6 June 2014
3588
หลักการและเหตุผล
ท่ามกลางความตื่นตัวกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ประเทศสมาชิกหลายประเทศได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน มีโครงการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งแตกต่างกับสัดส่วนการเตรียมความพร้อมให้กับประชากรของประเทศสมาชิก อาทิ การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจก่อปัญหาด้านสังคม ประเทศไทยมีทิศทางนโยบายคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” คงเป็นเรื่องท้าทายอย่างหนักที่จะเกิดขึ้นทุกวัน หลังจากการเปิดอาเซียน ทั้งจากการไม่รู้กฎหมาย ขาดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย
ในขณะที่ประเทศไทยเป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์ของประชากรในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น ประเทศเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศ จีน เวียดนาม เกาหลีเหนือ เป็นต้น ต่างเข้ามาเพื่อการแสวงหาความมั่นคงและโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ หลบหนีจากความแร้นแค้น ความยากจน ไม่มีงานทำ บางคนมุ่งแสวงหาโอกาสตามกระแสโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยี หรือถูกหลอกลวงมาเพื่อแสวงหาประโยชน์ บังคับใช้แรงงาน หรือในธุรกิจทางเพศ นำไปสู่การถูกละเมิดสิทธิ จนเกิดโศกนาฏกรรมมีผู้เสียชีวิตทั้งในขณะที่หลบหนี ซ่อนเร้น เหล่านี้มักเกิดคำถามถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและคุ้มครองเด็กและผู้หญิงที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของนักค้ามนุษย์ และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์
ก้าวย่าง 10 ปีของมูลนิธิพิทักษ์สตรี ที่ผ่านเข้าสู่ปีที่ 11 มูลนิธิพิทักษ์สตรีได้ทำการช่วยเหลือคุ้มครองและส่งเสริมการสร้างทางเลือกอาชีพให้แก่เด็กและผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ในธุรกิจทางเพศ มากกว่า 3,000 คน มูลนิธิฯ ตระหนักดีว่า การแก้ไขปัญหาเด็กและผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ต้องมีการแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกให้แก่เด็กและผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบาง จึงได้มีการจัดเสวนา “ทางเลือกทางออกของเด็กและผู้หญิงกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์สู่อาเซียน”เพื่อเสริมสร้างการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ก่อนก้าวเข้าสู่อาเซียนในเวลาอันใกล้นี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ประสบการณ์ 10 ปีของมูลนิธิพิทักษ์สตรี
2. เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการทางเลือกทางออกให้กับเด็กและผู้หญิง ในอาเซียน
3. เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน นักกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ
ตามกฎหมาย เกี่ยวกับทิศทางและแนวทางในงานป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และสื่อมวลชน ที่เข้าร่วมได้รับรู้และให้ ความสนใจประสบการณ์งานของมูลนิธิพิทักษ์สตรี
2. มีข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการทำงานแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในเด็กและผู้หญิงของมูลนิธิพิทักษ์สตรีในระยะต่อไป
กำหนดการ
13:30-14:00 ลงทะเบียน
14:00-14:30 เชิญชม วีดีทัศน์แนะนำมูลนิธิพิทักษ์สตรี
เปิดงาน กล่าวต้อนรับ และแนะนำองค์กร
โดย คุณโยเก้น โทมัส ผู้อำนวยการมูลนิธิพิทักษ์สตรี(AAT)
แนะนำงานระดมทุน และทิศทางงานในอนาคตของ AAT
โดย ตัวแทน มูลนิธิพิทักษ์สตรี(AAT)
14:30-15:00 ปาฐกถา เรื่อง “สิทธิผู้หญิงและเด็กในการเคลื่อนย้ายในภูมิภาคอาเซียน”
โดย *คุณวิสา เบ็ญจะมโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สนง.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
15:00-15:15 ทางเลือกทางออกของผู้หญิงและเด็ก กับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์: 10 ปี มูลนิธิพิทักษ์สตรี
โดย คุณเพ็ญนภา วุฒิมานพ ผู้จัดการฝ่ายสร้างเสริมศักยภาพผู้หญิง มูลนิธิพิทักษ์สตรี
15:15-16:30 เปิดการเสวนาในเรื่อง “ทางเลือกทางออกกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์สู่อาเซียน?”
ผู้เข้าร่วมการเสวนา
• * คุณสุวรีย์ ใจหาญ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
• คุณมะไลทอง วอระสิด
รองประธานสะหะพันกำมะบานแขวงจำปาสัก สปป.ลาว และ
ผู้ประสานงานโครงความร่วมมือ AAT-LFTU
• คุณทองแดง ยุบลวัฒน์
ประธานกลุ่มพิทักษ์เด็กและสตรีตำบลช่องเม็ก
• พ.ต.ต.จตุพร อรุณฤกษ์ถวิล
ผู้อำนวยการส่วนป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ 2 กรมสอบสวนคดีพิเศษ
• คุณฐปนีย์ เอียดศรีไชย
สื่อมวลชน
• คุณธนวดี ท่าจีน
ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง
ดำเนินรายการ โดย คุณสุมาลี สุวรรณกร บรรณาธิการศูนย์ข่าวเนชั่นภาคอีสาน
16:30-16:50 ซักถามแลกเปลี่ยนโดยผู้เข้าร่วมเสวนา
16:50-17.00 มอบของขวัญและถ่ายรูปหมู่แขกผู้มีเกียรติ
17:00 กล่าวปิดงาน
17:00-17:30 เชิญแขกผู้มีเกียรติเยี่ยมชม สำนักงานมูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT)