Back

ต้นทุนชีวิต

14 October 2021

806

ต้นทุนชีวิต

คนหลายมักถาม ว่า เห็นขายของได้ และเห็นหมัก เห็นลงผลไม้เยอะแยะ ทุกปี ต้องมีเงิน แน่นอน...  ( ฮ่า ๆ)   ผมคิดยังงี้ ครับ  แน่นอน เรื่องเงินผมอยากได้ อยากเก็บ อยากมีอวด หรือเอาไปใช้จ่าย ตามใจนึก แต่....  มันทำไม่ได้ ครับ

หนทางของการประกอบการแบบคนจน คนไม่มีต้นทุน ไม่มีกำลัง ไม่มีทรัพยากร  ที่สำคัญ หรือ ไม่มี
skill หรือทักษะ ทั้งการทำไวน์ การทำธุรกิจแปรรูป ซึ่งก็หมายถึง การหาวัตถุดิบ หาแหล่งผลิตวัตถุดิบ การรักษา การจัดการวัตถุดิบ ปอก ล้าง แช่ การบรรจุภัณฑ์ การทำตลาด ออกร้าน หรือแม้แต่การโฆษณา ซึ่งหมายถึง การทำให้ผู้บริโภครู้จัก สินค้า ที่มันขายไม่ได้เลย ในตอนแรก ไม่ใช่ของเราไม่ดี แต่เพราะเขาไม่รู้จักของเรา   ปัญหาของแผนการผลักดันวิสาหกิจชุมชน ที่มันเดินไม่ได้ หรือไม่เคยได้ เพราะ ขาดแคลนเรื่องหลัง ยิ่งเดินตามแนวบอกของข้าราชการ ยิ่งริบหรี่ เพราะข้าราชการ ไม่เคยทำธุรกิจ เอาแต่บอกๆ จากสิ่งที่อ่านมา หรือฟังมา หรือมโนเอา ฉะนั้น พอทำนานๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายก็จบลงที่ท้อแท้หรือทะเลาะกันเอง โทษกันเอง

ผมเริ่มจากทุนไม่กี่บาท และหมดไปกับการทำโครงสร้าง ตั้งแต่ดีดบ้าน เพื่อจัดสถานที่ สร้างโรงงาน ( เป้าเพื่อจะขอ อย. ) ทำรั้วรอบขอบชิด เนื่องจากข้างบ้าน ผุดโครงการเลี้ยงโคขุน ทั้งกลิ่น ทั้งแมลง ประชิดโรงงานเลย หมดไปกับการทำหลายอย่าง แถมซื้อ วัสดุอุปกรณ์ มารองรับแผนที่ตั้งใจจะขยายการผลิต เพื่อปั่นรายได้กลับมาชำระหนี้ จากนั้น ก็ออกไปทำตลาด เราลืมไปว่า สินค้าเรา ยังไม่ได้ถูกยอมรับ ทำให้จำหน่ายได้จำกัด บวกกับ ไม่ใช่สินค้าที่คนหมู่มากนิยมรับประทาน จึงหมดทุนไป ไม่น้อย หันมาทำไวน์ (
wine ) ด้วยเหตุผล 2-3 ข้อ หนึ่ง ระบายวัตถุดิบหรือผลผลิต ได้ทัน สอง มีตลาดหรือ ผู้บริโภคที่เชื่อว่า น่าจะขายได้ และ สาม มีราคาคุ้มการทำตลาด หมายถึง เวลาไปออกร้าน เรามีต้นทุน ค่ากิน ค่าน้ำมัน ค่าเช่าที่ ถ้าขายของถูก ก็ต้องขายให้ได้มาก จึงจะได้กำไร คุ้มค่าเดินทาง ยุคแรกๆ ที่ตระเวนออกร้าน ของเราขายดี นะครับ ถ้าเทียบกับร้านอื่นๆ น้ำผลไม้ แยมผลไม้ แต่พอหักกับต้นทุนที่ลงไป ที่จ่ายไป ค่ากินค่าอยู่ ตลอดการเดินทาง กำไร 4-5 พันบาท ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ออกไปบ่อยๆ นานๆ ทุนเราก็หมด

ทำให้เรา กลับมาทบทวนว่า เราจะผลิตอะไร และใช้อะไรมาหล่อเลี้ยง แผนการทั้งหมด หมายถึงต้องหา สินค้าที่ทำรายได้คุ้มทุนมาให้ได้ สักตัว ผมเลือกไวน์ และเน้นทำเองลุยเอง  หมายถึงว่า ผมเริ่มคิดใหม่  ผมต้องหาไอเดียทำสินค้า ตัวหลัก ที่ทำตลาดได้ง่ายกว่า มารองรับ และใช้เป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยง ทั้งหมด ตอนนั้น ผมขยายกำลังผลิตวัตถุดิบ คือ เพิ่มแปลงหม่อน เพิ่มแปลงกระเจี๊ยบ เพื่อสร้างวัตถุดิบเอง เพื่อทำให้ราคาต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง และแผนการคือ นำรายได้มาเป็นทุนสร้างศักยภาพหรือความพร้อม สำหรับเป็นผู้ประกอบการที่ลงสนามธุรกิจจริงๆ ได้


จากผลิตปีแรก  แค่
1 ถัง เพิ่มาเป็น 4 ถังใน 4 ปี บางชนิดที่ตลาดตอบรับดี ก็ขยายเป็น 6 ถัง 8 ถัง ( 1,600 ลิตร)  ในปีต่อมา จากเพิงสังกะสี ร้อนคลั่ง ก็เสริมหลังคาอีกชั้น  จากนั่งทำงานบนดินแฉะชื้น  ก็พยายามสะสมทุนเองเงินมาเทพื้น  เพิ่มโรงบรรจุ โรงเก็บสินค้า โรงล้าง และ มีห้องน้ำ ( แม้จะยังไม่เสร์จสมบูรณ์) เพื่อเปิดตัวรับแขกมาเยี่ยมสวน เยี่ยมโรงบ่ม เพราะ มีห้องน้ำ มีไฟฟ้าใช้ มีแสงสว่าง แล้ว ทั้งหมด เราไม่ได้มีทุนมาหนุน เงินกู้สองระลอกที่ได้มานั้น  ใช้หมดไปกับการลงทุนด้าน โครงสร้าง (โรงงาน โรงบ่ม 1 ร้านสวนซีโมน และโรงบ่ม 2 )   ฉะนั้น ทุนที่จะนำมาพัฒนา ขยับขยาย สะสมเพิ่ม ซื้อวัตถุดิบ ซื้ออุปกรณ์ พัฒนาสถานที่ทำงาน คือเงินจากจำหน่าย ทั้งหมด ทำให้ไม่ได้นำไปแบ่งปันผล หรือนำมาใช้ส่วนตัว

สำหรับผมแล้ว กว่าเราจะเข้าใจ ทั้งเรื่องการจัดการองค์กร การเข้าใจผลิตภัณฑ์ เข้าใจธรรมชาติ ปรัชญา เข้าใจ การเข้าใจผู้บริโภค เข้าใจตลาด คู่แข่ง และข้อจำกัด ของเรา ทีมเรา พื้นที่เรา ทั้งหมดนั้น ก็ล่วงมา
3-4 ปี และนอกจากนั้น การเข้าถึงความคิด ความรู้สึก ความคาดหวัง ลูกสวนลูกไร่ หรือ เกษตรกรที่รับเงื่อนไขผลิตให้เรา ก็ใช้เวลา ใช้ความจริงใจ รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ เรื่องการตกลง ราคา  ผมว่า ตลอดเวลา 3-4 ปี ที่พยายามวางรากฐาน เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่อง่ายเลย โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยทำธุรกิจ ค้าๆขายๆ อย่างผม ทั้งหมดเพื่อให้พร้อม ที่จะลงสนามทำธุรกิจ จริงๆจังๆ

ปีที่ผ่านมา มีตัวแทนบริษัท จากกรุงเทพฯ มาเจรจาทำ
EOM ( สัญญาจ้างผลิต) ซึ่งยอดการผลิต น่าตกใจมาก สตาร์ทที่เดือนละ 1000 ขวด ในปีแรก ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบ เท่าไหร่ กับเงื่อนไขแบบนี้ เพราะมันเหมือนเราขายของดี ของตัวเองกิน แต่เพื่อโอกาส ที่จะได้ทุนมาพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะโครงสร้าง และนำมาจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็น และได้ชำระหนี้ ท่ามกลาง ความวิตกไม่น้อย นั่นเพราะว่ากำลังผลิตขนาดนั้น มันมากกว่าที่เคยทำ เกือบ 10 เท่า ไม่แน่ใจว่า skill เราเพียงพอสำหรับ เดินกำลังผลิตขนาดนั้น ได้หรือไม่ แต่โอกาสมา ยังไงก็ต้องตะครุบ เพื่อเงินทุน มาวางรากฐานให้แน่นหนา เพื่อให้พร้อมที่กระโจนไปลุย ในโลกธุรกิจเต็มกำลัง

แต่สุดท้าย ก็ต้องระงับไป เพราะเจอสถานการณ์โควิด ซึ่งนั่นไม่หนักหนาเท่า กับ ประเทศนี้มีกฎหมาย “ห้ามจำหน่ายออนไลน์” และ “ห้ามโพสต์ ห้ามโฆษณา ห้ามเอ่ย สาธยาย สี กลิ่น รส หรือแม้แต่บอก ประเภทไวน์แดง ไวน์ขาว”  จนบางที ก็นึกถามลอย ๆ ไปว่า เราเกษตรกร ลุกขึ้น ริเริ่ม แก้ปัญหาให้ตัวเอง  ปลูกเอง แปรรูปเอง ขายเอง ทำตลาดเอง มาถึงขนาดนี้ ทำไม “รัฐ” ถึงยังมีกฎหมาย กีดกัน กดขี่ กันขนาดนี้

วันนี้
De Simone ยังล้มลุกขลุกขลัก ขายมาได้ หรือ ทำโครงการร่วมทุน มาได้ ก็ลงไปกับการหมัก บ่ม ฤดูต่อไป ประคองตัวเพื่อรอสถานการณ์โรคระบาด เศรษฐกิจ การเมือง คลี่คลาย และรอพลังอำนาจ จากฟากการเมือง ลงมือแก้ไขกฎหมาย ที่ปิดกั้น กีดกันเรา ซึ่งก็คิดว่า คงได้แต่รอ.... นี่แหละคือ โชคชะตากรรม เกษตรกรไทย ที่พยายามจะผันมาแก้ปัญหา ผลผลิตตัวเอง ยืนบนลำแข้งตัวเอง ไม่ได้ง่ายเลย ไม่ใช่ไม่ง่าย .... แท้ที่จริง เป็นไปไม่ได้เลย จากกรอบ กฎหมาย และระเบียบของข้าราชการไทย

------------

โดยเกษตรกร ขบถ แห่ง ไร่ทวนลม

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112