Back

Real Sector

7 November 2020

7644

Real Sector

ผมเป็นมีความรู้น้อย แต่มีความเชื่อแรง หมดหัวจิตหัวใจไปเลย อย่างเช่นเรื่องเศรษฐกิจ ผมเชื่อว่า การผลิตที่แท้จริง หรือภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) หมายถึง ภาคการผลิต ภาคตลาดแรงงาน คือ หัวใจการกระตุ้นเศรษฐกิจ  ฐานรากเราซึ่งก็คือเกษตร ตลาดและการแปรรูป คือ หัวใจสำคัญมาก เพราะผลผลิตออกเป็นฤดูกาลและเน่าเสียง่าย

ผมหงุดหงิดเพราะก่อนนี้ กระตุ้นเศรษฐกิจไปเน้น การเอื้อประโยชน์มากมายให้พวกอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รัฐบาลทุ่มทุนมหาศาล อำนวยให้ ซึ่งอาจจะได้ผล เพราะกฎหมายเรายังไม่รัดกุม แรงงานราคาถูก วัตถุดิบมีมากล้น  นักลงทุนก็แห่แหน เศรษฐกิจเราจึงโตมาได้เพราะ ขายวัตถุดิบ (สินค้าปฐมภูมิ มันสำปะหลัง ยางพารา) อีกรายได้ของประเทศนี้ คือ  ขายบริการ งานท่องเที่ยว ขายธรรมชาติ และขายคน ) เราไม่ได้โตมาจากงานศักยภาพ หรือทักษะ การผลิตสินค้าออกมาขาย เรามีแต่ซื้อเค้าอย่างเห่อเหิม สุรุ่ยสุร่าย ลาตามกระแสให้ขาดดุลการค้า

พอระยะหลังๆ เราได้รัฐบาลที่ไร้ฝีมือ เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบโง่ๆ ก็ใช้วิธี แจกเงินไปซื้อ ไปใช้จ่าย ไปชดเชย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เหมือนให้ยาผิดกับคนไข้ แทนที่จะฟื้นกลับทรุดลงเงียบๆ เพราะรายจ่ายที่มั่นคง ต้องมาจากรายได้ที่แน่นอน คนไม่มีงานทำ ผลผลิตขายไม่ได้จริง เศรษฐกิจฟื้นตัวยาก

ผลแค่คนเคยอ่านเจอคำนี้
Real Sector เศรษฐกิจจริง หมายถึง มีงานทำ มีทักษะชำนาญ มีตลาด มีกำลังซื้อ มีเสถียรภาพ “มะม่วง” ผลผลิตหนึ่งชนิด ต้องจ้างไถ ใส่ปุ๋ย ตบแต่งกิ่งก้าน แล้วจ้างเก็บผลผลิต จ้างงานไปเท่าไหร่ จ้างขน จ้างขึ้น (จ้างรถล่อง) มาถึงการแปรรูป จ้างคนลง จ้างคนปอก หมัก บ่ม กรอก ซื้อวัสดุ บรรจุภัณฑ์ จากคนทำฉลาก สติกเกอร์ โรงงานทำกล่อง เกิดงานไปเท่าไหร่ ไปจนถึงขายจ้างเคอรี่ ไปรษณีย์ ฯลฯ  ทั้งเกิดการสร้างงานเป็นระบบ

รัฐต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ฐานรากแบบนี้ ผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมในครัวเรือน ในชุมชน โดยเฉพาะแปรรูป เพื่อลดภาระความเสี่ยงและรองรับผลผลิตที่ล้นตลาดตลามฤดูกาล และทุ่มทุน ระบบโลจิสติก เพราะปัจจุบัน ราคาสินค้าที่ท้องถิ่น ชุมชน สูญเสียโอกาสมากมายและเข้มแข็งไม่ได้ เพราะต้นทุนราคาภาระอยู่ที่ผู้บริโภค ที่ต้องถูกแบบรับไปกับค่าขนส่งของพวกบริษัทต่างๆ ข้าวอินทรีย์  กก. ละ
60 บาท ค่าส่ง 30 บาท รวมเป็น 90 บาท นั่นคือ ราคาจริงๆที่บริโภคจ่ายซึ่งแพงเกินไป กระนั้น ตอนนี้ระบบนี้ก็ยังเติบโตไปเรื่อยๆ การลดค่าขนส่งคือการเพิ่มเงินในมือผู้บริโภค ทำให้สามารถขยายกำลังซื้อได้อีก

การที่รัฐสนับสนุน “วิสาหกิจ” ถือว่า ถูกเป้า แต่ผิดวิธี เพราะกระบวนการที่รัฐวาง กลายเป็นอุปสรรค ทำให้ กลุ่ม หรือ วิสาหกิจ ถึงที่สุดแล้ว แบกตัวเองไปไม่ได้ เพราะแรงจูงใจร่วมไม่เท่ากัน รัฐต้องสนับสนุน วิธีอื่น อาทิ สนับสนุนผู้ประกอบการรายบุคคล หรือในรูป หจก. บริษัท ที่ทำงานเป็นกลไกเศรษฐกิจในพื้นที่

นโยบาย
SMEs ของรัฐ จะต้องฉลาด แยบยล มองให้ทะลุ สร้างช่องทางให้ถึง ใช้ให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ กองทุนต่างๆ ผ่านอำเภอ อบต. ไปจนถึง ธนาคาร ธกส. ออมสิน และธนาคาร SMEs ต้องทำงานให้ฉลาดกว่านี้ 

ที่ผมพูด เพราะอยาก ธนาคาร
SMEs สุรินทร์ ผมเดินขึ้นลงอยู่ 2 ปี ประมาณ 5 ครั้ง ผลลัพธ์ คือ คว้าน้ำเหลว ไม่ผ่าน “ดุลพินิจ” ผู้รับผิดชอบ นั่นแปลว่า นโยบายไม่มีพลัง ไม่ทะลุทลวงพอ แหล่งทุนของรัฐ ไม่ใช่ของเอกชน ถ้าไม่กล้าแบกรับความเสี่ยงใครจะกล้า การลงทุนกับผู้ประกอบการรายใหม่  คือกลุ่มเป้าหมายที่รัฐ รับต้องผิดชอบก่อน

ผมเป็นแค่รายแล็กมาก แค่อณูเล็กๆ ในระบบ แต่ผมก็ภูมิใจ อย่างน้อยผมบอกกับตัวเอง ว่า ผมได้สนับสนุนเกษตรกร ผมได้จ้างงานรถขน จ้างงานชาวบ้านปอก ล้าง หมัก บ่ม บรรจุ ฯลฯ หลายครอบครัวมีรายได้ มีกิน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะในชุมชนเอง หลายครอบครัว ก็ยากจน (ที่สุด) ไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีโอกาสรับเงินแจกฟรีรัฐบาล  ไม่มีทักษะอื่นใด  ประทังชีวิตด้วยการรับจ้าง ผมเราคนจน คนเล็กคนน้อย เราภูมิใจที่มีงานทำ มีรายได้ และมีชีวิตบนแผ่นดินนี้
.


ผมโกรธทุกครั้ง ที่พอเห็นผลผลิตดีๆ ถูกเททิ้ง อย่างไร้ค่า เพราะกว่าจะปลูกได้ผล เฝ้าทนุถนอม นานปี และผมยิ่งโกรธแทบคลั่งที่ตระเวณขอกู้ยืมแหล่งทุนของรัฐไม่ได้ กองทุนหมู่บ้านไม่มี ธนาคารไม่สน ทั้งๆ ที่นี่ลู่ทางการแบ่งเบาภาระของรัฐ โดยให้ผู้ประกอบการ ช้อนซื้อไปแปรรูป ดีกว่า การเอาเงินไปจ่ายชดเชย หรือไปแจกฟรี แก่เกษตรกร บางที ที่ใครๆมักพูด ว่า เราต้องการผู้นำรัฐบาลที่ฉลาดกว่านี้ คงจะจริง...!!  

ผมอยากเห็นรัฐบาล ทุ่มเทเรื่องแบบนี้ บ้าง....  ไม่อย่างนั้น ลาออกเถอะ ผมจะเป็น นายกรัฐมนตรีคนนอก เอง  ฮี่ๆๆๆๆ

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112