Back

แนวคิดการจัดตั้งพรรคมุสลิม ในสถานการณ์ปัจจุบัน

11 July 2012

1297

แนวคิดการจัดตั้งพรรคมุสลิม ในสถานการณ์ปัจจุบัน
โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ ( อับดุลสุโก ดินอะ ) ผช.ผจก.ร.ร.จริรยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ Shukur2003@yahoo.co.uk; http://www.oknation.net/blog/shukur ด้วย พระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติ ความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๕ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานการศึกษามหาวิทยาลัยกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียเพื่อจัดทำความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆใน ประเทศมาเลเซียกับทางมูลนิธิดารุลนาอีม จังหวัดสงขลาซึ่งมีโครงการจะเปิด Islamic Asian College of Science and Technology ในจังหวัดสงขลาเพื่อรองรับประชาคมอาเซี่ยน ซึ่งในวงน้ำชาทีมงานจากดารุลนาอีมได้พูดคุยเกี่ยวกับการศึกษาและการเมือง จึงเลยถือโอกาสสัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับการเมืองซึ่งท่านสนใจในให้มุสลิมรวมตัว ตั้งพรรคการเมือง ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ ถาม อะไรคือความจำเป็น มุสลิมในประเทศไทยในการตั้งพรรคการเมือง ตอบ พรรคการเมืองมุสลิม “Thai Muslim party” ความจำเป็น มุสลิมในประเทศไทย 7-8 ล้านคน การเมืองเมืองเป็นการวางแนวทาง ในการวางแนวทางในการบริหารปี1 มีงบประมานเกือบปีละเกือบ 3 ล้านล้านบาท มีผู้ที่ได้โอกาสในการบริหารคือคนกลุ่มน้อยในสังคม ทำให้มีผู้ที่เสียโอกาสส่วนใหญ่เสียโอกาสมาก ทำให้ต่างจากประเทศเจริญแล้วที่ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสและได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะเขาสามารถเลือกผู้ที่เข้ามาบริหารประเทศหรือท้องถิ่นเองเนื่องจาก ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในสิทธิในการปกครองระบอบนี้มากกว่า เพราะระบบประชาธิปไตยไม่ใช้แค่การเลือกอย่างเดียว แต่การเลือกตั้งนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นของระบอบนี้ สิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคนต่างหากที่ถือว่าเป็นหัวใจของระบอบนี้ หมายถึงสิทธิในการเป็นพลเมืองเท่าเทียมกันไม่ว่ามากดีมีจนก็ถือว่ามีสิทธิ เท่าเทียมกันหมด การบังคับใช้กฎหมายก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช้สองมาตรฐานแบบสังคมไทยปัจจุบัน ที่ถือว่าตัวองมากจากการเลือกตั้งและสามารถทำได้ทุกอย่าง ขอแค่เลือกตั้งเข้ามาได้ก็ถือว่าเป็นมติที่ได้มาจากประชาชน สามารถบริหารประเทศได้อย่างชอบธรรม ดังนั้นนักการเมืองส่วนใหญ่จึงใช้ทุกวิถีทางในการที่จะทำให้สามารถชนะการ เลือกตั้งอย่างเดียวพอ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีคู่ต่อสู้ฝ่ายตรงข้าม ซื้อเสียง หรือแม้กระทั้งใช้หน่วยการของข้าราชการในการช่วยหาเสียง และมาการตอบแทนกันหลังจากได้เป็นรัฐบาล การบริหารเลยเป็นการบริหารเอาใจคนส่วนน้อยในประเทศนี้ที่มีเพียงไม่กี่ ตระกูลและเป็นบุคคลที่มีหน้ามีตาในสังคม พร้อมทั้งมีทรัพย์สินมากมากอยู่แล้ว ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ของประเทศถูกเอารัดเอาเปรียบ และเสียผลประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะคนมุสลิมทั้งนี้เพราะเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม ในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยในมีพรรคการเมืองใดให้โอกาสให้เกียรติชาวมุสลิมยกเว้น สมัยพรรคความหวังใหม่ที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรคและสมัยพรรมไทยรักไทยที่พ.ต.ท ดร. ทักษิณ ชินวัต เป็นรัฐบาล เท่านั้น อยากให้ท่านช่วยวิเคราะหหรือศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า SWOT ในการตั้งพรรคการเมืองมุสลิม ตอบ ปัจจุบัน มีพรรคการเมืองใหญ่แค่ 2 พรรค คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปไตย แต่ทั้ง 2 พรรคมีข้อจำกัดดังนี้ 1. เมื่อคราวสรรหาสมาชิกวุฒิสภา พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีมุสลิม ที่ไม่ได้รับการคัดสรร ผิดกับสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพ.ต.ท ดร. ทักษิณ ชินวัต เป็นรัฐบาล 2. เป็นรัฐบาล บริหารประเทศ 2 ปี สส. มุสลิม 13 คน แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี คือไม่ได้เป็นผู้บริหาร 3. เป็นนโยบายที่เกี่ยวกับชาวมุสลิมภารกิจไม่ชัดเจน เช่น กิจการฮัจจ์ มีปัญหามากมายพระราชบัญญัติศอบต. ใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงกล่าวคือ พื้นที่ศอบต.มีแค่ 3 จังหวัด กับ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาเท่านั้น แต่งบประมาณและบุคลากรมักลงรวมในสงขลาทั้งจังหวัด พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชาชนถึงพรรคเพื่อไทย อดีต สส.อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เป็นสส.มุสลิมหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่อาวุโส แต่พรรคก็ไม่ให้เกียตริ จนต้องย้ายพรรคเมื่อพรรคถูกยุบมาป็นพรรคเพื่อไทยไม่ได้รับการคัดเลือกให้ อยู่ในลำดับปาตี้ลิสต์ ในการเลือกตั้งครั้งหลังสุด ทั้งที่น่าจะได้จัดลำดับคัดเลือก แม้แต่สายอาจารย์วันนอร์ยังจัดให้อยู่ลำดับที่ 70 กว่า ซึ่งไม่มีโอกาสเป็นสส.สัดส่วนแน่นอนและอีกหลายคนที่ลักษณะคล้ายๆกัน หลังเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลพรรคก็ไม่มีที่ให้นั่ง เช่น อดีตสส.จิรายุ สเนวเกตุ อยู่หน้าเวทีเสื้อแดงตลอดการต่อสู้ของคนเสื้อแดงแต่เด็กที่มาทีหลังก็ได้ ตำแหน่งในรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกันทั่วหน้า เหล่านี้คือข้อจำกัดของพรรคการเมืองใหญ่ในประเทศไทยขณะนี้ ประกอบกับคนมุสลิมมีสมาคมที่แตกต่างเช่น 1. ไม่ดื่มเหล้า ไม่สังสรรค์ ไม่ตีกอล์ฟ 2. ไม่มีเงิน 3. ไม่มีเส้น 4. เขาไม่เชื่อว่าพวกเรามีคะแนนเสียง โอกาส การจัดตั้งพรรคการเมืองของพวกเราเองคือ พรรคมุสลิมหรือพรรคมลายู เป็นช่วงจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่งกล่าว คือ 1. คนมุสลิมในประเทศเริ่มตื่นตัวในพรรคการเมือง และมีความรู้สึกเหมือนๆกันกับเหตุการณ์ที่เกิดกับคนมุสลิมดังกล่าว 2. บุคลากรของคนมุสลิมไม่ว่าด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมมีความพร้อม 3. ทรัพย์ยากรอาจมีน้อยแต่สามารถระดมทุนเพื่อแปรสภาพเป็นพรรคมวลชนได้ 4. สถานภาพประเทศอาเซียนและโลกส่งเสริมเอื้ออำนวยโดยเฉพาะอาเซียนเมื่อรวม 10 ประเทศ เป็นประเทศมุสลิมเกินครึ่งของประชากร โดยเฉพาะมาเลเซีย อินโดนีเซีย สามารถสร้างพันธมิตรทางการเมืองง่าย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิม 5. ประเทศไทยคนเริ่มเบื่อการเมืองแบบน้ำเน่ากล่าวคือซื้อเสียงเข้าไปเพื่อฉ้อโกงถอนทุนแนวโน้มอาจมีพรรคทางเลือก 6. เรามีพรรคการเมืองของประเทศมาเลเซียเป็นต้นแบบได้ระดับหนึ่ง ข้อเสนอแนะที่น่าจะทำให้ได้รับความนิยม 1. ต้องใช้รูปแบบอัล-อิสลาม ถึงไม่ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องมีแบบที่จะให้ถึง เช่น 1.1 ใช้รูปแบบทีเกี่ยวกับชุมชนและอัลกุลอ่านที่เกี่ยวกับการเมือง 1.2 ทุกคนที่ทำการเมืองต้องทำอย่างอิกลาค อยากเห็นรูปแบบที่ได้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ตามปรัชญาของอิสลาม 1.3 ค่าใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์คืองานซาบิล เพื่อลูกหลานคนด้อยโอกาส คนอ่อนแอ และเพื่องานเผยแพร่ของอัลเลาะห์ 1.4 จริงใจจริงจังตามแบอิสลาม คือมีสัจจะและใช้สติปัญญา 2. ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และองค์กร ทำงานเพื่อมนุษยชาติและอัลเลาะห์ 3. ความเป็นอยู่ประหยัดเสมือนคนธรรมดาไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ้มเฟือย 4. ใช้มัสยิดเป็นที่ซูรอ 5. กลุ่มคนที่ควรชักชวน - โต๊ะครู ผู้นำด้านศาสนา - กรรมการอิสลามประจำจังหวัด - นักธุรกิจผู้มีอาชีพอิสระ - ข้าราชการหรืออดีตข้าราชการ - บุคคลทั่วไปที่สนใจในการเมือง วิธีดำเนินงาน 1. รวบรวมอายะ(อัลกุรอาน) ฮาดิส ที่เกี่ยวกับการเมือง การบริหารรูปแบบที่ส่งเสริมให้มีความสำนึกในอิสลาม และเพื่อประชาชนโดยทั่วไป โดยใช้เป็นธรรมนูญของพรรคและสมาชิก 2. จัดทำหนังสือ 3. ประสานงานกับกลุ่มเพื่อนมุสลิมทุกคน ทุกพรรคการเมืองไม่แตกแยก 4. สร้างต้นแบบของพรรคในการบริหาร หาสมาชิกเขตละ 10,000 คน เขตหลักที่เป็นมุสลิม หรือไม่ใช้มุสลิม โดยใช้กลุ่มคนในข้อ 5 กลุ่มละ 20,000 คน ไม่ยุ่งยากเกินไป 5. งบประมาณปีละ 1,000,000 บาท จาก - พวกเราซึ่งบริจาคกันเอง - รับบริจาคอย่างเปิดเผย - สภาธุรกิจ (ถ้ามีโอกาส) - องค์กรการกุศล นี่คือทัศนะส่วนหนึ่งของอดีตสว. มุสลิมที่ปัจจุบันหันเอาดีทางการศึกษา ภาพความร่วมมือการวางศิลาฤกษ์ Islamic Asian College of Science and Technology ระหว่างมูลนืธิดารุลนาอีมประเทศไทยและมหาวิทยาลัยต่างๆของมาเลเซีย ณ ตำบลสะกอม อำเภอ เทพา จังหวัดสงขลา เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112