Back

โศกนาฏกรรม ซ้ำ ๆ

16 March 2021

1566

โศกนาฏกรรม ซ้ำ ๆ

ขอบคุณภาพ จากสำนักข่าวอิศรา : https://www.isranews.org/isranews-news/72716-news-72716.html

 

เรื่องบางกลอย จริงๆ ในที่สุด ก็กลายเป็นมหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง ที่สะท้อนว่า รัฐไทย และคนไทย จำนวนมาก ไม่ได้ รู้สึกเข้าใจ ความหลากหลายและกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างจริงจัง พูดให้ง่ายๆ ในน้ำสียงคนบางจำพวกก็เปล่งออกมประมาณ ว่า ให้อาศัยอยู่ขนาดนี้ ยังจะมาเรียกร้องอีก

ความไม่เคยคิด และรู้สึกว่า การปฏิบัติต่อประชาชน ทุกหมู่เหล่าเป็นเรื่องที่รัฐสมัยใหม่ หรือ นิติรัฐควรจะทำให้ได้ การดำเนินนโยบาย การออกกฎหมาย การจัดการปัญหาอย่างเคารพในสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เอื้อ เป็นระเบียบที่คุ้มครองทุกคน อย่างเสมอภาค ทำไมถึงไม่ทบทวนและพยายาม คนที่คัดค้านเอง ทำไมไม่คำนึงว่า วันหนึ่ง คุณเอง ลูกหาน คุณเองก็อาจจะถูก รัฐ และคนมีอำนาจบางกลุ่ม ผลักไส กลั่นแกล้ง และคุกคามสิทธิขั้นพื้นฐานที่คุณมีได้เช่นกัน

 

กลับกัน สงครามบางกลอย ก็เหมือน สงครามจะนะ ก็เหมือนสงครามหมู่บ้านอัยการ ซึ่งผลลัพธ์ออกมาแตกต่างกันสุดขั้ว ต่อให้มีพยาน ต่อให้ถูกสงสัย ต่อให้ไม่ใช่พื้นที่ป่า ก็ไม่มีอำนาจอันใดไปทัดทาน รัฐไม่ได้ยืนบนความคุ้มครองดูแลประชาชนอย่าบเท่าเทียม ในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี

 

อ่านเอกสารคำอธิบายจาก มหาวิทยาลัย ซึ่งสนับสนุนนโยบาย และท่าที่รัฐ ที่ดำเนินการคุกคามชาวบ้าน ทำลายสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ มีอยู่ 2-3 ประเด็น หลัก คือ
1) เรื่องจัดการพื้นที่อุทยาน  ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไป coppy มาจาก แม่แบบการจัดการอุทยานของอเมริกา ที่พยายามจะจัดการคนกับป่า กฎหมายฉบับนี้ สร้างปัญหาให้กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์คนกับป่ามาตลอด เป็นกฎหมายที่แยกมนุษย์ออกจากป่าแบบเด็ดขาด ทั้งๆ ที่ มีงานศึกษาวิจัย มาตลอดว่า คนเหล่านี้ อยู่กับป่ามานมนานนับร้อยนับพันปี  โดยที่สภาพป่ามาได้เสื่อมโทรมจริง อย่างที่รัฐ หรือนักวิชาการภาครัฐครหา


2)  ประเด็นเรื่องกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่รัฐไทย มีแต่ความถดถอยและหล้าหลังมาก  ต่อการปฏิบัติกับประชาชนอย่างเข้าใจ ต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในยุคสมัยรัฐบาลทหารปกครอง หรือบริหารประเทศ ข้อบังคับ เรื่องกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ตกต่ำ ไปจนหมดสิ้น

 

  (3) ประเด็นเรื่อง ความรู้ความเข้าใจ ในวิถีของชาติพันธุ์ กลับพบว่า ในสังคมไทย ไม่ได้เรียนรู้ หรือ ทำความเข้าใจต่อคนอื่น หรือ คนต่างวัฒนธรรมในประเทศตัวเองเลย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ แทบไม่เห็นสัญญาณทางปัญญาเหล่านี้ กลับกัน กลับยิ่งมีอคติ ทางชาติพันธุ์ และ ขาดซึ่งความเข้าใจ ต่อการใช้อำนาจทางกฎหมาย หรือแสดงท่าทีต่อปัญหาที่คุกคาม ชีวิต สิทธิมนุษยชน ของคนอื่น

ไม่สามารถเข้าใจได้ แม้กระทั่งเรื่อง เรื่องสิทธิในการตั้งถิ่นฐาน สิทธิพลเมืองที่อยู่มาก่อน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประเทศสากล ทั้งหลายยอมรับ ข้อกังวลของภาครัฐ มีแค่เรื่องเดียวคือ รบกวนสัตว์ กระทบระบบนริเวศน์ป่าต้นน้ำ ทั้งๆที่อุทยานฯ กฎหมายอุทยานฯ เกิดหลัง การอาศัยอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย ด้วยซ้ำ

 

กรณีจะนะ ถึงวันนี้ 20 ปีเต็มๆ ที่สะท้อนว่า สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน เสรีภาพประชาชน และการคุ้มครองหรือเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรม ไม่มีราคาใดๆ ในสายตารัฐไทย ในนามของการพัฒนา (ที่กลุ่มทุนได้ประโยชน์ ) รัฐ พร้อมจะย่ำยี เหยียบไป ให้สุดทาง ไม่ต่างจาก กรณีบ้านบงกลอยใจแผ่นดิน รัฐก็ทำในนามของการ อนุรักษ์ ซึ่งก็ไม่มีภาพมนุษย์ในมิติ ทางกฎหมายเหล่านั้น แต่พอมาเอ่ยถึง หมู่บ้านอัยการ รัฐกลับไม่ได้นึกถึงเลย ทั้งเรื่องการอนุรักษ์ และ การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ดังนั้น ปรากฏการณ์ชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย ก็แค่โศกนาฏกรรม ซ้ำ ๆ  ที่ประเทศนี้กระทำกับประชาชน...

 

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112