Back

ธนาคารต้นไม้

ธนาคารต้นไม้

1 July 2020

1884

มีแต่คนบ่นเสียดายที่ดินของผม ที่เอามาปลูกต้นไม้เล่น ?
เป็นความจริง ครับ ว่าปล่อยให้สูญเปล่า รกเรื้อ ทิ้งขว้าง ในทัศนะชาวบ้านที่ต้องการรายได้จากที่ดิน แต่สำหรับผมที่เป็นคนชอบคิดและตั้งคำถาม ผมกลับไม่คิดเช่นนั้น โดยเฉพาะเรามีจุดยืน เรื่องเกษตรที่ปลอดสารพิษ อันตราย และเรามีแนวความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ต้นทุน กำไร หรือ โดยรวมแล้ว เราอยู่รอด

หลายปีที่เพียรพยายามทำให้ผมพบว่า การมองที่ดินเป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่งนั้น ผลักเราไปสู่วังวนของความเสี่ยง ต่างๆ ทั้งๆที่การมีที่ดนไม่ใช่ความเสี่ยง ( เรื่องหนี้สินและปัญหานานามาสู่ชีวิต ) แต่การมีที่ดินสามารถแปรสถานะเป็นอย่างอื่นได้ เป็นแฮปปี้แลนด์ หรือดินแดนแห่งความสุขได้ เป็นวนเกษตร เป็นโตกหนองนา หรือไร่นาป่าสวน โมเดลที่ผมเลือก หรือแม้แต่จะแป็นรีสอร์ท เป็นฟาร์มสเตย์ เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริง เป็น
Market  อย่างงาน”ถื่อนเฟสติวัล” ที่ผมจัดมาทุกปี จนปีนี้เป็นที่ 12

ยิ่งตอนนี้ มี พรบ.ต้นไม้ ซึ่งแปลงให้ต้นไม้เป็นหลักทรัพย์ ได้ การมีที่ดิน สามารถแปลงสภาพให้เป็น ธนาคารออมเงินให้เราได้ และถ้าเราศึกษา วางแผนดีพอ ก็สามารถสร้างดอกผล เป็นอาหาร เป็นพืชเศรษฐกิจได้ ระหว่างรอไม้ยืนต้นเติบโต อาทิ ดอกกระเจียว กระชาย ข่า พืชร่มรำไร หลากหลายชนิด แม้กระทั่ง ตระกูลกาฝาก กล้วยไม้ หรือ เห็ดต่างๆ ก็ได้

เราแค่คิดให้ทะลุทะลวง ข้ามกำแพง ความกลัว และเสียงคัดค้านไปให้ได้

ขนาดของที่ดิน สัมพันธ์กับจำนวนแรงหรือเครื่องจักร สัมพันธ์กับทุน และความแน่นอนของตลาด ถ้าเรายืนยันจะเดินหน้า เพาะปลูก พืชเศรษฐกิจตามกระแส เราต้องมองปัจจัยที่ว่ามาให้ออก ว่าแรงงานเรา มีพร้อมแค่ไหน หรือเครื่องจักรกลการเกษตร รถไถ รถบันทุก ฯลฯ ทุนที่จะใช้ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยวไปสู่ตลาด กำหนดได้แค่ไหน ?

ปี
2557 ผมมีบทเรียนสำคัญ คือ ไม่มีแรงงานมาช่วยเก็บเกี่ยว เพราะการทำนา เวลาเก็บเกี่ยวก็มักจะพร้อมๆกัน และแรงงานบางทีก็เลือก ว่าจะรับจ้างใครในเวลายื้อแย่ง เช่นนี้ สุดท้าย ผมต้องทิ้งมากกว่าได้ จึงเกิดคำถามสำคัญ ว่า ถ้าทำแล้ว ไปไม่ไหวด้วยอุปสรรคเช่นนี้ เราจะทำยังไง ?

การทบทวน ครุ่นคคิดตลอดเวลาทำให้ผมมองว่า
ชีวิตเราในยุคปัจจุบัน มีสองอย่างเป็นภาระแก่ตนคือ การอยู่รอด กับ การมีหลักประกัน เราอยู่รอดได้หลายวิธี ด้วยการหาเงิน เพราะเงินคือ ปัจจัยใช้แลกเปลี่ยน เรามองรายรับรายจ่ายให้สมดุล ดังนั้น เราอาจจะค้าขาย หรือ รับจ้าง หรือ ทำงาน วิธีนี้ไม่มีความเสี่ยง เหมือนเกษตร แต่อยู่รอดได้เหมือนกัน แต่เราต้องมีหลักประกัน เมื่อกาลเวลาเคลื่อนผ่านไปหลายๆ ปี กลายเป็นหลักทรัพย์ หรือ รายได้ใหม่ที่งอกเงยมาเอง มาเสริม มาจุนเจือ แบบยั่งยืน..

 

 เราค่อยๆ ขยับตามกำลังในเรื่องพืช กับการทำตลาด ดีกว่า แน่นอน ตลาดจำหน่ายของสด หรือ สินค้าปฐมภูมิ คือ เก็บเกี่ยวแล้วไปวางขายเลย มีข้อจำกัดมาก ศักยภาพของพื้นที่บริโภคได้จำกัด  อาทิ หม่อน หน่อไม้ หรือข้าวกล้อง หรือ กระเจี๊ยบ เสาวรส ฯลฯ
 

ดังนั้น ตลาดที่ผมมองออกไปไกลตัวหน่อย สินค้าแปรรูป ซึ่งนั่นแหละนำผมกลับมาสู่ การคิดสร้าง “แบรนด์ สินค้า” เพราะผมมองว่า ถ้าเราสร้างแบรนด์ สร้างตลาดให้ตัวเองได้ ผมกลับมาปลูก มาทำเกษตรได้อย่างมั่นคงปลอดภัยได้ มากกว่านั้น ความใฝ่ฝันที่จะช่วยเกษตรกร เพื่อน พี่น้อง ในชุมชน ในประเทศนี้ ก็ได้เช่นกัน

ครึ่งทศวรรษ หรือ
5 ปีแล้ว สำหรับการเดินทาง มาในทิศทางนี้ กับการปลุกปั้น แบรนด์ สวนซีโมน และ ไวน์ De Simone ผ่านสินค้าที่พยายามคิดค้น แปรรูปหลากหลายมาก อาทิ แยมผลไม้นานาชนิด น้ำผลไม้นานาชนิด แป้งกล้วย เหล้าบ๊วย เหล้ากระท้อน ปลาดุกแดดเดียว ปลาดุกร้า หัวไชโป้ว ผักกิมจิ และ Wine

ถึงตอนนี้ ยังเหลืออีกหลากหลายรายการที่คิดไว้ ทั้ง ถ่านชาร์โคล จากไม้ไผ่ที่ผมปลูกไว้ ไม่น้อย การแปรรูปไม้เป็น เฟอนิจเจอร์ ต่างๆ การทำไซรัป เวเนก้า และเครื่องดื่มตระกูลสปาร์คกลิ้ง ฯลฯ  ทำเพราะคิดในมุมสนุก บนพื้นฐานเรามีผลผลิตอยู่แล้ว และเรามี แบรนด์ที่คนรู้จักมากขึ้นๆ ทุกปี

กลับมามอง เรื่องต้นไม้อีกครั้ง ผมคิดว่า เราชัดเจนขึ้นเรื่อง ธนาคารส่วนตัวไว้ออมเงิน นั่นคือ ต้นไม้ หรือไม้ยืนต้น จำพวก ไผ่ มะขามป้อม มะม่วงหิมพานต์ สมอ หมากเม่า หว้า  ฯลฯ
ที่ผมปลูกทุกปี ก็ล้วนแต่ใช่ ดังนั้น ปัญหาของเราไม่ใช่ ไม่มีตลาด แต่เราไม่รู้จักคิด สร้างตลาดต่างหาก !!

Recent posts