ทนายความและมารดาจำเลยคดีฆาตกรรมที่เกาะเต่าร่วมกันยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาประหารชีวิตเกือบ 200 หน้า ต่อศาลจังหวัดเกาะสมุย วันนี้
25 May 2016
1219
หากมีข้อที่ต้องการซักถามเพิ่มเติมนอกเหนือจากแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนฉบับนี้ โปรดติดต่อ:
- นายนคร ชมพูชาติ (หัวหน้าทีมทนายความจำเลย)nakhonct@gmail.com +66(0)818 473086
- นายอานดี้ ฮอลล์ (ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติMWRN) andyjhall1979@gmail.com +66(0)846 119209
- โก เส่ง เต (ประธานเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ -MWRN) kzlinn.sein@gmail.com +95(0)9799654086
คณะทนายความอาสาช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายของสภาทนายความ ที่ ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่รับค่าตอบแทน ซึ่งรับทำหน้าที่ทนายความจำเลยว่าต่างแก้ต่างให้แรงงานข้ามชาติพม่าสองคนใน คดีที่ศาลจังหวัดเกาะสมุยพิพากษาลงโทษประหารชีวิต เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ในข้อหาข่มขืนและฆ่านักท่องเที่ยวหญิง และฆ่านักท่องเที่ยวชายชาวอังกฤษทั้งสองคนที่เกาะเต่า เมื่อกันยายน 2557 ได้ร่วมกันทำคำฟ้องอุทธรณ์ จำนวน ๑๙๘ หน้า และยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลจังหวัดเกาะสมุยในวันนี้ 09.00 น. โดยมีมารดาของจำเลยทั้งสอง นางเมย เตียน เเละนางพิว ฉ่วย นุ มารดาของนายซอลิน เเละนายไว เพียว ที่ เดินทางมาจากรัฐยะไข่ อยู่ร่วมขณะทำการยื่นอุทธรณ์ด้วย และหลังจากนั้นจะไปเยี่ยมบุตรชายที่เรือนจำบางขวาง ซึ่งเป็นเรือนจำความมั่นคงสูงแดนนักโทษประหารชีวิต ที่ จังหวัดนนทบุรี
การจัดเตรียมอุทธรณ์ใช้เวลาดำเนินการกว่า 5 เดือน อย่างต่อเนื่องโดยคณะทนายความ สภาทนายความ นักแปลชาวพม่า ออสเตรเลีย และอังกฤษ พร้อมทั้งผู้ช่วยเหลือและที่ปรึกษา เพื่อให้ได้เนื้อหาในการอุทธรณ์สมบูรณ์ที่สุดในการแสวงหาการพิจารณาคดีที่ เป็นธรรมและมีความมั่นใจว่า จำเลยทั้งสองจะได้รับการปกป้องสิทธิอย่างเพียงพอ การสืบพยานปากสุดท้ายยุติลงเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2558 ใช้เวลา 21 วัน สืบพยาน 34 ปาก และมีเอกสารในคดี นับพันหน้า ศาลจังหวัดเกาะสมุยได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิต ซอ ลิน และ เว พิว เนื่องจากลงความเห็นว่า อัยการได้พิสูจน์จนสิ้นสงสัยและใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ตามหลักสากล ว่าจำเลยทั้งสองทำผิดจริงตามที่กล่าวหา ฝ่ายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อขอให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองทุกข้อหา และหากอัยการได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว มีความเป็นไปได้ว่า ภายใน พ ศ. 2560 ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเสร็จและศาลจังหวัดเกาะสมุยจะได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8
ฮันน่าห์ วิทเตอร์ริดจ์ )23) และเดวิด มิลเลอร์)24) ถูกฆาตกรรม เมื่อเช้าวันที่ 15 กันยายน 2557 ที่ เกาะเต่า ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในอ่าวไทย การสืบสวนเหตุฆาตกรรมเพื่อหาฆาตกรของพนักงานสอบสวน ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักทั้งในและต่างประเทศ ในประเด็นเรื่องการเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ และข้อกล่าวหาในเรื่องการทรมานจำเลยทั้งสองคนระหว่างการสืบสวน ความท้าทายที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต้องเผชิญนั้น ทำให้เกิดความสั่นคลอนต่อความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่นเดียวกัน
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ซอ ลิน และไว เพียว (วิน ซอ ตุน) แรงงานข้ามชาติ อายุ 22 ปี จากรัฐยะไข่ ประ เทศเมียนมาร์ ได้ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หลังจากนั้น จึงมีการแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสองเพิ่มเติมในเรื่องการข่มขืน ฆาตกรรมและลักทรัพย์ ฮันน่าห์ วิเตอร์ริดจ์ และเดวิด มิลเลอร์ ซึ่งในช่วงแรกจำเลยทั้งสองคนให้การรับสารภาพในระหว่างการจับกุมและสอบสวน โดยมีการทำแผนประกอบคำรับสารภาพการฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราในสถานที่เกิดเหตุ ต่อหน้าสาธารณชน และให้ทั้งสองเเสดงท่าทางประกอบคำรับสารภาพในสถานที่ทำการสอบสวน
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 พนักงาน อัยการขอศาลสืบพยานล่วงหน้าก่อนฟ้องคดี จำเลยทั้งสองเมื่อเห็นว่าอยู่ในศาล จึงแจ้งแก่ทนายความที่มาจากสภาทนายความว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ภายหลังทนายความได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากจำเลยทั้งสองอีกว่า เหตุที่รับสารภาพเพราะถูกทรมานและทำร้ายร่างกายในระหว่างถูกควบคุมตัวก่อน ที่จะถูกนำตัวไปให้พนักงานสอบ สวนซักถาม เพื่อให้มีการบันทึกคำรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (Migrant Worker Rights Network - MWRN) และ กลุ่มรณรงค์เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน จึงได้ร้องเรียนต่อสภาทนายความให้ช่วยจัดหาทนายความช่วยเหลือจำเลยทั้งสอง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า พวกเขาจะสามารถต่อสู้คดีตามข้อกล่าวหาได้อย่างเต็มที่และได้รับการพิจารณา คดีอย่างเป็นธรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความอยุติธรรมในคดีที่มีความร้ายแรง ซึ่งมีการถูกเผยแพร่ข้อมูลและเหตุการณ์ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
ในการฟ้องคดีนี้ เกิน ขึ้นล่าช้ากว่าที่ควรถึงสองเดือน นับแต่ที่มีการจับกุมจำเลยทั้งสอง อันเป็นผลมาจากการที่สื่อมวลชนและนักการทูตให้ความสนใจคดีนี้เป็นอย่างมาก นอกเหนือไปจากการเรียกร้องขอความเป็นธรรมของจำเลยกับครอบครัวและสาธารณชน จนมีการสอบสวนจำเลยทั้งสองเพิ่มเติม โดยต่างยืนยันว่า พวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่เต็มใจในการรับสารภาพ อย่างไรก็ตาม พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องอาญาทั้งซอ ลิน และ ไว เพียว หลายข้อหาต่อศาลจังหวัดเกาะสมุย เมื่อวันที่ 4ธันวาคม 2557 ซึ่ง หลังจากการนัดตรวจพยานหลักฐานหลายครั้ง ผู้พิพากษาเห็นชอบที่จะให้เวลาที่เพียงพอแก่จำเลยเพื่อเตรียมการต่อสู้คดี ได้อย่างเต็มที่ จึงกำหนดให้มีการพิจารณาคดีเป็นเวลา 21 วัน โดยเริ่มสืบพยานโจทก์ก่อนนัดแรก ในวันที่ 8กรกฎาคม 2558 แต่ต่อมา มีการเพิ่มให้อีก 3 วัน
วันที่ 24
ธันวาคม 2558 ศาลจังหวัดเกาะสมุยได้อ่านคพิพากษา (ที่
http://prachatai.com/journal/2015/12/63204) โดยเชื่อพยาน หลักฐานตามที่อัยการได้นำเสนอ และพิพากษาว่า ซอ ลิน และไว เพียว มีความผิดฐานฆ่าเเละข่มขืน โดยพิพากษาให้ประหารชีวิต พยานหลักฐานที่มาจากดีเอ็นเอเเละหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เก็บวิเคราะห์ เเละรายงานโดยสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ เป็น พยานหลักฐานที่ศาลใช้พิจารณาและตัดสินว่าอัยการได้พิสูจน์จนสิ้นสงสัยว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดจริงตามมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์สากล ส่วนฝ่ายจำเลยไม่มีหลักฐานสนับสนุนการต่อสู้ของตนเอง
วันนี้มีการยื่นอุทธรณ์ที่ความหนาเกือบ ๑๐๐ แผ่น (๑๙๘ หน้า) ที่ศาลจังหวัดเกาะสมุย คำฟ้องอุทธรณ์กล่าวถึงหลักการพื้นฐานของทนายความฝ่ายจำเลย ที่ได้เสนอไประหว่างการสืบพยาน 13 ปากในศาล เพื่อเป็นกรอบว่า พยานหลักฐานฝ่ายจำเลยนั้น มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียง ใด และขอให้ศาลอาญาภาค 8 มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลจะพิจารณาคำอุทธรณ์ของจำเลยและเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายควบคู่กันไป
การ อุทธรณ์กว่าครึ่งเป็นการคัดค้านประเด็นหลักการเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของ พยานหลักฐานดีเอ็นเอ ที่ศาลจังหวัดเกาะสมุยตัดสินว่า ดีเอ็นเอจากสถานที่เกิดเหตุ/ฆาตกรรมตรงกับจำเลยทั้งสองโดยสิ้นสงสัย ‘ตามหลักสากล’ ฝ่ายจำเลยยืนยันว่าหลักฐาน รวมทั้งที่อ้างว่ามาจากก้นบุหรี่ น้ำอสุจิ และน้ำลาย ไม่สามารถเชื่อถือรับฟังเเละไม่ควรนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เนื่องจากการเก็บทดสอบ วิเคราะห์ และ/หรือรายงาน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ISO17025 และ ILAC G19 ตัวอย่างดีเอ็นเอที่ศาลรับฟังและใช้ในการพิพากษามีข้อบกพร่อง ทั้งที่ศาลยอมรับว่า อาจจะเกิดการปนเปื้อนของดีเอ็นเอ การทดสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ ไม่มีการส่งการทดสอบให้ศาล คงมีแต่เพียงการสืบพยานด้วยวาจา ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า รวมทั้ง พยานหลักฐานก้นบุหรี่ และศาลได้ใช้พยานหลักฐานเหล่านี้ยืนยันและรับฟังว่า การสอบสวน และ ข้อมูลดีเอ็นเอของจำเลยทั้งสองกับที่พบในหญิงผู้ตาย ตรงกัน การอุทธรณ์จะมีการนำเสนอว่า ไม่ควรพิจารณาพยานหลักฐานว่าจำเลยได้ข่มขืนผู้ตายอย่างรุนแรงเเละฆ่าผู้ตาย ฝ่ายหญิง หรือฆ่าผู้ตายฝ่ายชาย และมิใช่ความน่าเชื่อถือโดยสิ้นสงสัย
นอกจากนั้น ยังได้อุทธรณ์อีกว่า ศาลจังหวัดเกาะสมุยอาจพิพากษาผิดพลาด โดยไม่ได้รับฟังข้อโต้แย้งของฝ่ายจำเลย ดังนี้:
- การดำเนินคดีกับจำเลยก่อนฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกระบวนการสอบสวนหลังการจับกุมและแจ้งข้อหาไม่ถูกต้อง มีการสอบสวนในฐานะพยาน แต่กลับมีคำรับสารภาพคดีฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราในคำให้การนั้น โดย ไม่มีทนายความหรือบุคคลที่จำเลยไว้ใจร่วมอยู่ในการสอบสวนด้วย และไม่มีการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือการอธิบายลักษณะของข้อหาอัน เป็นเหตุในการจับกุมให้ผู้ต้องหาฟัง อีก ทั้ง ไม่มีการจัดล่ามแปลภาษาและทนายความของผู้ต้องหาเพื่อปกป้องสิทธิทางกฎหมาย ให้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยระบุถึงการนำตัวอย่างดีเอ็นเอไปโดยไม่สมัครใจ จึงเสนอว่า พยานหลักฐานในชั้นนี้ ศาลไม่ควรรับฟัง
- คำรับสารภาพที่โจทก์อ้างต่อศาลในชั้นสอบสวนถูกทำขึ้นโดยไม่สมัครใจ เพราะเหตุที่จำเลยถูกทรมานและข่มขู่จนทำให้เกิดความเกรงกลัวว่าจะมีอันตรายต่อชีวิตและความปลอดภัย โดยมักมีแรงงานข้ามชาติบนเกาะเต่ารายงานว่า ถูกกระทำทารุณอยู่เสมอ คำสารภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษร แม้มีการลงชื่อไว้ ก็ไม่อาจรับฟังได้ รวมทั้ง เอกสารอื่นๆ ที่ถูกบังคับให้ลงชื่อ โดยไม่ทราบถึงผลที่เกิดขึ้น คำสารภาพหรือการจำลองเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกวิดีโอส่งศาลในคดีนี้ จึงมีขึ้นโดยจำเลยไม่สมัครใจ กระทำไปเพราะถูกข่มขู่ว่า จะมีการใช้ความรุนแรง แล้วจึงเสนอว่า พยานหลักฐานเหล่านี้ ศาลไม่ควรรับฟังและเป็นพยานหลักฐานที่ไม่อาจรับฟังได้
- จำเลยไม่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่ใช้ก่อเหตุฆาตกรรม(จอบ) เพราะไม่ปรากฏดีเอ็นเอของจำเลยที่จอบ แต่ปรากฏข้อมูลดีเอ็นเอของบุคคลอื่นแทน
- หลักฐานดีเอ็นเอที่อ้างว่าเชื่อมโยงจำเลย พยานวัตถุหรือหลักฐานแวดล้อมทั้งหมดที่สามารถจะยืนยันความผิดจำเลย ขาดความน่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังได้ เพราะกระบวนการจัดเก็บ การทดสอบ หรือการวิเคราะห์ตามหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ เช่น มาตรฐาน ISO17025 ทำให้หลักฐานนี้ไม่อาจนำมายืนยันความผิดจำเลยโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่า กระทำการข่มขืนชำเราผู้ตายเพศหญิง หรือฆ่าผู้ตายเพศหญิงและเพศชายได้ ซึ่งรวมทั้ง หลักฐานทางวัตถุที่จะเชื่อมโยงจำเลยเข้ากับสถานที่เกิดเหตุ เช่น ก้นบุหรี่ การลักโทรศัพท์มือถือและแว่นกันแดดของผู้ตายเพศชาย รวมถึง “ชายที่กำลังวิ่ง” ที่ถูกจับภาพได้ในกล้องวงจรปิด
- สำนวนของโจทก์ขาดหลักฐานชิ้นสำคัญที่จำเป็นในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุรายงานการชันสูตรพลิกศพ และขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในความควบคุม และบันทึกห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดีเอ็นเออย่างละเอียด นอกจากนี้ เสื้อผ้าและผิวตามร่างกายของผู้ตายเพศหญิงซึ่งคาดว่า จะมีร่องรอยดีเอ็นเอที่สำคัญของผู้กระทำผิด ยังคงไม่ถูกตรวจสอบหรืออาจมีการตรวจสอบ แต่กลับไม่นำมารวมอยู่ในสำนวนคดีของโจทก์หรืออ้างในบัญชีระบุพยาน ซึ่งดูน่าสงสัย ภาพที่ตัดจากกล้องวงจรปิดที่โจทก์นำเสนอ ไม่สมบูรณ์และไม่มีการเสนอหลักฐานรอยพิมพ์ลายนิ้วมือหรือรอยเท้า แต่อย่างใด
บทสรุปในตอนท้ายของคำอุทธรณ์ จำเลยยืนยันโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองเสีย ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์ทั้งหมด