Back

2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ ตอนที่ 11 นักข่าวอาสา

8 July 2020

2086

2 ทศวรรษ ไทยเอ็นจีโอ  ตอนที่ 11 นักข่าวอาสา



หลังจากบุกเบิกงานเรื่องทำสื่อมาได้สักระยะ กลับพบว่า สิ่งที่เราหลายๆคนใฝ่ฝันมากๆ มาตลอด คือ เกิดเครือข่าย เกิดขบวนคนทำสื่อ ประเด็นต่างๆ รูปแบบต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ เยอะแยะหลากหลายเต็มไปหมด มีกระแสข่าวสาร วนเวียน รับรู้ในสังคมต่อเนื่อง และเท่าทันเหตุการณ์ ความฝันเป็นเช่นนั้น แต่ความจริงยังไม่ได้ ปีที่ 2 ( 2544-45 ) ภาพรวมจริงๆขององค์กรพัฒนาเอกชนไทย ยังไม่หลายองค์กรมาก ไม่มีอีเมล์ใช้ ไม่รู้ว่าเว็บไซต์คืออะไร ไม่มีคอมพิวเตอร์ และไม่มีอินเตอร์เน็ต

ทีมข่าว ThaiNGO ในวันที่ถูกรู้จักมากขึ้นๆ และเป็นที่ต้องการของเพื่อนพี่น้องมากขึ้น เราเคยอยากมีบทบาท ทำภารกิจสื่อ แต่พอเริ่มถูกเรียกร้องมากจริงๆ เรากลับทำไม่ได้ กำลังคนเราไม่พอ ทรัพยากรเราไม่มี จะให้แต่ละองค์กร ผลิตสื่อและส่งให้เราเอง ก็ปรากฏว่า ไม่มีทักษะ ตั้งแต่ เขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ ส่งเมล์ ส่งภาพ ฯลฯ หรือ การคาดหวังว่าแต่ละองค์กร ไปทำเว็บไซต์รายงานข่าวตัวเอง ยิ่งเป็นไปได้ยาก

จึงเกิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคนทำสื่อ ตึกช้าง ถนนพหลโยธิน บางเขน  และ เกิด “ชมรม
ICT เพื่อการพัฒนา” ขึ้น เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนระบบสารสนเทศในขบวนงานพัฒนาเอกชน ( NGOs ) และภารกิจไทยเอ็นจีโอ คือ อบรม พัฒนาเจ้าหน้าที่ประจำองค์กรต่างๆ ทั้งในเรื่องการเขียนข่าว การเรียนรู้ทางเทคนิค ตลอดจนการใช้สื่อมีเดีย ตัดต่อ ภาพ วิดีโอ ต่างๆ



จนต้นปี
2556 ผมไม่สามารถจะหาทุนมาต่อโครงการได้ จึงพิจารณาตัวเอง “ลาออก”  เพื่อลงไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อไปเรียนรู้จัก พื้นที่ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สภาพแวดล้อม เพราะการทำสื่อ การติดตามทิศทาง ประเด็นปัญหา แต่ละพื้นที่ ควรจะต้องรู้จักพื้นที่ดีพอ รู้กลุ่มแกนนำ เพื่อสัมภาษณ์ ดังนั้น การลาออกจากไทยเอ็นจีโอ เวลานั้น ลึกๆ แล้วก็เพื่อไทยเอ็นจีโอ

 

4 ปี สำหรับการตระเวณไปคลุก ร่วมกิจกรรม สัมภาษณ์ และเรียนรู้จัก ทุกอย่าง ทุกสิ่งในที่นั่น ทำให้ผมมองภาพ มองวัฒนธรรม รูปแบบ วิธีคิด การต่อสู้ของแต่ละโซนแต่ละวัฒนธรรมออก  ซึ่งจริงๆ ไม่ง่าย ถ้าไม่ได้ลงมาฝังตัวอยู่ แบบคนใน เราไม่มีทางเข้าใจเลย ว่าเขาคิด เขาเชื่อ เขาปฏิบัติอย่างไร

เมื่อสถานการณ์ไทยเอ็นจีโอกลับมาตกต่ำอีกรอบ ผมก็ถูกเรียก (ใจผมอยากกลับด้วย) กลับมาประจำการไทยเอ็นจีโอ อีกครั้ง แน่นอน การเรียนรู้ ปรับตัวขององค์กรพัฒนาเอกชน เกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารรวดเร็วมาก หลายองค์กรมีเว็บไซต์ของตัวเอง มีอินเตอร์เน็ตใช้ และเล่นโปรแกรมสื่อสาร อย่าง
MSN OK Nation ได้ และเมื่อเว็บน้องใหม่ อย่าง Prachatai.com ถือกำเนิด  ThaiNGO ก็ซวนเซทันที ความเร็ว ความแรง ความเป็นมืออาชีพ กล้าเขียนกล้าชนกว่า เก่งกว่าทุกเรื่อง ทำให้เรียกคะแนนนิยมจากผู้ใช้ผู้ชม จำนวนมาก ไทยเอ็นจีโอเริ่มผจญวิบากกรรมไม่มีทุนทำงานหนักขึ้นไปอีก เราเริ่มไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทนให้ทีมงาน

และนั่นเอง ผมตัดสินใจอนุญาตให้ทีมขอทุน
OSI (Open Society Institute ) ของ จอร์จ โซรอส ( George Soros) พ่อมดการเงินที่เข้ามาทุบค่าเงินบาทไทย พินาศ!!

ThaiNGO.org ถูกตัดขาดจะจากสายสัมพันธ์ดีๆ ของขบวนเอ็นจีโอ ที่ยึดมั่นในหลักการ ต่อมาก็เกิดสื่อสาธารณะ ชื่อ ThaiPBS สื่อทีวีแห่งความหวัง ตัวใหม่ ทำให้คนไทยแทบไม่รับสื่อไหนอีกแล้ว สภาพไทยเอ็นจีโอ ถอยหลังถอยลง แทบไม่มีบทบาทอะไรเหลือ เงียบและเหงา พื้นที่แลกเปลี่ยนอย่าง web board ที่เคยคึกคักทั้งวันทั้งคืน ก็หายไปสิ้น   โดยเฉพาะด้านงานข่าวเงียบไปเลย...

“เราต้องทำสื่อแบบใหม่”  เพื่อนในทีมเสนอขึ้น พวกเราตอนเป็นนักศึกษาชอบมาก ชอบไปทำค่าย ตอนนี้เพื่อนเราองค์กรต่างๆที่ทำงานในพื้นที่ กำลังถูกทิ้งร้างให้เงียบเหงา ให้เผชิญความเสี่ยง และคนทำสื่อเอ็นจีโอเอง ก็เริ่มแก่เริ่มเบื่อหน่าย เริ่มไม่มีงานเขียน  ถ้ายังงั้น เป้าหมายงานนี้ คือ ส่วนหนึ่งเราได้พาคนรุ่นใหม่ไปฝึกฝนการเขียน วิเคราะห์ ได้ ไปเรียนรู้ปัญหาชาวบ้านและเราได้งานเขียนเกี่ยวกับปัญหาชาวบ้าน มาเผยแพร่อีกด้วย


2548 จากค่ายแม่ดึ๊ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน นั่นคือค่ายแรกของการเปลี่ยนทิศทาง ThaiNGO.org  จากพัฒนา อบรม ศักยภาพคนทำงาน ทางเทคนิค ไปสู่ภารกิจ สร้างคนสร้างแรงบันดาลใจในการทำสื่อ ต่างๆ จนมีผลงานรวมเล่ม pocket book ชื่อ “คนค่ายฯ : อีกแง่หนึ่งบนเส้นทางแสวงหาของคนหนุ่มสาว” และอับบั้มเพลงค่าย อีก 1 อัลบั้ม



ทำให้ในช่วง 2548-2551 คือยุคทองของงานสร้างสำนึกคนหนุ่มสาว เยาวชน ในภารกิจเรื่องการผลิตสื่อ (ทั้งเขียน แต่ง ถ่ายทำ ตัดต่อ )  กิจกรรมอาสา และการทำสื่อรูปแบบอื่นๆ อาทิ เพลง สารคดี มีเดียต่างๆ ...

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112