Back

ปฏิบัติการแก้ปัญหาคนจน ตอนที่ 4 แบรนด์ บริษัท และ การเมือง

23 February 2022

758

ปฏิบัติการแก้ปัญหาคนจน ตอนที่ 4  แบรนด์ บริษัท และ การเมือง



เป็นเรื่องที่จู่ๆ ก็นึกเขียนแต่ ก็ลงรายละเอียดในความคิดไม่ได้ ว่า มันจะอธิบายความเกี่ยวกพันอย่างไร งานบทความนี้ จึงเป็นเรื่องความเชื่อส่วนตัว (คนเดียว) ล้วนๆ เลย ถ้ามีใครนิยามว่า การเมือง คือ เรื่องการต่อรองอำนาจ หรือ ช่วงชิงอำนาจ และ อำนาจ ในที่นี้ คือ ความมีอิทธิพลหรือมีพลังเหนือกว่า การเมืองในที่นี้ ก็คือ ทุกสิ่งอย่างที่เคลื่อนไหวรอบตัวเรา

ศาสนา ก็พยายามมีอำนาจ เหนือ ความเชื่อและกำหนดพฤติกรรมเรา ครอบครัว ผัวเมีย ระบบความสัมพันธ์เครือญาติ หญิงชายและเพศที่สาม ทุน โรงเรียน สังคม ชุมชน ซึ่งก็จะมีคนบางกลุ่ม บางชนชั้น พยายามทำให้เรา สวามิภักดิ์ จำนน หรือ อยู่ภายใต้บางอย่าง ฯลฯ  สรุป คือ ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

การผลักดันผลิตภัณฑ์
Jam หรือ Wine ก็ดี การสร้างแบรนด์ De Simone หรือ แบรนด์บ้านนอก ก็ดี มาจนถึงการจดทะเบียนบริษัท ไม่เดินตามทาง “วิสาหกิจชุมชน” ก็ดี คือการเมือง สำหรับผม

แยม หรือ ไวน์ เป็นสินค้า หรือ เครื่องดื่มสำหรับ คนชนชั้นสูง ผู้มีอันจะกิน โดยเฉพาะไวน์ จึงถูกรองรับด้วย ชุดความรู้ ตั้งแต่ การเพาะปลูก หมัก บ่ม และ ดื่ม อย่างถูกวิธีมีจารีต บังคับ กำหนด และ คาดโทษถึงผู้ ที่ไม่ม่ความศิวิไลซ์ ดังนั้น กลุ่มเจ้าของอารยธรรมไวน์ก็ดี หรือ กลุ่มชนชั้น ผู้ชมชอบดื่มไวน์ก็ดี จึงมักจะมี การนำเสนอภาลักษณ์ รูปแบบ บรรยากาศการดื่มไวน์ที่ค่อนข้างหรูหรา และแสนแพง

ผมมีฐานความคิด เรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคมมาแต่วัยเยาว์ มีชีวิตค่อนชีวิตทำงานพัฒนาสังคม เคลื่อนไหว ต่อสู้ และ ทำลายล้างวัฒนธรรมบางอย่าง ที่ครอบงำ กดขี่ ผู้คน ไวน์ที่สถาปนาขึ้นจึงมีแบบท้าทาย อาทิ  ผลไม้พื้นเมือง ที่ไม่มีราคาในท้องตลาด อาทิ ลูกจัน พลับ  พืชใกล้สูญพันธุ์ หรือ วัชพืช อาทิ ตะเปียงจู วางราคาที่ถูกโคตรๆ เพื่อให้คนจนสามารถเอื้อมถึง และ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า อารยธรรมรากหญ้า หรือ เรียกว่า ไวน์ เดอ ซีโมน ไวน์ขบถ
!

ทำไมผมคิด ในแง่มุม แบบนี้ เพราะผมเชื่อว่า เรา ตั้งแต่บรรพบุรุษมามาแล้ว ดำเนินชีวิตภายใต้ การกำหนดเป็นกรอบวิถี ความเชื่อ สืบสานกันมา กำหนดจากอะไร หรือ ใคร อันนี้ต้องถกเถียงกันยาว แต่ที่ปรากฏคือ ไม่ว่าที่ไหน หรือ ใคร ก็ก้มหน้าก้มตา ทำตามกัน คิดไปในทางเดียวกัน ทำไมเราไม่ค้าขาย ทำไมเราไม่ตั้งธนาคาร ทำไมเราไม่รับจำนำ หรือ ทำไมไม่ต่อเรือออกไป ปล้นดินแดนอื่น เราคุ้นเคย คุ้นชิน ที่จะเดินตามบางอย่าง อย่างเชื่องๆ ตื่นเช้าไปนา ย่ำรุ่งกรีดยาง ตัดอ้อย ฯลฯ เรากำหนดราคาไม่ได้ เราเดินไปบอก ธกส. อนุมัติเงินภาษีเรา มาลงทุนก็ไม่กล้า เรายังไปอำเภอ ไปนั่งออ ต่อแถว ยื่นสำเนา และรอ  ยาวนาน

โลกปัจจุบัน ที่อยู่นอกเหนือ ประเทศนี้ กำลังแข่งขันกัน เพื่อแสวงหาความมั่งคั่ง ความรู้ ความคิดใหม่ๆ ไอเดียดีๆ มีมูลค่ามหาศาล ใครคิดอะไร พร้อมจะมีผู้มาลงทุน รัฐ พยายามเปิดกฎหมายให้ทำได้ สนับสนุน และ สร้างอิทธิพลคุ้มครอง สินค้า การค้า  การเดินทาง ให้ประชาชนของตน นั่นจึงทำให้ประเทศ บางประเทศมั่งคั่งและเป็นมหาอำนาจ

คนจน อย่างผม หรือ อย่างอีกหลายคน จึงลุกขึ้นทำในสิ่งที่ ใครไม่กล้าทำ หรือ รัฐ ไม่สบายใจให้ทำ

บริษัท สำหรับผม เป็นแค่รูปหนึ่ง ของเลือกระบบการจัดการ เลือกสถานะ  และ เป็นรูปแบบ ที่ผมคิดว่า ดูน่าเชื่อถือ สะท้อนศักยภาพมากกว่า รูปแบบวิสาหกิจ เพราะวิสาหกิจ
70% สร้างขึ้นมาเพื่อ รองรับแผนทางราชการ ในการพัฒนา การรวมกลุ่มเพื่อประกอบการ หรือ สร้างพลังการผลิต การรวมกลุ่มรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่จึงก้าวเดินออกมาได้  ส่วนหนึ่งก็มาจากแรงผลักดันของราชการ มีรูปแบบ ระเบียบ กระบวนการทำงาน ร่วมกัน ที่ค่อนข้างหยุมหยิม ทำให้ล่าช้าและเสียพลังไปมากกับกระบวนการทำงาน ต่างจากบริษัท รองรับอำนาจสั่งการ ได้ดี ออกแบบระบบการทำงานได้หมด และ สามารถทำให้รวบรัด สั่งการ ลงมือได้ฉับไว ที่สำคัญ เห็นผลประโยชน์ชัดเจน

การเมืองที่ผม พยายามบุกเบิก ที่นี่ คือ การเมืองเรื่องความเชื่อที่กดทับเราไว้กับที่ดิน ที่แทบทุกคนมักคิด ว่า เราเป็นแค่เกษตรกร เป็นแค่ชาวบ้าน ไม่มีช้อนเงินช้อนทอง และ ราชการ ไม่อนุญาต
!! 

ผมเริ่มจากสองมือ กับคนรัก เราปั้นอากาศเป็นตัว ทำกันใต้ถุนบ้าน ออกแบบโลโก้เอง แล้วขับออกไปขาย กรณ๊ไวน์ นี่ผมเดินไปถามถึงสำนักงานสรรพสามิต ว่า ผมอยากทำไวน์ ผมปลูกหม่อน ผมต้องเตรียมเอกสารอะไร บ้าง ? และมีขั้นตอน อย่างไร ? ซึ่งแน่นอน เจ้าหน้าที่รัฐ มองหน้าเราและงง ๆ ( ในใจอาจจะนึกไปว่า ไอ้นี่ใคร มันบ้าหรือเปล่า ?) แต่ ไม่มีกฎหมายข้อไหน ห้ามเราทำมาหากิน ?

การเมืองสุดท้าย คือการเมือง ในทัศนะคติ เรานี่เอง เราเองที่ถูกครอบงำ เราเองที่คอยแต่กดชีวิตตัวเองไว้ ด้วยความเชื่อบางชุด อาทิ น้ำหน้าอย่างมึงหรือจะตั้งบริษัท หรือ จะทำโรงบ่มไวน์ ?   เราแค่พยายามช่วงชิง เอาความเชื่อใหม่ยัดเข้าไปในหัว ทำให้ตัวเองกล้า ทำให้ตัวเองเชื่อมั่น และ ปกป้องตัวเองได้ หากล้มเหลวไปบ้าง

ก่อนนี้ เดอ ซีโมนพยายาม เข้าไปเชื่อมปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐ  ( ซึ่งเป็นการเมืองแบบหนึ่ง ) เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกัน แต่ต้องมาสะดุด เพราะถึงเวลาหนึ่ง ราชการก็เลือกทำงานสนองระบบ คำสั่งมากกว่า เป้าหมายของซีโมน  ซีโมนก็ต้องปรับทิศทาง และสร้างสัมพันธภาพใหม่ กับกลุ่ม หรือเครือข่าย หรือ กับคนที่สมประโยชน์ได้ในอนาคต ถ้าเราเข้าใจว่าการเมือง ไม่ใช่การหยุดนิ่ง มันต้องเคลื่อนไหว ต่อรอง สร้างใหม่เสมอๆ  วันนี้ ราชการ (จังหวัดสุรินทร์) ไม่อนุญาตหรือไม่สนับสนุน เดอ ซีโมน ซีโมนก็ปรับแผน โดยยึดเป้าหมาย ทั้งการจับมือกันกับผู้ปลูกกัญชา การจับมือกับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ เพื่อแปรรูป การร่วมทุนกับมิตรสหาย ผุด ขยายโรงบ่มเดอ ซีโมน สาขาต่างๆ  ทั่วประเทศ สำหรับผม ประชาชนที่ไม่ยอมจำนน เท่านั้น ที่จะสร้างหรือพลิกเปลี่ยน เศรษฐกิจประเทศนี้ได้

แน่นอน ความวาดฝันสูงสุด ของเดอ ซีโมน คือ การแพร่ระบาดอารยธรรมความสุข จาก น้ำเมรัย ที่เรียกกันทั้งโลก ว่า ไวน์

 

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112