11 May 2015
1128
ค่าไฟฟ้าประกอบด้วยค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรเรียกว่าftซึ่งประกอบด้วยค่าเชื้อเพลิงค่าซื้อไฟฟ้าเจากเอกชนและค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐเช่นค่าใช้ไฟฟรีค่าชดเชยพลังงานหมุนเวียน คณะ กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหน้าที่การกำหนดค่าไฟฟ้าตามพระราช บัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ มาตรา ๖ มีวัตถุประสงค์(๑) ผลิต จัดให้ได้มา จัดส่งหรือจำหน่ายซึ่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่ (ก) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งจะขายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอีกทอดหนึ่ง และมีหน้าที่ตามมาตรา๑๘(๙) ในการกำหนดราคาขายพลังงานไฟฟ้าและกำหนดค่าบริการ และตามมาตรา ๔๑ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน ข้อ๑ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) เป็นผู้พิจารณาราคาค่าไฟฟ้าเอฟทีจากการนำเสนอข้อมูลมาจากกฟผที่ได้เจรจาตกลง ราคาซื้อขายไฟฟ้าจากเอกชนและรับซื้อเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. ๒๕๕๐ภายใต้นโยบายและแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ความเห็น ชอบตามมาตรา๖๔โดยต้องสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงและคำนึงถึงผลตอบแทนที่เหมาะ สมของการลงทุนของการประกอบกิจการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ(๑)และ (๗)ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ใช้พลังงานหรือผู้ประสงค์จะใช้พลังงานอย่าง ไม่เป็นธรรมโดยโครงสร้างค่าไฟฟ้าเอฟทีในเดือนมค- เมย ๒๕๕๗มีสามส่วนคือ ๑.ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตในสัดส่วน๒๙.๒๐ % จำนวน ๔๔,๒๘๕.๓๗ ล้านบาท ๒.ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในสัดส่วน ๖๘.๔๑% มูลค่า ๑๐๓,๗๔๔.๘๒ ล้านบาท ๓.ค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐและกองทุนพัฒนาไฟฟ้า๒.๔๑% มูลค่า ๓,๖๕๔.๓๘ล้านบาท จะ เห็นว่าค่าไฟฟ้าเอฟทีที่เกิดขึ้นมาจากสองส่วนใหญ่ๆคือค่าเชื้อเพลิงประมาณ หนึ่งในสามและค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนประมาณสองในสามซึ่งทั้งสองส่วนนี้มาจาก การเจรจาสัญญาความตกลงระหว่างกฟผกับปตทและ ,กฟผ กับบริษัทเอกชนซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าเอฟทีคือส่วนที่ ๑ ค่าเชือ้เพลิงและส่วนที่ ๒ คือค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และรวมทั้ง กกพ มีส่วนในการคิดค่าก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นจากค่าผ่านท่อดังนั้นส่วนใหญ่การ คิดค่าไฟฟ้าเอฟทีจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของกฟผซึ่งจาก (เอกสารแนบ๔) พบว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มักประมาณการการรับซื้อที่แพงขึ้นโดยไม่ค่อยมีการลดลงของค่าไฟฟ้า ประการ ที่สำคัญคือ เมื่อช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงธันวาคม ๒๕๕๕ค่าไฟฟ้าขึ้นไป ๔๘สตางค์(เอกสารแนบที่๑๒) แต่ราคาก๊าซธรรมชาติ ไม่ได้ขึ้นแบบก้าวกระโดด ตามราคาค่าเอฟที (เอกสารแนบที่ ๑๓) ทั้งยังพบว่าก๊าซธรรมชาติที่กฟผซื้อจากปตทแพงกว่าอเมริกาและตลาดไนแม็คสอง ถึงสามเท่า (เอกสารแนบ ๕) และค่าเงินเมื่อเดือนกันยายนถึงธันวาคม ๒๕๕๕ก็แข็งขึ้น (เอกสารแนบที่ ๑๔)ซึ่งค่าไฟฟ้าควรลดลงแต่ค่า ไฟฟ้า FT กลับ เพิ่มขึ้น ๑๘สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งหมายความ ว่าแม้นเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็ไม่มีผล ให้ราคาเชื้อเพลิง ลดลง และ ค่าเอฟที ไม่ได้แปรผันตาม ราคาก๊าซธรรมชาติ ที่อุปโลก ขึ้นมาสารพัดเหตุผลที่อ้างขึ้น มาเอง ระหว่าง กฟผ กกพ อีกทั้ง เจ้าหน้าที่บริษัทพลังงานหนึ่ง ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้เปิดเผย กับหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ กล่าวว่าได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (ค่าเอฟที) หากรัฐบาลขึ้นค่าเอฟที ให้ ๓๐ สตางค์ต่อหน่วย ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ๑๐.๕ ล้านบาทต่อเดือน หรือ ๑๒๖ ล้านบาทต่อปี (เอกสารแนบที่ ๑๔ ) ส่วนเอกชนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งให้กฟผก็มีกำไรเพิ่มขึ้นเช่นบริษัทราชบุรีโฮ ลดิงค์จากปีกำไรสุทธิ ๖,๑๘๖ล้านบาท ปี ๕๗ ครึ่งปีกำไร ๔,๒๑๓.๑๙ล้านบาท ( ถ้าทั้งปีน่าจะกำไรสุทธิที่ประมาณ๘,๐๐๐ ล้านบาท)กำไรเพิ่มมาก แต่ภาระตกที่ประชาชน ข้อ๒ ประเด็นการรับซื้อแก๊สธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีปัญหา เนื่องจาก บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กำหนดราคาขายแพงกว่าความจริงกว่าตลาดอเมริกา และขึ้นไปเท่าไหร่ก็ไม่สามารถขัดแย้งได้ เนื่องจากมีการผูกขาดส่งแก๊สธรรมชาติ ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตามสัญญาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปตกลงกับบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ประกอบกิจการพลังงาน มาตรา ๖๐ กำหนดให้ กกพ มีอำนาจออกระเบียบ กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อมิให้มีการกระทำใดๆ อันเป็นการผูกขาดลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขัน ในการให้บริการพลังงาน และมาตรา ๗ (๒) ต้องปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งด้านอัตรา ค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ แต่ กกพ ก็ปล่อยให้ผู้ กฟผ และ ปตท มีการผูกขาด ซื้อขาย เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างภาระแก่ประชาชน อันเกินควร มี ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน คือประธานกรรมการเอกชน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิงค์ ที่ขายไฟฟ้าแพงและได้รับโบนัส ตามผลกำไรบริษัท เช่น คุณคุรุจิต นาครทรรพ ในปี 2555 ได้รับโบนัสจากผลประกอบการของบริษัท ๑,๓๗๕,๐๐๐ (ตามเอกสารแนบ ๑๐) ขัดกับประมวลจริยธรรมข้าราชการ และรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๙และ anticorruption law ที่ไทยป็นภาคีสมาชิก ของสหประชาชาติ ที่ผ่านมา การรับซื้อค่าไฟฟ้าจากเอกชน ล้วนกำหนดจากคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ การตั้งราคาก๊าซธรรมชาติ โดย ปตท. และ กำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จัดการอนุมัติ ซึ่งไม่ได้ไปตรวจสอบว่า ข้อเท็จจริงราคาต้นทุนจริง อยู่ตรงไหน เท่าไร ใช้หลักการอะไร ถูกต้องหรือไม่ ยึดตามหลักนิติธรรมหรือไม่ แต่เป็นราคาก๊าซธรรมชาติ ที่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กำกับดูแล เป็นผู้กำหนด และก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ ขุดได้ในอ่าวไทย ประมาณ ๘๐ % นำเข้าจากพม่าเพียง ๒๐ % ข้อ ๓ มีการเลือกปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ของกกพกฟผ. คือขายไฟฟ้าแพงให้ประชาชนที่อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดประมาณหนึ่งในสี่ แต่ส่วนเอกชนกิจการรายใหญ่ใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนเกือบครึ่งของการผลิตใน ประเทศ(เอกสารแนบที่ ๑๕ )แต่กลับซื้อไฟฟ้าจากกฟผ. ที่มี กกพ และกฟผ.เป็นผู้กำกับดูแลได้ในราคาที่ถูกกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและสร้าง ภาระแก่ประชาชนรายละเอียดคือในปี ๒๕๕๕ ขายไฟฟ้าให้กิจการขนาดใหญ่ ราคา ๓.๐๑๘๒บาทต่อหน่วย แต่ขายประชาชนที่อยู่อาศัยเฉลี่ย ๓.๑๘๒๕ บาทต่อหน่วย และรวมทั้งค่าไฟฟ้าของกิจการขนาดใหญ่ ยังขายถูกลงกว่าเมื่อปี ที่ผ่าน เช่น ปี ๒๕๕๖ราคา ๒.๙๘๘๒บาทต่อหน่วย ถูกกว่า ปี ๒๕๕๕จำนวน ๐.๐๓บาท ต่อหน่วย แต่ขายประชาชนในปี ๒๕๕๖ เฉลี่ย ๓.๒๗๒๓บาทต่อหน่วย ค่าไฟฟ้าประชาชนแพงขึ้น จำนวน ๐.๐๘๙๘ บาทต่อหน่วย กิจการขนาดใหญ่ค่าไฟฟ้าถูกลง รวมทั้งกิจการขนาดใหญ่ใช้ไฟฟ้ามากเป็นสัดส่วนเกือบครึ่ง (๔๔%) แต่ค่าไฟฟ้าของเอกชนขนาดใหญ่กลับจ่ายถูกกว่า (เอกสารแนบที่ ๗)ถือเป็นความไม่เป็นธรรม และเลือกปฏิบัติ ของกฟผ และกกพ ขัดพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงานมาตรา ๖๕(๗) ข้อ๔ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ทำสัญญากับบริษัทเอกชน ที่ไม่เป็นธรรม คือ ได้ตกลง จ่ายค่าไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement : PPA) ที่ กฟผ. ทำสัญญากับเอกชน รับผิดชอบแทนเอกชนคู่สัญญา แบ่งเป็น ๒ส่วนด้วยกัน ก. คือ ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment : AP) เป็น ค่าไฟฟ้าที่ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนเสนอ สะท้อนมาจากต้นทุนการเงินของโรงไฟฟ้า เช่น เงินลงทุน ดอกเบี้ยเงินกู้ค่าใช้จ่ายคง ที่ในการผลิต เดินเครื่อง และบำรุงรักษา ค่าอะไหล่ในการบำรุงรักษา หลัก ค่าประกันภัย และผลตอบ แทนส่วนเงินลง ทุนของผู้ถือหุ้น ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และต้องรับ ผิดชอบต่อการจ่ายคืนเงินกู้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีการเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าหรือไม่ก็ตาม ข.ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) เป็น ค่าไฟฟ้าที่ที่ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเสนอ สะท้อนมาจากค่าใช้จ่ายผันแปรในการผลิตและบำรุงรักษา โดยจะเปลี่ยนแปลงตามราคาเชื้อเพลิงและปัจจัยอื่นๆ ตามสัญญาฯ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งประกอบด้วยค่าเชื้อเพลิง สัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. กฟผ.จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าต้นทุนราคาเชื้อเพลิง เช่นบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด( ทำสัญญาเมื่อ๙ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ) และบริษัทผลิตไฟฟ้าอื่นๆ (เอกสารแนบที่ ๑๗) ดัง นั้น เอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าจึงไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ แต่ กฟผ รับผิดชอบหมด ทั้งเงินลงทุน ค่าจ้างผู้บริหาร ค่าเงินเดือน ค่าเชื้อเพลิง รับอย่างเดียวคือกำไรเช่น สัญญาที่รัฐสูญเสียผลประโยชน์ แต่ เอกชนได้ประโยชน์ สัญญา ซื้อขายไฟฟ้า ไม่เป็นธรรมกับประเทศชาติ เเละบอร์ดการไฟฟ้าที่ทำสัญญากับเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้า ที่ต้องให้การไฟฟ้ารับผิดชอบทุกอย่างในปัจจัยเสี่ยงทั้งดอกเบี้ยเงินกู้เงิน ลงทุน ค่าจ้างค่าบริหาร ค่าซ่อมบำรุง ข้อ ๕ กรณีการประมูลไฟฟ้าใหม่ซึ่งได้กำหนดจำกัดคุณสมบัติของบริษัทเอกชนที่เข้า ร่วมประมูลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้กำหนดให้อนุญาตเฉพาะผู้ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานก๊าซธรรมชาติเท่านั้นซึ่งมีต้นทุนราคาแพงแต่มี บริษัทอื่นๆที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานที่ถูกกว่าได้เช่นพลังงานน้ำแต่ไม่ กำหนดคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเอกสารแนบเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ) ดังนั้น จึงใคร่ขอให้ รัฐบาลโปรดพิจารณาดำเนินการ ๑. ยกเลิกการประมูลการรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัทกัลฟ์เพราะล๊อคสเปคเชื้อเพลิงไฟฟ้า ๒ ยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและบริษัทเอกชนที่ให้กฟผต้องรับผิดชอบทุกอย่าง ๓ลดค่าไฟฟ้า เอฟที ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ จนปัจจุบัน รวมแล้วกว่า ๖๙ สตางค์ เพราะขึ้นค่าไฟ โดยไม่ชอบ ๔ ขายไฟฟ้าให้กิจการขนาดใหญ่เท่าเทียมกับการขายให้ประชาชน หรือให้กิจการขนาดใหญ่ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง ๕ ยกเลิกการผูกขาดการรับซื้อก๊าซธรรมชาติ จากปตท และให้มีการเปิดเสรีที่กฟผ สามารถจัดหาเองได้ ไม่ต้องผ่านคนกลาง คือ ปตท . พท.พญ.กมลพรรณชีวพันธ์ศรี thai9lee@gmail.com