Back

2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ ตอนที่ 7  มือปืน

22 May 2020

1670

2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ  ตอนที่  7  มือปืน

 


ระหว่างปี 2555-2556 สถานการณ์ทางภาคใต้คุกรุ่นมาก มีเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้ของพี่น้องประชาชน ทั่วไปหมด ทั้งกรณีประมงอวนลากอวนรุน โครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ( Southern Seaboard ) ท่อก๊าซไทย-มาเลย์ กรณีป่าชายเลน กรณีอุทยานฯ ไล่ที่เทือกเขาบรรทัด –เขาหลวงและเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลอันดามัน  กรณียกเลิกสัญญาเช่าที่สวนปาล์ม กรณีโรงโม่หินที่ห้วยยอด ตรัง ฯลฯ เป็นช่วงที่ผมได้ลงไปคลุกคลีปัญหาในพื้นที่เกือบตลอดเวลา

ทำให้ค่อนข้างสนิทสนมกับคนทำงานเอ็นจีโอในพื้นที่และแกนนำชาวบ้าน จนบางพื้นที่ผมสามารถนั่งรถเข้าออกได้เองเลยทีเดียว เพราะชาวบ้านจะรู้จักผมทั้งหมด ความสนิทสนมรักใคร่นี้เอง กลายเป็นประตูสู่ความผูกพันกับงานในพื้นที่ภาคใต้ เพราะทั้งปีมีแต่ตารางลงพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดตรัง ที่มั่นหลัก

ภาคใต้เป็นดินแดนทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์มาก มีทั้งป่าไม้ ทะเล น้ำตก ผลผลิตการเกษตร ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว ทุกรูปแบบ แถมอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้าทางทะเล ทำให้ทุกแผนพัฒนามุ่งมาที่ใต้ และทุกรัฐบาล ก็จ้องตาเป็นมันกับแผนพัฒนาภาคใต้ ผลประโยชน์มากมายในภาคใต้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ตามความจริงแล้ว ภาคใต้กลับเป็นดินแดนที่เหนียวแน่นเข้มแข็งมากทางวัฒนธรรม รักและยึดโยงวิถีชีวิตกับธรรมชาติ ศาสนา ที่สงบ เรียบง่าย

เมื่อการพัฒนาจากส่วนมากกำหนด มาปะทะ การขออยู่กับวิถีเรียบง่าย ทุกอย่างจึงกลายเป็นสงครามขัดแย้งไปทั่ว ซึ่งคนที่เสียผลประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มนักธุรกิจ การเมืองในท้องถิ่น รวมถึงข้าราชการบางคนที่มีเอี่ยว

กรณีโรงโม่หิน (ซึ่งมีหลายพื้นที่ที่ขัดแย้ง ) หิน เป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนนที่กำลังขยายเป็น
4 เลน  8 เลน เพื่อให้เพียงพอกับการใช้ถนน และเชื่อมถึงกันทุกจุด และ หิน ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเมือง อาคาร บ้านพัก  โรงงาน คอนโดมีเนียม ระยะทางการขนส่งหินจึงเป็นต้นทุนผันแปรที่สำคัญ ทำให้ทุกโครงการพยายามหาแหล่งหินที่ใกล้และราคาไม่แพง  ในขณะที่ธุรกิจโรงโม่ ส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มทุนอิทธิพล เชื่อมโยงมีสายสัมพันธ์กับอำนาจการเมือง ทุกระดับ และเมื่อความต้องการบีบคั้น มีสูง คำว่า เก็บ หรือ สั่งฆ่า จึงเกิดขึ้น!!!

ผมชอบขบวนการต่อสู้ของพี่น้องชาวใต้ ตรงที่มีอัตลักษณ์ที่ค่อนข้างชัดเจน คือ กล้าสู้คน !!  เพราะรากฐานทางวัฒนธรรมของคนภาคใต้นั้น นักเลง และเกาะเกี่ยวกันเหนียวแน่น เป็นเพื่อน เป็นเกลอ แถมบางพื้นที่ อย่างห้วยยอด ที่มีหมู่บ้านริมป่านั้น หลายคนเคยเป็นอดีตสหายเก่า เคยสู้รบ เมื่อมาเจอกับการถูกบีบคั้น ข่มเหง จึงลุกขึ้นสู้ แบบมียุทธวิธี มีเวรกรรม มีงานข่าว งานแทรกซึม ทำให้บางสถานการณ์ ตึงเครียดและแหลมคม เพราะต่างฝ่ายต่างจดๆจ้องๆ พร้อมจะลงมือ เก็บแกนนำแต่ละฝ่าย

ผมเข้าออกในฐานะนักข่าว
ThaiNGO  ที่คอยติดตามสถานการณ์ เมื่อเข้าอออกบ่อยๆ ก็เริ่มคุ้นชิน บางครั้ง ก็ไม่ต้องคอยชุดคุ้มกัน หรือ รอเข้าพื้นที่พร้อมๆน้องๆ ลงรถที่ บขส. ได้ ผมก็ตีรถรับจ้างเข้าไปเลย

ผมเก้ๆกังๆ อยู่ที่ประตูหน้าบ้าน อยู่พักใหญ่ ไม่มีความเคลื่อนไหว จึงถือวิสาสะ เปิดประตูเดินเข้าไป ไม่นานจากนั้นได้ยินเสียงตะโกนมาไกลจากในบ้าน  “ปี้ไนล์ ช่ายม้าย ?”   
“ใช่ครับ...”   ผมตอบ 
“แย็ดแหมม... พ้มเกือบยิง แหล่วหล่าว”    เสียงอีกฝ่ายพูดและถอนหายใจ

หลายวันมานี่ สายข่าวชาวบ้านได้รับแจ้งมาว่า ทางนายทุนแถวกันตังได้ลงขัน ระดมทุนกับกลุ่มธุรกิจด้วยกัน ซึ่งได้มาหลายล้านเพื่อจ้างซุ้มมือปืนมากำจัดแกนนำชาวบ้านและเอ็นจีโอ) ทำให้เราซึ่งก็ต้องทำงานหาข่าวเหมือนกัน สืบไปได้ ว่ามือปืนซุ้มนี้เกี่ยวกับกับนายตำรวจใหญ่คุมภาคใต้   จึงพยายามเข้าไปพูดคุยกับนายตำรวจที่ใหญ่กว่า ว่า ให้เจรจาให้หน่อย ว่าอย่าทำชาวบ้าน
 แต่ที่สนุกกว่านั้น คือ บางคนเป็นอดีตสหายนักรบเก่าในเขตป่า ก็ไม่ใช่ย่อย จัดเตรียมทั้งอาวุธหนักครบมือ พร้อมอดีตนักรบป่า เข้าประจำการในหมู่บ้านเต็มอัตราศึกเหมือนกัน ผมนึกไม่ออกจริงๆ ถ้าซุ้มมือปืนลงมือจริงๆจะเกิดอะไรขึ้น ในหมู่บ้านแห่งนั้น
!! 

และโชคดีที่เช้าวันนั้น น้องเค้าตัดสินใจเรียกชื่อผมดู  ถ้าผมไม่รีบขานรับ ป่านนี้ก็สูญหายไร้ร่องรอย สิ้นชื่อ พร้อม www.thaingo.org แล้วครับ


 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112