Back

สันดานคนไทย

2 February 2021

2419

สันดานคนไทย

สันดานคนไทยมีรากลึกมาจากสังคมศักดินา - ไพร่ เป็นพวกยึดมั่นในความเป็นเจ้ายศเจ้าอย่าง ถือตัว เคร่งครัดเรื่อง พื้นที่ สถานะ ตำแหน่ง ชอบอุปถัมภ์  ชอบเหยียด และ หลงใหลอำนาจ โดยเฉพาะอำนาจแบบฟ้าประทาน แบบหล่นร่วงมาจากฟ้า

อิทธิพลความคิดพวกนี้ หล่อหลอมเราตั้งแต่เกิดผ่านทัศนคติ ผ่านคำสอนศาสนา ปรัชญา คติ คำพังเพย ละคร ศิลปะ ดนตรี ฯลฯ สันดาน กำพืดคนไทย แท้ๆ แม้จะจนกินก้อนเกลือ กินดิน ก็ไม่คิดจะทำการค้า เพราะการคิดเรื่องกำไร การคิดเอาส่วนต่างส่วนเกิน เล็กๆน้อยๆ  ที่เป็นค่าเหน็ดเหนื่อย ค่าทำงาน เป็นเรื่องน่ารังเกียจ เป็นพฤติกรรมที่น่าอับอาย ไม่สง่างาม ไร้ศักดิ์ศรี ประเทศนี้ จึงอุดมไปด้วยข้าราชการ ที่เดินขวักไขว่เต็มไปหมด ประเทศที่ ไม่คิดจะอายกับการ ไปกู้หนี้ ยืมสิน จนใกล้จะล้มละลาย ก็ยังมีข้าราชการที่เดินยืดอก ยกมือชู ขออยู่ใต้ฝ่าพระบาท จะรับใช้ชาติ (ที่ไม่มีประชาชน) ไปจนตายด้วยจิตปลื้มปิติ อิ่มเอิบ และไม่รู้สึกว่า วิถีหรืออาชีพตนนั้น กำลังเป็นภาระของประเทศ เป็นปลิง ดูดเลือดประชาชน


ประเทศที่ เอาเงินไปละลาย กับ กิจกรรมประเภท รักชาติ เทิดทูนสถาบัน ฟื้นฟูรากเหง้า วัฒนธรรมดั้งเดิม จารีตดีงาม ย้อนหลัง ทะลุเวลาจักรวาล ขุดเอามารื้อฟื้น ตีความซ้ำซาก เพื่ออวดเรื่องความเจริญ ความสูงส่งกว่าในอดีต  ประเทศที่สุรุ่ยสุร่าย ไร้วินัยการเงิน ไม่เก็บออม ไม่ประหยัด ประเทศที่ชาวบ้าน จนจะตายห่าแล้ว แต่ก็ยังสนใจ แค่จะนำเงินไปซุ้มประตูสวยๆ หรือ จัดนิทัศการเทิดทูนทั้งปี ถลุงเงินไร้สาระมากกว่าจะสร้างงานให้ชาวบ้านมีงานทำ กระนั้นก็ยังฝัน ยังอยาก รับราชการมากกว่า ทำมาค้าขาย ฝันถึงวิถีเกษตรแบบสงบสุข พอเพียง พอดีพอใจ  ถุ้ย...

 

ความรู้สึกน่าอายนี้ ฝังลึก แม้กระทั่ง ว่า เราเป็นเกษตรกร จะขายผักสักกำ ราคา 5 บาท 10 บาท รู้สึกว่ามันถูก มันเงินน้อยด้อยค่า  มันไม่ถาวรจีรัง ไม่มีศักดิ์ศรี เกษตรกรส่วนมากจึงหันไปทำอะไรที่เยอะๆ แปลงใหญ่ อาทิ ข้าวโพด ยางพารา อ้อย เพราะเห็นเงินกอบกำ รู้ว่า มีเงิน มีอำนาจ ประเทศนี้ เกษตรกรเยอะแต่กลับ อดอยาก มีพืชผัก อาหาร น้อย ไม่หลากหลาย ส่วนมาก มาจากที่อื่น จากโรงงาน จากจีน จากซีพี

การจะเปลี่ยนแปลงประเทศให้ลุกขึ้น เดินไปให้พ้นจากหลุมปลัก ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมนี้ เราต้องแก้ไข รื้อฟื้น วัฒนธรรมความเชื่อ ที่สั่งสม หล่อหลอมนี้ กระตุ้นให้คนชอบการค้า สนใจทำธุรกิจ และเชื่อว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ สำคัญ และสร้างประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า คนรักชาติ ต้องเป็นคนที่ค้าขายเก่ง สร้างความมั่งคั่ง สร้างรายได้ ภาษี สร้างงาน ให้ชุมชน ให้ประเทศชาติ

 

นี่อะไร หน่วยงานรัฐออกกฎหมาย ขูดรีด กีดกัน สร้างอุปสรรค นานา ตรวจจับปรับ  ไม่ให้ธุรกิจสัญชาติตัวเองเติบโต แต่เปิดลู่ทางให้บรรษัทข้ามชาติ เข้ามาตักตวง ยืดอก จับมือ แถลงข่าว ให้โอกาส สนับสนุนการลงทุน บางรัฐบาลถึงกับไล่ชาวบ้าน เพื่อเคลียร์พื้นที่ทำเขตปลอดภาษี เขตอุตาหกรรม เขตการค้าเสรี ฯลฯ  ให้สิทธิต่างชาติ แล้วตัวเองคอยแต่งตัวเท่ๆ จับมือ

ผลักชาวบ้านนคนไทยแท้ๆ ไปเร่ร่อนเป็นแรงงานราคาถูกๆ

 

โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ครับ เราไม่ได้อยู่รอดด้วยการปล้น ชิง ทรัพยากร เราไม่จำเป็นต้อง สร้างกองทัพใหญ่โต ไม่จำเป็นต้องขยายระบบราชการ ( คือกำลังพลอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อค้ำองค์กรรัฐแบบเดิม) เราอยู่รอดด้วย สติปัญญา การค้า และบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เราอยู่รอดด้วยการสร้าง อุปนิสัยให้ประชาชน รู้จักหน้าที่ มีวินัย ค้าขายเก่ง  และใส่ใจจิตสาธารณะ

 

ผมโชคดี ที่พ่อแม่เคี่ยวเข็ญ ให้ขายของ และสอนเสมอว่า การค้าขายจะต้องซื่อสัตย์  อย่าขูดรีดกำไร  เอาเปรียบ ซึ่งหมายความว่า แท้จริง การค้าจะต้องมีคุณธรรมมโนธรรมสูงมาก ไม่ใช่ มีแต่กิเลส อย่างที่คนไทย ส่วนใหญ่สั่งสอนกันมาเป็นสันดานความเชื่อ  ว่าพวกพ่อค้า คือพวกเห็นแก่ตัว ขูดรีด เอาเปรียบ  ซึ่งไม่จริง

ผมจำคำตา (นายลา ลิ้นทอง) สอนผมตอนเด็กได้เสมอว่า “มีสลึงพึง บรรจบให้บาท” ตาชอบสอนให้เก็บเล็กผสมน้อย ให้รู้จักอดออม อดทน เพื่อรอโอกาส ใช้เงินให้มีประโยชน์ที่สุด ผมว่า มันถึงเวลาที่เราจะสั่งสอนคนรุ่นใหม่สียที เพราะเท่าที่เห็นผมกำลังเห็นเด็กๆ คนรุ่นใหม่ ทำตัวสุรุ่ยสุร่าย มีรสนิยม กิน ดื่ม เที่ยว บริโภคฟุ้งเฟ้อ รสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำ ขับรถหรู สวมใส่ ใช้จ่าย มือเติบ หน้าใหญ่ใจโต ทรัพยากรมนุษย์แบบนี้ แหละที่ผมคิดว่า จะพาประเทศนี้ล่มจม ไปพร้อมๆกับรัฐบาล กู้
!!!!

 

 

...

 

โดยเกษตรกรขบถ แห่ง ไร่ทวนลม

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112