Back

งานพัฒนา ในมิติเศรษฐกิจ

17 September 2021

1272

งานพัฒนา ในมิติเศรษฐกิจ

ผมเคยพยายามบอกน้องๆ นักศึกษา ที่ชอบทำกิจกรรมและอยู่คลุกคลีกับผม เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ว่า กระบวนทัศน์ งานพัฒนา รวมถึง วิธีวิเคราะห์ ปัญหาสังคม ชุมชน การเมือง เศรษฐกิจจะเปลี่ยนทิศทาง เทคโนโลยีการสื่อสาร จะมีบทบาท ส่งผลให้รูปแบบการทำงาน การพยายามเข้าใจ จะข้ามไปมิติอื่น หรือ มีปัจจัยสำคัญใหม่ เข้ามาเปลี่ยนแปลง พัฒนาวิธีการทำงานพัฒนาของพวกเรา  ไม่ใช่ โฟกัสแค่เรื่องการเมือง การต่อสู้ เคลื่อนไหว เดินขบวน ปิดทำเนียบ แบบเดิมๆ

10 ปี ต่อมาสิ่งที่ผมพูด ค่อนข้างมีความจริงหลายประการ การอภิปราย วิเคราะห์ ชี้ทางออก หรือ นำเสนอรูปแบบปัญหา หรือ การทำงานแบบเก่าๆ ไม่มีใครฟังแล้ว และไม่ได้ผล การจัดตั้งมวลชน การชี้นำการเมือง การรวมตัวแบบหลากหลายปัญหา และแก้ที่โครงสร้าง แก้ที่การเมือง จะทำได้ยาก การไปจบปัญหาที่หน้าทำเนียบ เรียกร้อง กดดัน ฯลฯ สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้างก็แล้วแต่ จะไม่มีให้เห็น และ สุดท้ายสิ่งที่ค้นพบคือ ชีวิตก็ยังต้องดิ้นรน เฉกเช่นเดิม ภาระหนักยังหนักอึ้ง ทางข้างหน้ายังมืดมน เช่นเดิม เพราะอำนาจที่เข้ามากำกับควบคุมชีวิต คนทุกคน ณ เวลานี้ ไม่ใช่สิทธิทางการเมือง แต่คือ โอกาสทางเศรษฐกิจ

งานพัฒนา หรือ
NGOs ( Non Government Organization) จะต้องขยับมาจัดกระบวนทัศน์ใหม่ มองและคิดค้นรูปแบบทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนระดับล่าง ในพื้นที่ชนบท และในฐานการผลิต ขนาดเล็ก  นั่นเพราะ การอยู่รอดอย่างเข้มแข็ง ร่วมหรือสอดรับกับกระแส ทิศทาง เศรษฐกิจ ตั้งแต่ชุมชนไปจนถึงระดับโลก มีอิทธิพลและส่งผลต่อกันรวดเร็วมาก

การพัฒนาสังคมให้ได้มาตรฐาน หมายถึง ทัดเทียมอารยประเทศ ทั้งในเรื่องการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สิทธิโอกาสทางเศรษฐกิจและการเมือง การเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและเสรีภาพในการแสวงหาความมั่งคั่งมั่นคง บนพื้นฐาน หลักคือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม (ขนาดเล็ก) ดังนั้น รูปแบบและวิธีทำการเกษตร จึงยืนบนพื้นฐานต้นทุนต่ำ อำนาจต่อรองน้อย

ที่ผ่านมา ขบวนเอ็นจีโอไทย รวมถึง กระบวนทัศน์งานพัฒนาในประเทศไทย มองทางแก้ไขปัยหาไปยัง ศูนย์กลางอำนาจ  นั่นคือ รัฐ การเชื่อว่า การเบียดแทรก กดดัน ต่อรอง และควบคุม ทิศทางนโยบายการเมือง การออกแบบโครงสร้างหรือ ความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐ กับประชาชน ประชาชนกับประชาชน เพื่อสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรม อย่างดท่าเทียมจะต้อง เป็นรากฐาน ทำให้เห็นว่า ตลอด
30-40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย มีขบวนการ มีการเคลื่อนไหว ต่อสู้เรียกร้อง มากมาย ทั้งหมดคือ เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจ

ตลอดเวลา
40-50 ปี ที่เริ่มมีงานพัฒนาชนบท สร้างการเรียนรู้ จัดตั้งกลุ่ม ชรมรม เครือข่าย และ ร่วมมือกันเคลื่อนไหว แม้จะมีความคืบหน้า มีพัฒนาการกว่าเดิมมาก ทั้ง ในด้านการเมือง และเศรษฐกิจ แต่ก็ยังไม่มากพอ ที่จะทำให้ประชาชนยืนขึ้นอย่างเข้มแข็ง เพื่อที่จะรับมือกับกระแสการค้าการลงทุนที่โลกกำลังไหลเวียน ไร้พรมแดน กลับกัน ประเทศไทยยัง วนเวียนอยู่กับการรัฐประหาร การยึดอำนาจ การไม่ยอมลดบทบาทของทหารกับการเมือง และการมอบภาระทุกอย่าง ที่การเมือง การกุมอำนาจ ของกลุ่มผลประโยชน์เก่าๆ ในขณะที่เศรษฐกิจภาคเกษตร เหลือแค่ การปลูกพืชเชิงเดี่ยว อาทิ ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์ม ฯลฯ ไม่กี่ชนิด และ จบกระบวนการที่พ่อค้าคนกลาง


50-60 ปี ที่ประเทศไทย เปิดประตูสู่การค้า และควบคุมทิศทางด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เกษตรกรหรือภาคเศรษฐกิจตนส่วนใหญ่ ยังไม่เปลี่ยนแปลงพัฒนา ยังไม่ถูกเพิ่มศักยภาพการผลิต ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้ง ๆ ที่เรามีสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย และข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพความจริงของภาคเกษตร

ทางออกทางแก้ ปัญหาเกษตรกร มีมาก มายหลายเงื่อนไข ทั้งในด้านตลาด ในด้านพัฒนาศักยภาพ และในด้าน ปัจจัยและเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งตั้งแต่เปิดประตูทำการค้า มากลับพบว่า งานค้นคว้า วิจัย และสนับสนุน ปัจจัยการผลิต อย่างเต็มกำลังและอย่างสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ กับพัฒนาการด้านเทคโนโลยี  กลับมีน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง อาทิ เครื่องมือการผลิต คือ ต้นทุน และต้นทุน  คือ หัวใจของความอยู่รอด ของภาคเกษตรที่จะยืนหยัด ไปได้

จากกรณีศึกษา เรื่อง อู่ช่างเด่น ซึ่งรับงานหรือสนใจ ซ่อมเครื่องมือการเกษตร ของเกษตรกร รายย่อย หรือ ระดับรากหญ้า คือหัวใจสำคัญมาก เกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ยากจาก มีที่ดินจำกัด มีปริมาณการผลิตต่ำ และมีราคาถูก ทำใหญ่มีศักยภาพในการเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เก่าๆหรือ ราคาถูก ซึ่งในอีกด้านหนึ่ง การใช้เครื่องจักรที่ไม่เหมาะสม เครื่องจักรที่เก่า และ เครื่องจักรที่ไม่ถูกออกแบบ ด้านวิศวรกรรมที่ดีพอ ทำให้กลายเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในภาคเกษตรหมายถึง เสียง่าย พังง่าย ไม่มีอะไหล่ ไม่มีศูนย์บริการ รับซ่อม ในราคาที่เกษตรกรชำระได้ ทำให้ หลายอู่ปฏิเสธที่จะซ่อม รถเก่า หรือ รถเกษตร เนื่องจากไม่มีอะไร และ ค่าบริการไม่คุ้มกับงาน ที่ต้องลงแรง

เมื่อ
10 กว่าปี ก่อน ผมบอกน้องๆ ตลอดว่า ถ้ารู้จักวิธีมอง ปัญหา วิเคราะห์ จากการสังเกตความจริง รายรอบตัว ชุมชน หรือ สังคม  งานพัฒนายังมีอะไรให้ทำ มากมาย เพราะงานพัฒนา คืองานสร้าง ศักยภาพประชาชน ให้ชุมชน และภาคเกษตร จนถึงวันนี้ ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน เศรษฐกิจพอเพียง





 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112