Back

ดิจิตอลรัฐ:ไม่ใช่มาไล่จับประชาชนกับสื่อมวลชนเสียงสะท้อนจากภาคใต้

6 August 2021

1038

ดิจิตอลรัฐ:ไม่ใช่มาไล่จับประชาชนกับสื่อมวลชนเสียงสะท้อนจากภาคใต้

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

.

ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในขณะส่วนกลางของประเทศไทยอย่างกรุงเทพมหานครนั้นมีการต่อสู้เรียกร้องให้รัฐบาล ใช้ กม.คุมสื่อ-ภาคประชาสังคม และไล่จับดาราที่Call out แทนที่จะทำสงครามโควิดประชาชน โดยให้กระทรวงICT ไล่จับไล่ฟ้องนั้น เครื่อข่ายประชาสังคม/องค์เอกชนภาคใต้ก็ร่วมจัดเวทีออกแถลงการณ์ “ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลทำอย่างนี้ “ รวมทั้งมองว่า ดิจิตอลสามารถหนุนเสริมแก้ปัญหาโควิด โดยเฉพาะไปติดอาวุธชาวบ้านในการทำธุรกิจ ระบายสินค้าเกษตร ติดอาวุธนักเรียน นักศึกษา ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาเพื่อลดความเลื่อมลำ้ทั้งเศรษฐกิจและการศึกษาที่นับวันยิ่งห่างขึ้นนี่แหละคือหน้าทีหลักของกระทรวงICT ไม่ใช่มาไล่จับประชาชนกับสื่อมวลชนเพราะความมั่นคงของรัฐ# (ไม่เท่ากับ)ความมั่นคงของรัฐบาลแต่ความมั่นคงของรัฐ=(เท่ากับ)ความมั่นคงของประชาชน เมื่อประชาชนมั่นคง รัฐบาลก็จะมั่นคงตามมา

#

 

วันที่ 28 ก.ค.2564 ที่จังหวัดพัทลุง มีการจัดเวทีเสวนา "ฤา ระบบเศรษฐกิจเกื้อกูล" จะเป็นวัคซีนสามัญประจำภาคใต้ เพื่อร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยน ทางเลือกทางรอดของแผ่นดินใต้ เมื่อแผนพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรในภูมิภาค ซึ่งมี วิทยากรร่วมเสวนา ดร. สินาด ตรีวรรณไชย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตหาดใหญ่ นายบรรจง นะแส อดีตนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน นางสาวประไพ ทองเชิญ จากเครื่อข่ายกินดีมีสุข จังหวัดพัทลุง และนายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผู้ทรงคุณวุฒิสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า “เศรษฐกิจต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน “หรือธุรกิจเพื่อการเกื้อกุล (Social Contribution System)ซึ่ง รูปแบบธุรกิจที่มีเป้าหมาย และความปรารถนาที่จะยกระดับความอยู่ดีกินดี พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมโดยรวมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดย "เป้าหมายธุรกิจ" มุ่งสู่การสร้างสรรค์สังคมเครือข่ายแห่งการเกื้อกูล แบ่งปัน จุนเจือระหว่างกัน โดยมีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า มนุษย์ล้วนมีจิตที่คิดจะแบ่งปันให้ผู้อื่นเป็นรากฐาน และเราสามารถทำให้เกิดวงจรแห่งการเกื้อกูลนี้ได้ด้วยการขยายความเกื้อกูลจากกลุ่มหนึ่งไปสู่กลุ่มหนึ่ง บนความเชื่อที่ว่าระบบธุรกิจเพื่อการเกื้อกูลจะสามารถเติบโตขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางธุรกิจแห่งการเกื้อกูล และแบ่งปันได้ในที่สุด จากภาคความคิดสู่รูปแบบธุรกิจเชิงรูปธรรม จุดเริ่มต้นของระบบธุรกิจแห่งการเกื้อกูลกัน (Social Contribution System)

 

นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผู้ทรงคุณวุฒิสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) 

ให้ทัศนะต่อผู้เขียนว่า “ดิจิตอลสามารถหนุนเสริมเศรษฐกิจแบ่งปันได้ดีมากๆและจะช่วยชาวบ้าน ลดความเลื่อมล้ำโดยติดอาวุธให้ชาวบ้านในการทำธุรกิจ ระบายสินค้าเกษตร พัฒนาแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ไม่เพียงเท่านั้นยังช่วยแก้ปัญหาโควิดอย่างในประเทศที่เจริญๆ ติดอาวุธนักเรียนและนักศึกษารวมทั้งครูช่วงการเรียนออนไลน์ทำอย่างไรจะให้พวกเขาทุกคนโดยเฉพาะคนด้อยโอกาส คนเปราะบาง

นี่แหละหน้าทีหลักกระทรวงICT “

 ในประเด็นFake News (เฟกนิวส์)ข่าวลวงแม้จะมีปัญหามากในสังคมยุคใหม่ แต่รัฐก็ไม่ควรใช้กฎนี้ที่ทุกภาคส่วนมองว่า เป็นเครื่องมือ ปกป้องความมั่นคงของรัฐบาล “หากดูตามประกาศฯ ของรัฐ ฉบับที่ 29 เขียนให้ใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง โดยหมายถึงข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เกิดการหวาดกลัว ถือเป็นเรื่องเกินเลยที่รัฐจะนำมาใช้แก้ปัญหาเฟกนิวส์ เพราะข้อมูลจริงอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเหล่านี้ได้เช่นกัน และเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ขัดหลักการสิทธิมนุษยชนสากล ที่จะปิดกั้นการแสดงออก และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และไม่ควรเป็นวิธีที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา เฟกนิวส์ซึ่งคาดว่ารัฐบาลอาจจะถูกองค์กรสื่อหรือเครือข่ายภาคประชาชนฟ้องกลับ

และท้ายสุดจะสั่นคลอนความมั่นคงของรัฐบาลในที่สุดในทางที่ดีกรุณาใช้ดิจิตอลทำสงครามให้ชนะโควิดจะดีกว่าถึงวันนั้นประชาชนและสื่อจะหนุนรัฐบาลในที่สุด”

ช่วงค่ำหลังเสร็จสิ้นเสวนา (วันที่ 28 ก.ค.2564 เวทีเสวนา "ฤา ระบบเศรษฐกิจเกื้อกูล" 

 

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคใต้ ออกแถลงการณ์ผ่านThe Reporter ของแยม ฐาปณีย์ เอียดศรีชัย  4 ระดับ 4 ข้อ กล่าวคือเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคใต้

มีความเห็นเบื้องต้นว่า ทางออกสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาวิกฤติโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นและคลี่คลายกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อสถานการณ์ ด้วยการกระจายอำนาจการบริหารจัดการและการปรับแก้ระเบียบบางอย่างเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่น(ตำบล อำเภอ จังหวัด)ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการเข้าไปจัดการหรือออกแบบแก้ไขกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ในมิติต่างๆได้เอง ดังนั้นเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคใต้ มีข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งการเป็น 4 ระดับ คือ     ​

1. ระดับครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความพร้อมรับมือได้เองเบื้องต้น ในเรื่องการดำรงชีวิต อาหารการกิน การตรวจเชื้อและการรักษาพยาบาล ทั้งยาหลักและสมุนไพร รวมถึงการศึกษาของบุตรหลาน

2. ระดับชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำแผนการรับมือโควิด จัดให้มีอาสาสมัครชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เช่นการเฝ้าระวัง และการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯ จัดให้มีศูนย์พักคอยและคลังอาหารชุมชน ทั้งนี้อาสาสมัครควรจัดให้มีค่าตอบแทนตามความเหมาะสม

3. ระดับตำบล จัดให้มีแผนการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดฯในพื้นที่ตำบล  โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัก และร่วมมือกับโรงพยาบาลสุขภาพประจำตำบล(รพ.สต.) ท้องที่ อาสาสมัครสาธารณสุช(อสม.) และองค์กรชุมชน ทั้งนี้ต้องจัดให้มีโรงพยาบาลสนามระดับตำบล และแผนการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนทั้งด้านการส่งเสริมอาชีพ การสร้างรายได้ รวมถึงการศึกษาของเด็กในพื้นที่

 

4. ระดับจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประประกาศพื้นที่ภัยพิบัติระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถใช้ช่องทางของ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ เข้ามาสนับสนุนให้องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นได้มีช่องทางในการเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆได้อีกทางหนึ่ง ทั้งเรื่องการจัดทำแผนการเฝ้าระวัง แผนการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลท้องถิ่นเป็นหลัก เพื่อโรงพยาบาลหลักจะสามารถดูแลประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

​ทั้งนี้ในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเป็นธรรมให้ประชาชนในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการจากรัฐ และการเข้าถึงการช่วยเหลืออย่างเยียวยา จึงมีข้อเสนอแนวทางการปฎิบัติดังนี้

 

1. ข้อเสนอเพื่อบรรลุเป้าหมายการเพิ่มกลไกการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด - 19

• รัฐบาลควรประกาศให้โรคระบาดโควิด - 19 เป็นโรคระบาดในมนุษย์ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และให้ทุกจังหวัดเร่งประกาศเขตภัยพิบัติ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันฯ พ.ศ.2550 ด้วย และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันโรคระดับท้องถิ่น โดยให้บริหารจัดการทุกมิติ โดยการอุดหนุนงบประมาณให้ท้องถิ่นเป็นหน่วยบริหารจัดการเต็มระบบ ทั้งการดูแลอาสาสมัคร การดูแลผู้ป่วย ผู้ถูกกักตัว ผู้อยู่ในศูนย์พักคอย ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดโดยไม่เลือกปฏิบัติ และจัดตั้งโรงบาลสนามระดับตำบล

• รัฐบาลควรเร่งสนับสนุนกลไกที่สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน/องค์กรชุมชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด - 19 เพื่อเป็นกลไกรองรับการป้องกันการแพร่เชื้อโควิดอย่างเป็นระบบ อย่างน้อยใน 4 ระบบ คือ

1. ระบบ Home Isolation

2. ระบบ Community Isolation      

3. ระบบโรงพยาบาลสนาม

4. ระบบโรงพยาบาลชุมชน  

 

2. ข้อเสนอเพื่อบรรลุเป้าหมายการฟื้นฟู เยียวยา เศรษฐกิจฐานรากและสังคมอย่างมีส่วนร่วม

• รัฐบาลควรทบทวนงบประมาณเงินกู้ที่ได้อนุมัติไปแล้ว โดยเฉพาะงบที่ใช้กลไกของคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของแต่ละจังหวัด และควรการกำหนดรูปแบบ/วิธีการใช้งบประมาณในลักษณะ “กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก”  โดยจัดให้มีบริหารกองทุนแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้จะต้องกำหนดระเบียบวิธีการใช้งบประมาณแบบพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ทั้งการออกแบบแผนงานและการใช้งบประมาณได้ตรงกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่

• รัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมโยงและพัฒนาระบบขนส่ง(โลจิสติกส์) เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดส่งและกระจายสินค้าได้ในเวลาที่รวดเร็วและราคาถูก และสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับภาคเกษตรกรในการจำหน่ายสินค้าจากชุมชนและท้องถิ่น

 

3. ข้อเสนอเพื่อบรรลุเป้าหมายลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ

• รัฐบาลควรเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อกระจายให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงเท่าเทียม และหากจำเป็นต้องมีวัคซีนทางเลือกสำหรับผู้ที่พร้อมจ่าย รัฐจะต้องกำหนดราคากลางสำหรับการช่วยเหลือบางส่วน โดยต้องไม่ปล่อยให้มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนกับประชาชนทุกกลุ่มทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนหรือสัญชาติใดก็ตาม

• รัฐบาลควรดำเนินมาตรการให้เกิดการผลิต กระจาย ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit)เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยง่าย และควรกำหนดให้มีสถานที่จำหน่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเภสัชกร เกิดขึ้นและกระจายในทุกพื้นที่ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด

• รัฐบาลควรให้ความสำคัญการการรักษาโรคโควิด-19 ด้วยสมุนไพร ที่มีการค้นพบและเริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ด้วยการสนับสนุนการศึกษาวิจัย การแปรรูป การผลิต รวมถึงการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถปลูกสมุนไพรชนิดต่างๆ อย่างหลากหลายได้  ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาในรูปแบบดังกล่าวได้ง่ายในราคาที่ไม่สูงจนเกินไป

 

4. ข้อเสนอเพื่อการบรรลุเป้าหมายการลดความเดือดร้อนและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

• ด้านการศึกษา : รัฐบาลควรเร่งกำหนดมาตรการลดข้อจำกัดด้านการจัดการศึกษา ทั้งด้านระบบออนไลน์ อุปกรณ์การเรียน ที่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน และควรสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน และ มชน ร่วมกันจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษาระดับครอบครัว (Home School) และ การศึกษาระดับชุมชน (Community School) โดยจัดสรรงบประมาณ(จากเงินกู้) เพื่อจัดจ้างนักศึกษาหรือบัณฑิตจบใหม่ ในการส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียนในท้องถิ่นของตนในช่วงทีมีการเรียนออนไลน์ ทั้งนี้อาจจะมีการกำหนดพื้นที่การเรียนรวมเป็นจุดเล็กๆในชุมชน ในกรณีชุมชนที่มีเด็กเรียนร่วมกัน ๔-๕ คน หรืออาจจะมีระบบสนับสนุนรูปแบบต่างๆเพื่อให้ผู้ปกครองได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนให้กับบุตรหลานตนเองได้

• ด้านการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ : รัฐบาลควรผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เอื้อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากร และการขับไล่ประชาชนออกจากพื้นที่ทับซ้อนที่ยังไม่มีข้อสรุปในทุกกรณี รวมทั้งควรชะลอหรือยุติการบังคับใช้กฎหมายที่เกิดจากกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน ทั้งในที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกินทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพไปพลางก่อนจนกว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะคลี่คลาย

• ด้านการสิทธิและเสรีภาพ : รัฐบาลควรยุติการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินการขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้และกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ.....ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนภาคใต้ ได้รับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายภาคประชาชนภาคใต้กลุ่มต่างๆ หลายครั้ง จนสรุปเป็นข้อเสนอดังกล่าวต่อรัฐบาล ด้วยเห็นว่าทางออกต่อปัญหาดังกล่าวนี้ จะไม่สามารถแก้ไขได้หากรัฐบาลไม่ปรับระบบการดำเนินงานให้สอดรับกับสถานการณ์ที่กำลังถูกรุกหนักในขณะนี้  ข้อเสนอเหล่านี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการหาทางออกให้กับประเทศโดยรวม  แต่หลักการสำคัญคือการกระจายอำนาจหรือกระจายบทบาทให้กับชุมชนท้องถิ่นได้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมสำคัญในการจัดการแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นภายใต้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  และเชื่อว่าจะเป็นทางออกสำคัญให้กับรัฐบาลและกับสังคมไทยโดยรวมได้

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112