ขอเชิญร่วมงานสมัชชาวิชาการเกษตรกรรมยั่งยืน : เปลี่ยนเกษตรกรรม...สู่ความยั่งยืน
20 June 2015
1128
โครงการสมัชชาวิชาการเกษตรกรรมยั่งยืน
“เปลี่ยนเกษตรกรรม...สู่ความยั่งยืน”
หลักการและเหตุผล
จาก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก นโยบายการพัฒนาประเทศ อายุเฉลี่ยของเกษตรกรที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อคนในภาคเกษตรกรรมซึ่งต้องตั้งรับปรับตัวให้เหมาะสมกับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพโดย เฉพาะในด้านเกษตรกรรมยั่งยืนแล้วได้รับการพัฒนาส่งเสริมจากหน่วยงานภาคส่วน ต่าง ๆ ไปสู่วงกว้างขึ้น อีกทั้งตัวเกษตรกรเองยังมีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาจากภูมิปัญญา ความรู้ด้านวิชาการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในระดับฟาร์มจนทำให้เกษตรกรรม ยั่งยืนมีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
จาก การพัฒนารูปแบบด้านเกษตรกรรมยั่งยืนของภาคเกษตรกรรมไทย ทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรรายย่อยจนถึงการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ในระดับชุมชน รวมทั้งการพัฒนาให้เป็นทางออกของสังคมในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมไทย ส่วนในระดับพื้นที่นั้นพบว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาของเกษตรกรและกลุ่มองค์กร ชาวบ้านได้ถูกยกระดับ พัฒนาและนำมาปรับประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งได้ก่อเกิดงานศึกษาวิจัยที่ดำเนินการโดยชาวบ้านเพื่อตอบโจทย์ของตน เอง ทั้งความรู้ที่เป็นเทคนิควิทยาการในระดับแปลง การพึ่งตนเองทางปัจจัยการผลิต การจัดการผลผลิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนเข้ามาสู่แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน รวมทั้งเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เป็นต้น
ทั้ง นี้ การเปลี่ยนผ่านของการทำเกษตรกรรมในยุคปัจจุบันภายใต้สถานการณ์ที่มีผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นมีความจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ทางความรู้เพื่อให้ เกิดการหนุนเสริมกันของตัวเกษตรกร ชุมชน นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ไปจนถึงการหนุนเสริมในด้านนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรมที่มุ่ง เน้นไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต และนอกจากนี้แล้วกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่จะสามารถมีพื้นที่ในการแสดงตัวตน สามารถร่วมเรียนรู้ สืบทอดจากคนรุ่นก่อนอันจะนำไปสู่การทำให้เกษตรกรรมมีความก้าวหน้าไปได้มาก ยิ่งขึ้น รวมถึงการเข้ามาทำความเข้าใจของคนในภาคเมืองในวิถีการทำการเกษตรของเมืองการ สร้างพื้นที่ทางอาหารภายในเมืองอันจะนำไปสู่การเชื่อมต่อของภาคเมืองและภาค เกษตรเพื่อให้เกิดความตระหนักในการร่วมกันทำให้วิถีการผลิตมีความปลอดภัย เป็นธรรม เกื้อกูลต่อทุกชีวิต
การ มีเวทีเพื่อนำเสนอบทเรียน ประสบการณ์การพัฒนาองค์ความรู้ และการทำงานวิจัยของกลุ่มองค์กรชาวบ้านต่อสาธารณะชนในวงกว้างจึงเป็นส่วน สำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับในศักยภาพของเกษตรกรและองค์กรชุมชนที่ สามารถแก้ปัญหาของตนเองและสามารถพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเกษตรกรรายย่อยที่ มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับแปลง ชุมชน ประเทศและโลกจะช่วยให้เกิดการตั้งรับปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงใน อนาคตได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวทางที่จะสร้างการพัฒนาให้ระบบเกษตรกรรมไทยมีความมั่นคงและ อยู่รอดได้เป็นเสมือนการเปลี่ยนเกษตรกรรม....สู่ความยั่งยืน
วันที่
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ – วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖
สถานที่
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในสังคมโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม
๒. เพื่อเป็นการรวบรวมประมวลผลความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและนำเสนอประสบการณ์ องค์ความรู้และผลงานวิจัยสู่สาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเกษตรกร และองค์กรชุมชนในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน
๓. เพื่อเป็นการขยายผลความรู้และสร้างให้เกิดคนทำงานด้านเกษตรกรรมมากขึ้น
๔. เพื่อเป็นพื้นที่ในการการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เศรษฐกิจ ชุมชนและสังคม
๕. เพื่อนำเสนอทิศทางในการขับเคลื่อนวัตกรรมและระบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้ขยายวงกว้างมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๔๐๐ คน ประกอบด้วย
๑. เกษตรกร ผู้แทนกลุ่มองค์กรชุมชน คนรุ่นใหม่ในภาคเกษตร
๒. คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรมหาวิทยาลัย นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
๓. ตัวแทนหน่วยงาน/องค์กรที่ทำงานด้านการวิจัยแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยั่งยืน และองค์กรพัฒนาเอกชน
๔. ข้าราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ (ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนโยบาย)
๕. ผู้แทนจากภาคเอกชน
๖. สื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไป
องค์กรร่วมจัด
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
โครงการสวนผักคนเมือง
มูลนิธิชีววิถี
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)
แผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อสุขภาวะของเกษตรกรและความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
(ร่าง) กำหนดการงานสมัชชาวิชาการเกษตรกรรมยั่งยืน : เปลี่ยนเกษตรกรรม...สู่ความยั่งยืน
ระหว่างวันที่ ๒๙ – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖
ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖
๐๙.๐๐–๐๙.๑๕ น. |
๐๙.๑๕-๑๐.๐๐ น. |
๑๐.๐๐-๑๐.๑๕ น. |
๑๐.๑๕-๑๒.๓๐ น. |
๑๒.๓๐-๑๔.๐๐ น. |
๑๔.๐๐-๑๗.๐๐ น. |
พิธีเปิด
กล่าวรายงาน
โดยคุณสุภา ใยเมือง
กล่าวต้อนรับ
โดยตัวแทน
มหาวิทยาลัยมหิดล
กล่าวเปิด
โดย
คุณเดชา ศิริภัทร
|
ปาฐกถา
“อนาคตของภาคเกษตรกรรมไทยในสถานการณ์สากล”
โดย
ดร.อัมมาร สยามวาลา |
พัก |
เสวนา
“เกษตรกรรมยั่งยืน : การดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง”
เปิดประเด็นการเปลี่ยนแปลง/สถานการณ์ด้านเกษตรและคุณค่าเกษตรกรรมยั่งยืน
โดย
๑. ดร.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ
๒. รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี :รองอธิการบดีฝ่ายระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล คุณค่าด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมของเกษตรกรรมยั่งยืน
๓. คุณอธิคม คุณาวุฒิ : บรรณาธิการบริหารนิตยสาร way
๔. คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ : ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี : สถานการณ์พันธุกรรม
ดำเนินรายการโดย
คุณจักรชัย โฉมทองดี :กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขต การค้าเสรีภาคประชาชน |
พักรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการ/
กิจกรรมสาธิต/ดนตรี |
“นโยบายเกษตรอินทรีย์กับทางออกเกษตรไทย”
เสนอแนวคิดนโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในไทยในมุมมองต่าง ๆ
โดย
๑. ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ : วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
๒. ดร.กฤษฎา บุญชัย : นักวิชาการอิสระ
๓. คุณบุญส่ง มาตขาว : ประธานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
๔. คุณกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน : นายก อบต.แม่ทา
๕. คุณวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ :เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๖. คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล : นายกสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย
๗. คุณรัชนี สนกนก : เศรษฐกรเชี่ยวชาญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
๘. ตัวแทนสมาคมการค้าปลีก*
ดำเนินรายการโดย
ผศ.ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์ |
วันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๖
๐๙.๐๐-๐๙.๑๕ น. |
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. |
๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
|
ชี้แจงทำความเข้าใจแบ่งกลุ่มย่อย ๕ กลุ่ม |
ห้องที่ ๑ “วิถีนาข้าวที่ยั่งยืน”
แลกเปลี่ยนวิถีการทำนาในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้นิเวศน์ที่แตกต่างและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น
ระบบนาข้าวในนิเวศน์ต่าง ๆ
๑. คุณสุเมธ ปานจำลอง : เครือข่ายเกษตรกรรมฯ ภาคอีสาน
๒. คุณสำรวย ผัดผล : ประธานศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้
ระบบการจัดการนาอย่างยั่งยืน
๓. คุณปฏิพัทธ์ จำมี :เครือข่ายเกษตรกรรมฯ จ.สุรินทร์ นาน้ำฝน
๔. คุณสุขสรรค์ กันตรี : มูลนิธิข้าวขวัญ พันธุกรรมกับการจัดการอย่างยั่งยืน
๕. คุณสุภชัย ปิติวุฒิ : ชาวนาวันหยุด การทำนาเปียกสลับแห้ง
๖. ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง : เกษตรกรกลุ่มโฉนดชุมนบ้านคลองโยง-ลานตากฟ้า จ.นครปฐม นาภาคกลาง
การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๗. ดร.บุญรัตน์ จงดี : นักวิชาการอิสระ การปรับตัวนาน้ำฝน
๘. ตัวแทนเครือข่ายเกษตรฯ จ.ฉะเชิงเทรา การทำนาหยอด
๙. คุณฉัฐ ภักดี : เกษตรกรบ้านขี้เหล็ก อ.โกสุมพิสัย
จ.มหาสารคาม การปรับตัวนาน้ำท่วม
ดำเนินรายการโดย
คุณสุเมธ ปานจำลอง และคุณสำรวย ผัดผล |
พักรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการ/
กิจกรรมสาธิต/ดนตรี
|
(ต่อ) วิถีนาข้าวที่ยั่งยืน”
การจัดการตลาดข้าวและนโยบายสร้างความเข้มแข็งของชาวนา
ตลาดข้าวในระดับประเทศและสากล
๑. รศ.สมพร อิศวิลานนท์ : สถาบันคลังสมองของชาติ
๒. คุณวัลลภ พิชญ์พงศา : รองกรรมการผู้จัดการบริษัทนครหลวงค้าข้าว
๓. คุณเหมี่ยว ทรงสดับกลาง : เกษตรกรจังหวัดยโสธร
๔. คุณแรม เชียงกา : ผู้บริหารตลาดกลางค้าข้าวตำบลหนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
๕. คุณวาสนา อัศรานุรักษ์ : ตลาดกลางค้าข้าวสาร ท่าข้าวกำนันทรง จ.นครสวรรค์
การแปรรูปข้าว
๖. ตัวแทนข้าวแทนรักษ์ บริษัทไทยสมาร์ทไลฟ์
โภชนาการข้าว
๗. รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย :สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำเนินรายการโดย
คุณสุเมธ ปานจำลอง และคุณสำรวย ผัดผล
|
|
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. |
๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๒ ชาวสวนยาง ผลไม้และกาแฟ
วิถีชาวสวนยางและไม้ผลที่มีระบบแตกต่าง : การ ปลูกไม้ผลเชิงเดี่ยวแต่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น ทุเรียน /ระบบปลูกหลากหลาย เช่น สวนสมรม สวนดูซง พืชร่วมยาง/ การเลี้ยงสัตว์ร่วมในสวนยาง/ การปลูกกาแฟอินทรีย์
-แนวคิดและความสำคัญ แบบแผนวิถีการผลิตและรูปแบบการผลิตของวิถีชาวสวนผลไม้
-การจัดการ พันธุกรรม ลักษณะพันธุ์ ผลผลิต การแปรรูป การตลาด
โดย
๑. คุณชาตรี โสวรรณตระกูล : สวนละอองฟ้า จ.นครนายก ความหลากหลายทุเรียน
๒. คุณวิรัตน์ ตรีโชติ : เกษตรกรจากคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช สวนสมรม
๓. คุณจาย ช่วยนุ้ย : เกษตรกรจังหวัดพัทลุง พืชร่วมยาง
๔. คุณสุภาพ ภู่ทับทิม : เกษตรกรจังหวัดกระบี่ การเลี้ยงแพะในสวนปาล์ม/ยาง
๕. คุณสมคิด ตุ้มอินมูล : ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ การปลูกกาแฟอินทรีย์
ดำเนินรายการ
คุณณรงค์ คงมาก และคุณกำราบ พานทอง |
พักรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการ/
กิจกรรมสาธิต/ดนตรี
|
(ต่อ) ชาวสวนยาง ผลไม้และกาแฟ
การปรับตัวและเทคนิคความรู้การจัดการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๑. ดร.อัศมน ลิ่มสกุล : นัก วิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยางพารากับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒. ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ การกำจัดน้ำเสียจากยางด้วยบ่อก๊าซชีวภาพ
๓. รศ.ดร.สายัณห์ สดุดี : คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ
๔. ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ : คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความสำคัญด้านพันธุศาสตร์
ดำเนินรายการ
คุณณรงค์ คงมาก และคุณกำราบ พานทอง |
|
|
|
|
|
|
|
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. |
๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๓ ชาวสวนผักและชาวไร่
แนวคิด รูปแบบ วิธีการในการปลูกผักอินทรีย์ โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น
การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของตนเองในการปลูกผักอินทรีย์
๑. คุณนันทา ประสารวงษ์ : เกษตรกรกลุ่มโฉนดชุมชนบ้านคลองโยง- ลานตากฟ้า จ.นครปฐม
การปลูกผักอินทรีย์ที่หลากหลาย
๒. คุณคำพัน สุพรม : เกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต
จ.ฉะเชิงเทรา
๓. คุณอาภากร เครื่องเงิน :เกษตรกรรุ่นใหม่จากตำบลแม่ทา อ.แม่ออน
จ.เชียงใหม่
๔. คุณเอกภพ เสตะพันธุ : ประธานมูลนิธิธรรมะเกษตรธรรมชาติ
การปลูกแตงโม และข้าวโพดข้าวเหนียวอินทรีย์
๕. คุณนงนุช บุญปก : เกษตรกรจากจังหวัดยโสธร
๗. คุณนันทา หายทุกข์ : เกษตรกรจากจังหวัดสุรินทร์
โภชนาการผักพื้นบ้าน
๘. รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
การจัดการโรคและแมลง
๙. ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำเนินรายการ
คุณดิสทัต โรจนลักษณ์ |
พักรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการ/
กิจกรรมสาธิต/ดนตรี
|
ห้องที่ ๓ การจัดการเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืน
แนวคิดการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ การจัดการเมล็ดพันธุ์ผัก สิทธิการจัดการเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร
-ความสำคัญแนวคิดด้านการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์
-การจัดการเมล็ดพันธุ์ เทคนิคการเก็บพันธุ์
-การรวมกลุ่มจัดการเมล็ดพันธุ์
-สิทธิของเกษตรกร และนโยบายด้านเมล็ดพันธุ์
ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
๑. คุณมัณฑนา อภัยมูล : เกษตรกรจากตำบลแม่ทา อ.แม่ออน
จ.เชียงใหม่
๒. คุณพิรุณ ทองดี :กลุ่มเกษตรกรทำนาน้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
๓. ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา*
๔. ผศ.ดร.สมชาย รัตนซื่อสกุล : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ดำเนินรายการ
คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา |
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. |
๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๔ การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
แลกเปลี่ยนในประเด็นการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
- แนวคิดความสำคัญและสถานการณ์ในการเลี้ยงสัตว์
- นำเสนอประสบการณ์การเลี้ยง
ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
๑. คุณวีระยุทธ สุวัฒน์ : กลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์หนองแคน อ.ปทุมรัตน์
จ.ร้อยเอ็ด การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์
๒. คุณอรุณ หวายคำ : เกษตรกรบ้านป่าก่อดำ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย
การเลี้ยงไก่ชน
๓. คุณสุธรรม จันทร์อ่อน : ศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์อินทรีย์ชุมชนปลักไม้ลาย ต. ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม การเลี้ยงไก่ไข่ในป่าไผ่
๔. คุณกัญญา อ่อนศรี : กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านทัพไท อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ การเลี้ยงหมูอินทรีย์
๕. คุณสุพจน์ สิงโตศรี : ศูนย์สร้างสุขเกษตรชนบท กลุ่มหมูหลุมดอนแร่ จ.ราชบุรี การเลี้ยงหมูหลุม
ดำเนินรายการโดย
คุณอุบล อยู่หว้า และคุณเกียรติศักดิ์ ฉัตรดี |
พักรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการ/
กิจกรรมสาธิต/ดนตรี
|
(ต่อ) การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
ลักษณะพันธุ์ พันธุกรรมสัตว์
เทคนิคการจัดการ (โรค อาหาร ตลาด)
นโยบายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและหลักการการจัดตั้งกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ระดับชุมชน
ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
๑. รศ.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ : รองประธานมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย
๒. คุณจินตนา อินทรมงคล : เลขานุการมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย
๓. คุณศรณรงค์ ศุภชวลิต : นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ
กรมปศุสัตว์
ดำเนินรายการโดย
คุณอุบล อยู่หว้า และคุณเกียรติศักดิ์ ฉัตรดี |
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. |
๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๕ “ เมื่อคนเมืองเป็นเกษตรกร : ชีวิต สังคม และความเปลี่ยนแปลง”
ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
๑. คุณอนุรักษ์ เรืองรอบ : จากตัวเองสู่ชุมชน สวรรค์สีเขียวที่หนองรี
๒. คุณศิวพร เอี่ยมจิตกุศล : ปลูกเปลี่ยนโลก(โรค)
๓. คุณณัฐวรรณ คำคล้าย : กิจการเพื่อสังคม เพลินข้าวบ้าน
๔. คุณธนาทิพ ฉัตรภูติ : บ้านสวนน้ำฝน สายลมจอย
ดำเนินรายการโดย
คุณนคร ลิมปคุปตถาวร |
พักรับประทานอาหารกลางวัน
ชมนิทรรศการ/
กิจกรรมสาธิต/ดนตรี
|
ห้องที่ ๕ ออกแบบเมืองสีเขียวกินได้
๑. ดร.ธนภณ พันธเสน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : การออกแบบเมืองสีเขียว
๒. รศ.พาสินี สุนากร อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : นวัตกรรมอาคารเขียวกินได้
๓. ผอ.มาโนชญ์ เหล็กดำรง ผู้อำนวยการกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล : เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว
๔. ดร.เกษมสันต์ สุวรรณรัต อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย: จากน้ำเสียสู่แปลงผัก ออกแบบบ้านเปลี่ยนแปลงเมือง
ดำเนินรายการโดย
คุณพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร
๑๖.๐๐- ๑๗.๐๐ น. ทัวร์มหิดล ศาลายา : เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว
|
วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๒.๑๕ น. |
๑๒.๑๕-๑๓.๓๐ น. |
ห้องที่ ๑ เสวนา ตลาดทางเลือกที่หลากหลายจะอยู่รอดและเติบโตอย่างไร ?
แลกเปลี่ยนกระบวนการจัดการตลาดที่หลากหลายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
-นำเสนอประสบการณ์ บทเรียนการจัดการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
-แนวคิด วิถีการ เพื่อค้นหาคำตอบว่าตลาดทางเลือกจะอยู่รอดและเติบโตได้อย่างไร
โดย
ประสบการณ์บทเรียนการทำตลาด
๑. คุณกานต์ ฤทธิ์ขจร* : ไร่ปลูกรัก ปลูกผัก ปลูกคน
๒. คุณวัลลภา แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด : ประธานตลาดสีเขียว ประสบการณ์ CSA
๓. คุณธัญญา แสงอุบล : ตลาดสีเขียวจังหวัดสุรินทร์
๔. คุณพูลเพ็ชร สีเหลืองอ่อน : เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา
ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ
๕. คุณสฤณี อาชวานันทกุล* : นักวิชาการอิสระ
๖. คุณวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ : ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
๗. ดร.สมคิด แก้วทิพย์ : ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ.เชียงใหม่
๘. คุณศุทธาวดี เจริญรัถ : ผู้จัดการโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย บริษัทธรรมชาตินาไทย
ดำเนินรายการโดย
รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน |
กล่าวปิด
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
เดินทางกลับ
|
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. |
๑๒.๐๐-๑๒.๑๕ น. |
๑๒.๑๕-๑๓.๓๐ น. |
ห้องที่ ๒ เสวนา “วิถีเกษตรกรรมความอยู่รอดของคนรุ่นใหม่”
แลกเปลี่ยนให้เห็นถึงความอยู่รอดของคนรุ่นใหม่กับการใช้ชีวิตในวิถีเกษตรกร
- การใช้ชีวิตในวิถีการเกษตรจะอยู่กันอย่างไร อยู่รอดได้จริงหรือ
- บทบาทของตนเองกับสังคม
- ข้อคิดเห็นต่อภาคเกษตรในปัจจุบัน
โดย
๑. คุณอภิศักดิ์ กำเพ็ญ : เกษตรกรรุ่นใหม่จากชุมชนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่
๒. คุณชาลินี นิมิตกอบลาภ : เกษตรกรรุ่นใหม่จากพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
๓. คุณพินต์ คำภูเมือง : เกษตรกรรุ่นใหม่จากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
๔. คุณมณีกาญจน์ บุญส่ง : เกษตรกรรุ่นใหม่จากพื้นที่จังหวัดราชบุรี
๕. คุณนคร ลิมปคุปตถาวร : เกษตรในเมืองรุ่นใหม่
๖. คุณอมารวดี ศิริทิปพิพัฒน์ : เกษตรในเมืองรุ่นใหม่
ดำเนินรายการโดย
คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล |
กล่าวปิด
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
เดินทางกลับ
|
หมายเหตุ
*วิทยากรอยู่ระหว่างการประสานงาน
กิจกรรมสาธิตเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๑๐ ในวันที่ ๒๙ และวันที่ ๓๐ สิงหาคม มีรายละเอียดคือ
- - การคัดเลือกและพัฒนาพันธุ์ข้าว โดย เครือข่ายโรงเรียนชาวนาจังหวัดนครสวรรค์
- - การเก็บและคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก โดย คุณเหรียญ ใกล้กลาง มูลนิธิข้าวขวัญ และคุณโสภณ ปินใจ ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้
- - สมุนไพรไล่แมลง โดย ดร.สังวาล สมบูรณ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
- - “อีหอบ” เครื่องมือกำจัดวัชพืชในนาข้าว
- - “เครื่องหยอดเมล็ดข้าวเปลือก” โดยเกษตรกรโฉนดชุมชนบ้านคลองโยง-ลานตากฟ้า จ.นครปฐม
- - “เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก” บริษัทนาทวี เทคโนโลยีจำกัด
- - โชว์ไก่ “อยู่ในเมืองเลี้ยงไก่ได้” โดยคุณธรรมศักดิ์ ลือภูวดลพิทักษ์กุล (คุณโอ๋) สวนผักคนเมือง