Back

ทรัมป์กับโลกมุสลิม ใน 4 ปีที่ผ่านมา(2017-2020)

29 January 2021

2240

ทรัมป์กับโลกมุสลิม ใน 4 ปีที่ผ่านมา(2017-2020)

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) 

Shukur2003@yahoo.co.uk 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2564 ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ต่อจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งลั่นไม่เข้าร่วมพิธีสาบานตน ทำให้ นายทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกในรอบกว่า 150 ปี ของประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่ไม่เข้าร่วมพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีคนต่อไป(พิธีปฏิญาณตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 46 ของนายโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส

 

https://www.facebook.com/voathai/videos/429180298128672/)

สำหรับ 4 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ (2017 -2020) ด้วย นโยบายต่างประเทศ “อเมริกาต้องมาก่อน” ซึ่งBBC(ภาษาไทย)ได้สรุป “การเน้นย้ำอำนาจอธิปไตยของสหรัฐฯ และสิทธิของทุกชาติในการขีดเส้นอนาคตของตัวเอง โดยมุ่งเน้นเรื่องความมั่งคงและเจริญรุ่งเรืองของชาติ

แล้วในทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไร มันก็หมายถึงการแยกตัวออกจากข้อตกลงระหว่างประเทศขนาดใหญ่ อย่างความตกลงปารีส (ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) หรือการถอนตัวจากองค์การระหว่างประเทศขนาดใหญ่อย่างองค์การอนามัยโลก นอกจากนี้เขายังท้าทายความเป็นพันธมิตรกับนานาชาติ ผลักดันให้ชาติสมาชิกนาโต้เพิ่มเงินสมทบในองค์กรพันธมิตรทางทหารแห่งนี้... (ผู้สนับสนุน)ในการบรรลุข้อตกลงระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อปรับความสัมพันธ์ต่อกัน และเขาก็สั่งการปฏิบัติการสังหารนายอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี หัวหน้ากลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม และ นายพลคาเซ็ม สุเลมานี ผู้ทรงอิทธิพลในอิหร่าน”นอกจากนี้”ประกาศรับรองสถานะให้ เยรูซาเลมหรือโลกมุสลิมเรียกว่าอัลกุดลเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ “และ”ห้ามพลเมืองจาก 6 ประเทศมุสลิม ได้แก่ อิหร่าน ลิเบีย ซีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และเยเมน เข้าอเมริกา” นโยบายเหล่านี้มีผลต่อโลกมุสลิมมาก หากจะทราบโดยละเอียดก็ต้องอ่านหนังสือ บทความ บทสัมภาษณ์และบทวิเคราะห์ของสองพี่น้องนักวิชาการโลกมุสลิมชาวไทย ดร.ศราวุฒิและดร.มาโนชญ์ อารีย์ แต่สำหรับผู้เขียนได้เคยเขียนบทความ เกี่ยวกับ ผลของนโยบายต่างประเทศทรัมป์ต่อโลก มุสลิมดังนี้

ปีที่หนึ่ง :ปี 2017/2560 เรื่อง “โปรดใช้สติ วิจารณญานการส่งต่อข้อมูล หลังสหรัฐอเมริการถล่มซีเรีย” 

ในเนื้อหาบทความผู้เขียนอธิบายว่า  “ หลังสหรัฐอเมริการยิงขีปนาวุธ 59 ลูกของกองทัพสหรัฐถล่มฐานทัพซีเรียโดยอ้างความชอบธรรมว่าเป็นการหยุดยั้งรัฐบาลซีเรียใช้อาวุธเคมีถล่มพลเรือนตน ทำให้พลเรือนสังเวยอย่างน้อย 58 ศพ รวมถึงเด็กเล็ก 11 ชีวิตผ่านวาทะเด็ดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กล่าวว่า “เมื่อคุณสังหารเด็กที่บริสุทธิ์ ทารกที่บริสุทธิ์ ด้วยก๊าซเคมีที่อันตรายถึงชีวิต สิ่งนี้ได้ก้าวข้ามเส้นหลายเส้น ได้ก้าวพ้นจากเส้นแดง

การตัดสินใจครั้งนี้ของสหรัฐอเมริการภายใต้การนำของทรัมป์ได้รับการประณามจากรัฐบาลซีเรีย  รัสเซีย  อิหร่าน เกาหลีเหนือและกลุ่มฮิสบุลเลาะห์และประกาศพร้อมหนุนรัฐบาลซีเรียแต่ก็ไม่ได้เสียงประณามจากรัฐบาลตุรกี  ซาอุดิอารเบีย  กาตาร์ในขณะที่รัฐบาลอิสราเอลสนับสนุนเต็มที่ ถึงแม้ภาพรวมในประชาชาติมุสลิมทั่วโลกจะไม่พอใจสหรัฐอเมริกา

 

(อ่านเพิ่มเติมในhttps://deepsouthwatch.org/th/node/10546)และ เรื่อง “ทำไมอเมริกาจึงหมดชอบธรรมในเป็นคนกลางกระบวนการสันติภาพปาเลสไตน์เเละอิสราเอล” 

ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายถึง “สำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ร่วมกันแสดงพลังและจุดยืน ต่อต้านคำประกาศของสหรัฐอเมริกา กรณีให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล

ด้วยเหตุผลว่า 

 

1. คำประกาศดังกล่าวเท่ากับการยกดินแดนนี้ให้อิสราเอลโดย นายโดนัลด์ ทรัมป์

 

2. คำประกาศดังกล่าวไม่เพียงละเมิดสิทธิ์ของชาวปาเลสไตน์เจ้าของดินแดนอัลกุดล์เท่านั้น แต่ยังละเมิดสิทธิ์ของมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย เนื่องจากไปยกมัสยิดอัล อักซอ อันเป็นศาสนสถานที่สำคัญของอิสลาม ลำดับ 3 รองจากมัสยิดอัลหะรอม และมัสยิดอัลนะบะวีย์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ให้ไปอยู่ใต้การปกครองของอิสราเอลทั้งๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาสันติภาพ

 

3. คำประกาศดังกล่าวขัดแย้งและสวนทางกับมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 242, 252, 267, 465 ซึ่งมติทั้งหมดเรียกร้องให้อิสราเอลถอนทหารออกจากกรุงเยรูซาเลมทันที รวมทั้งการยุติการสร้างอาณานิคมชาวยิวในบริเวณดังกล่าวด้วย

 

4. คำประกาศดังกล่าวสะท้อนอคติเชิงชาติพันธุ์และเชิงศาสนาของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีต่อประชาชาติอิสลามอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นอคติที่จะทำให้ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น”

 

ซึ่งการเเสดงจุดยืนจากองค์กรสูงสุดของศาสนาอิสลามครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญของสังคมมุสลิมไทยที่ประกาศต่อมหาอำนาจเเละนานาชาติที่พร้อมยืนอยู่เคียงข้างกับความชอบธรรม ถึงเเม้ในอนาคตเเน่นอน บุคคลต่างๆที่ร่วมยืนเเถลงการณ์ผ่านการถ่ายถอดสด เเละสื่อทั้งในเเละต่างประเทศอาจต้องกระทบกับความมั่นคงส่วนตัวเเละองค์กร อย่างไรก็เเล้วเเต่ในเเถลงการณ์ครั้งนี้เป็นการจุดยืนที่ประณามรัฐบาลทรัมป์เท่านั้น เเต่ก็พร้อมเป็นมิตร ร่วมสานเสวนา เเละยินดีร่วมมือกับคนอเมริกันทุกคนที่ยืนหยัดบนความถูกต้องชอบธรรมอีกทั้งต่อต้านอาชญกรรมต่างๆ การก่อการร้ายที่ผิดหลักมนุษยธรรมเเละศาสธรรม

 

(อ่านเพิ่มเติมในhttps://deepsouthwatch.org/th/node/11541)

ปีที่สอง : ปี2018/2561 เรื่อง “2018 ทรัมป์จะฝืนหนุนเสียงส่วนน้อยใน UN หรือแคร์เสียงส่วนใหญ่ ?  กล่าวคือ มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ที่ออกเสียงคัดค้านนโยบายทรัมป์ของสหรัฐอเมริกา กรณีประกาศรับรองสถานะให้ “เยรูซาเลมหรือโลกมุสลิมเรียกว่าอัลกุดล์” เป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ ด้วยคะแนนท่วมท้น 128 ชาติ (โดยไทยเป็น 1 ใน 128 ชาติ) งดออกเสียง 35 ชาติ และสนับสนุนสหรัฐเพียง 9 ชาติ

 

ทั้งๆ ที่ก่อนลงคะแนนครั้งนี้ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ขู่จะตัดความช่วยเหลือด้านการเงินกับประเทศที่ลงคะแนนสนับสนุนร่างมติสหประชาชาติซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านการที่สหรัฐรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคม 2017 ... จากการแพ้โหวตของสหรัฐครั้งนี้ นักวิเคราะห์สถานการณ์โลกมองว่า ปี 2018 สหรัฐจะถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น หากทรัมป์หรือสหรัฐยังดื้อดึงยืนอยู่ข้างอิสราเอลประเทศเดียวโดยไม่สนใจความชอบธรรม หรือเสียงทัดทานจากมหาอำนาจอีก 4 ประเทศ และเสียงส่วนใหญ่ของนานาประเทศในสหประชาชาติ หรือ UN

 

(อ่านเพิ่มเติมในhttps://www.matichonweekly.com/special-report/article_76011)และความขัดแย้งตุรกี-สหรัฐอเมริกามากกว่าสงครามการค้า ซึ่งผู้เขียนอธิบาย “ความเป็นจริงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และตุรกีครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากการที่ตุรกีจับกุมนักบวชชาวอเมริกันและข้อพิพาทการทูตอื่นๆก่อนหน้านี้เรื่อยมา

 

      กล่าวคือ แอนดรูว์ บรันสัน (Andrew Brunson) นักบวชชาวอเมริกันซึ่งถูกทางการตุรกีจับกุมและดำเนินคดีข้อหาก่อการร้าย เพราะเชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนความพยายามก่อรัฐประหารโค่น ผู้นำตุรกีปัจจุบัน แอรฺโดก์อาน เมื่อปี 2016

 

          แอนดรูว์ บรันสัน ถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุน ฟัตฮุลเลาะห์ กูเลน นักคิด นักฟื้นฟูสังคมผ่านหลักการศาสนาชาวตุรกีผู้เป็นศัตรูทางการเมืองกับ แอร์โดอัน และหลบเขาไปลี้ภัยอยู่ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1999 รัฐบาลตุรกีเชื่อว่าคนผู้นี้อยู่เบื้องหลังการก่อรัฐประหารที่ล้มเหลวเมื่อปี 2016 และพยายามเรียกร้องให้สหรัฐฯ ส่งตัวเขากลับมารับโทษในตุรกี  

 

      แอนดรูว์ บรันสัน ซึ่งอาศัยอยู่ในตุรกีมานานกว่า 20 ปียังโดนข้อหาหนุนหลังกลุ่มแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธเคิร์ด PKK ซึ่งถือเป็นองค์กรนอกกฎหมายตุรกี ซึ่งหากศาลพิพากษาว่ามีความผิดจริงในทุกข้อกล่าวหา เขาอาจโดนโทษจำคุกสูงสุดถึง 35 ปี

 

       

 

 ดังนั้นสงครามความขัดแย้งตุรกี-สหรัฐอเมริกามากกว่าสงครามการค้า”

(อ่านเพิ่มเติมในhttp://thaingo.in.th/news/?p=content&act=detail&id_content=4532)

ปีที่สาม : ปี2019 /2562 (ไม่มีบทความผู้เขียน)

ปีที่สี่: ปี2563/2020 เรื่อง “2020 : ผลกระทบโลกและไทย หลังสหรัฐลอบสังหาร ผบ.อิหร่าน” กล่าวคือ “ตามที่สื่อทั่วโลกรายงานว่าสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของทรัมป์เป็นผู้สั่งการให้ลอบสังหารนายพลคัสเซม โซไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังปลดปล่อยปาเลสไตน์ของอิหร่าน และทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 8 ราย

 

การลอบสังหารครั้งนี้ในโลกคนทำงานการเมืองโลกตั้งคำถามว่าอะไรคือสิทธิโดยชอบในการลอบสังหารผู้นำของชาติอธิปไตยอื่นโดยเปิดเผย?... ผลจากการกระทำของทรัมป์ครั้งนี้ แน่นอนที่สุดจะส่งผลให้อุณหภูมิการเมืองโลกร้อนระอุอย่างแน่นอน (ตลอดปี 2020)

 

เพราะอิหร่านเองคงออกมาตอบโต้ทางการเมืองและทางการทหารอย่างแน่นอน

 

ส่วนจะตอบโต้อย่างไรนั้น อาจมีหลากหลายรูปแบบ

 

เช่น ฐานทัพอเมริกาในอิรัก ตะวันออกกลาง หรือทั่วโลก จะต้องโดนอย่างแน่นอน”

(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.matichonweekly.com/column/article_264962)

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112