให้กระทำได้ (สัญญาดังกล่าวจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔  ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการบังคับใช้พระราชบัญญัติแร่ พ.. ๒๕๑๐  และก็ไม่มีข้อยกเว้นหรืออนุโลมตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.. ๒๕๖๐ จะสามารถให้กระทำได้เช่นเดียวกัน)

 

ดังนั้น  จึงมาสู่คำถามที่สองว่า สัญญาดังกล่าวต้องถูกยกเลิกเพิกถอนไปตามการล้มละลายของเจ้าของสัญญาด้วยหรือไม่ ?”

 

ก็มีเรื่องยุ่งยากให้ต้องตีความ  เนื่องจากสัญญาดังกล่าวลงนามโดยกรมทรัพยากรธรณีกับ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด” (ปัจจุบันเป็นบริษัทมหาชนแล้ว) และ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด”  ซึ่งทุ่งคำถูกคำพิพากษาให้ล้มละลายโดยเด็ดขาดไปแล้ว  แต่ทุ่งคาฯยังโลดแล่นในตลาดหุ้นอยู่ในขณะนี้และก็คงไม่ยอมโดยง่ายที่จะให้สัญญาดังกล่าวถูกยกเลิกเพิกถอนไป

 

ก็ถ้าทุ่งคาฯยังแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของสัญญาดังกล่าวร่วมกับทุ่งคำ  เพราะเล็งเห็นว่าสินทรัพย์มูลค่ามหาศาลอยู่ในสัญญานี่เอง  ไม่ใช่สินแร่ทองคำผสมทองแดงและสินทรัพย์ที่มีค่ารายการต่าง ๆ ที่เห็นตัวตนตามที่ชายฉกรรจ์หัวเกรียนมาเจรจากับชาวบ้านอยู่ในขณะนี้  ก็ควรบังคับให้ทุ่งคาฯชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายต่าง ๆ (รวมทั้งชาวบ้านที่คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์คดี  กำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน 149 ราย ๆ ละ 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง  และให้ทุ่งคำซึ่งเป็นจำเลยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองทองคำจนกว่าจะกลับสู่สภาพเดิมตามมาตรฐานทางราชการ) แทนทุ่งคำด้วย  จึงจะสมเหตุสมผล

 

เพราะไม่เพียงแต่ทุ่งคาฯถือสัญญาดังกล่าวร่วมกับทุ่งคำเท่านั้น  แต่ทุ่งคาฯยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในทุ่งคำด้วยจำนวน ๔,๕๐๐,๐๐๐ หุ้น

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112