Back

เปิดโปงขบวนการงาบงบฯ พัฒนาจังหวัดเชียงราย ปี 2555

24 August 2012

1062

เปิดโปงขบวนการงาบงบฯ พัฒนาจังหวัดเชียงราย ปี 2555
แฉมหกรรมงาบงบประมาณแผ่นดินในแผนพัฒนาจังหวัดที่นักการเมืองสยายปีกงาบงบ ประมาณกันแทบสำลัก ซึ่งประเด็นนี้กลับไม่มีใครตีแผ่ ดังนั้น ขบวนการงาบงบแต่ละจังหวัดจึงยังกินกันโจ่งครึ่ม ไม่สนใจสายตาประชาชน บางจังหวัดอย่างพื้นที่จังหวัดเชียงรายก็ล้วนแต่เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่กำลังงาบงบประมาณ หรือเอางบทั้งจังหวัดไปลงเจาะจงเฉพาะพื้นที่คะแนนเสียงของตน  อาทิ ส.ส. นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ พรรคเพื่อไทย ก็เอางบ ประมาณไปลงโครงการตนเองถึง  15 ล้าน จากทั้งหมด 18 ล้าน เหลือ  3,550,000 ให้ชลประทานจังหวัดเอาไปตามแผนปกติซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการใช้ เงินกันอย่างสนุกมือ และแน่นอนเร็วๆ นี้ ถ้าปิดงบประมาณประจำปีแล้วใครหละจะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่าขบวนการผลาญงบประมาณแผ่นดิน ว่าที่สูบดึงไปนั้น ได้ดำเนินการคุ้มค่าแค่ไหน ? ถึงไหน ?  นอกจากนายถาวร แล้วยังมี ของ น.ส.ละออง ติยะไพรัช  จากพรรคเพื่อไทย                ได้ไป 6,393,740 บาท และคนที่เยอะที่สุดในปีนี้ คือ นายอิทธิเดช แก้วหลวง  จากพรรคเพื่อไทย  เช่นกัน ได้ไป 9,429,240 บาท  นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์  จากพรรคเพื่อไทย  มีโครงการเดียว   1,050,000 บาท และ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน จากพรรคเพื่อไทย โครงการเดียว เช่นกัน แต่มากถึง  3,150,000 บาท รวมงบประมาณที่ ส.ส. นำไปถลุงในพื้นที่ส่วนตัว  ทั้งสิ้น  23,572,980 บาท  จากทั้งหมด 30,078,070 บาท ซึ่ง เหลือเป็นงบประมาณให้จังหวัดบริหารตามปกติ  จริงๆ  เพียง  6,505,090 บาทเท่านั้น วันนี้ อยากปลุกขบวนการประชาชนที่ต้องการให้คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการพัฒนาจากรัฐ อย่างเท่าเทียมเป็นธรรม ที่ต้องการให้เงินภาษีไม่รั่วไหลหรือไปกระจุกอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อ ผันไปสู่พวกพ้อง ฐานเสียงของตน อยากขอแรงพี่น้องคนไทย ช่วยกันจับตามองทุกหน่วยงานทั้งราชการ อบต. อบจ. เทศบาล และส่งข้อมูลการอุบอิบ ยักยอกโดยมิชอบ มาร่วมตีแผ่ ประจานให้ทุกคนในสังคมได้เห็นและรับรู้ร่วมกันครับ

……………………………

ตารางแสดงหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

1. โครงการส่งเสริมการสร้างสมดุลระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพแบบบูรณาการ 30,078,070 บาท
1. ส่งเสริมการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่และแหล่งรองรับน้ำ 1.1 ปรับปรุงแม่น้ำ คูคลองธรรมชาติในเขตเมืองและชุมชนให้มีความสามารถในการรับน้ำและการระบายน้ำ – ขุดลอกลำเหมืองใหม่  หมู่ 14 ต.ป่างิ้ว – ขุดลอกลำเหมืองป่าสัก หมู่ 2 ต.ป่างิ้ว – ขุดลอกห้วยป่าคลั่ง บ้านเด่นศาลา หมู่ 3 – หมู่ 5 ต.สันสลี – ขุดลอกลำน้ำลาว หมู่ 2 ต.แม่เจดีย์ – ขุดลอกบดอัดคันดินอ่างเก็บน้ำห้วยตาด หมู่ 15 ต.แม่เจดีย์ – ขุดลอกแม่น้ำลาว/เรียงหินกันตลิ่งพัง หมู่ 1, 9 ต.แม่เจดีย์ – ขุดลอกแม่น้ำลาว หมู่ 1-4 ต.เวียงกาหลง – ขุดลอกลำน้ำลาว หมู่ 10 ต.เวียงกาหลง – ขุดลอกห้วยลังกา หมู่ 4, 5 ต.บ้านโป่ง – ขุดลอกหนองดินดำ หมู่ 4 – 5 ต.สันสลี – ขุดลอกลำห้วย หมู่ 3 ต.เวียง

15,000,000

แบ่งเป็น

1,680,000

1,410,000

1,940,000

2,000,000

1,500,000

2,000,000

1,900,000

470,000

1,000,000

444,780

655,220

ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงราย (สส.ถาวร) อ.เวียงป่าเป้า
1.2 พัฒนาพื้นที่รับน้ำให้มีศักยภาพเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและเป็นแก้มลิงในฤดูน้ำหลาก – พัฒนาพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำร่อง ต.จอมสวรรค์ อ.แม่จัน – พัฒนาพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำกก-น้ำลัด – งานอำนวยการและควบคุมงาน

3,550,000

แบ่งเป็น

2,650,000

750,000

150,000

โครงการชลประทานจังหวัดเชียงราย
2. ส่งเสริมการปลูกป่าและสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ต้นน้ำ 2.1 ฟื้นฟูบำรุงรักษาแหล่งน้ำในป่าชุมชน (บริเวณสองข้างทางของลำหวย ระยะทาง 60 กิโลเมตร ใช้กล้วย 6,000 ต้น/หมู่บ้าน รวม 180,000 ต้น) 3,150,000 สปม.2 (สส.พิเชษฐ์)
2.2 ส่งเสริมการฟื้นฟูป่าต้นน้ำอย่างเหมาะสม (พื้นที่ 1,000 ไร่) 1,575,000 สบอ.15 (สส.ละออง)
 

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

2.3 ส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำ (ฝึกอบรมสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากการชะล้างพังทลายหน้าดินให้กับ ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 1 วัน รวม 200 คน) 857,000 ทสจ.ชร. (สส.อิทธิเดช)
2.4 ปลูกป่าสร้างความชุ่มชื้นเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา 1,533,820 กองบัญชาการทหารสูงสุด (สส.ละออง)
3. ส่งเสริมการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 3.1 ส่งเสริมการปลูกไม้ใช้สอยและไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ป่าชุมชน (ฝึกอบรมการเพาะชำกล้าไม้เพื่อสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ เป้าหมาย จำนวน 4 รุ่น ๆ ละ 1 วัน รวม 200 คน) 812,000 ทสจ.ชร. (สส.อิทธิเดช)
3.2 สนับสนุนการจัดตั้ง Bio Bank (จัดทำแนวกันไฟ จำนวน 30 หมู่บ้าน ๆ ละ 5 กม. รวม 150 กิโลเมตร) 1,890,000 สปม.2 (สส.อิทธิเดช)
3.3 ส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้เฉพาะถิ่น/ไม้ประจำจังหวัด พันธุ์ไม้หายากให้กับประชาชน (จำนวน 800,000 กล้า) 784,000 สบอ.15 (สส.อิทธิเดช)
4. ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 4.1 การศึกษาระบบปลูกพืชที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝนและสภาพพื้นที่ 620,000 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย
5. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 306,250 ทสจ.ชร.
2. โครงการปรับปรุงดินด้วยเกษตรธรรมชาติ 3,478,800 บาท
1. สร้างจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อม 1.1 จัดกิจกรรมรณรงค์การลดการใช้สารเคมีในพื้นที่นำร่อง 400,000 มูลนิธิกระจกเงาร่วมกับทสจ.ชร. สส.รังสรรค์
2. พัฒนาความรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ 2.1 ฝึกอบรมและศึกษาดูงาน 32 รุ่น ๆ ละ 2 วัน รวมเกษตรดูงาน 800 คน 631,600 ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย สส.ละออง
2.2 จัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม 650,000 สส.รังสรรค์
2.3 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างจิตสำนึก 376,000 สส.ละออง
2.4 การติดตามนิเทศงานแปลงเกษตรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม 342,400 สส.ละออง
 

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

3. ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่าย เกษตรธรรมชาติ 3.1 สาธิตการปรับปรุงดินด้วยชีววิธี 450,000 สถาบันการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
4. ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 4.1 การศึกษาความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีในแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 500,000 สถาบันการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
5. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 128,800 ทสจ.ชร.
3. โครงการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ 16,727,200 บาท
1. การจัดการความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วน 1.1 ศึกษาระบบนิเวศลำน้ำในท้องถิ่น (ลำน้ำเป้าหมาย 2 แห่ง น้ำคำ น้ำจัน ผู้เข้าร่วมแห่งละ 100 คน) 1,000,000 ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงราย สส.ละออง
1.2 สร้างผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมในระดับหมู่บ้าน – เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ บริหารท้องถิ่นและสมาชิกท้องถิ่นของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล 1) เจ้าหน้าที่จากเทศบาล จำนวน 51 เทศบาล ๆ ละ 2 คน 2) เจ้าหน้าที่จากอบต. จำนวน 92 อบต. ๆ ละ 2 คน รวมเจ้าหน้าที่ 286 คน   590,000   สำนักงานปกครองท้องถิ่นจังหวัด เชียงราย
   – สร้างผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมในระดับหมู่บ้าน (เป้าหมายผลผลิต คือ เกษตรกร บุคลากรภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 32 คน) 921,038 สถาบันการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน (เป้าหมาย ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 2 อำเภอเป้าหมาย สามารถลดปริมาณขยะชุมชนได้ร้อยละ 5 โดยส่งเสริมการจัดระบบคัดแยกวัสดุรีไซเคิลในชุมชน และเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดขยะ) 766,750 ทสจ.ชร.
1.4 ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน 1,450,000 ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับ เครือข่ายลุ่มน้ำ

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

1.5 ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้โดยการมีส่วนร่วม – จัดเวทีประชาคมโดยการมีส่วนร่วม (ประชาคมจำนวน 5 ครั้ง แก่ราษฎรกลุ่มหมู่บ้านเป้าหมาย 500 คน)   100,000   สบอ.15
   – เพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้  (ส่งเสริมราษฎรกลุ่มหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 10 หมู่บ้านเป้าหมาย ปฏิบัติงานเฝ้าระวังคุ้มครองเก็บข้อมูลสำคัญบริเวณพื้นที่ป่าหมู่บ้าน จำนวน 30 ป่า) 2,750,000 สบอ.15 สส.อิทธิเดช
   – สำรวจและจัดทำผังชุมชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้การอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชุมชน และจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน (จำนวน 30 หมู่บ้าน) 480,000 สปม.2
2. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.1 การวิเคราะห์และแปลภาพถ่ายทางอากาศเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดเชียงราย (1 ฐานข้อมูล) 1,086,080 ทสจ.ชร. ร่วมกับ GISTDA
2.2 การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการบริหารจัดการและระบบเตือนภัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1,300,000 สำนักงานจังหวัดเชียงราย
2.3 ศึกษาเรียนรู้ร่วมกับชุมชนในการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์พืช สัตว์และภูมิปัญญาท้องถิ่น – การจัดเวทีชี้แจงทำความเข้าใจ (มีผู้เข้าร่วมจำนวน 300 คน จาก 6 ตำบล) – การฝึกอบรมอาสาสมัครร่วมสำรวจ (ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมตำบลละ 10 คน/ตำบล) – การสำรวจพืช สัตว์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น (ฐานข้อมูลด้านพืช สัตว์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบเอกสาร) – จัดทำศูนย์การเรียนรู้ (แหล่งเรียนรู้ในป่าชุมชนตำบลละ 1 แห่ง รวม 6 แห่ง) – จัดทำคู่มือและบทปฏิบัติการในแหล่งเรียนรู้ (คู่มือและบทปฏิบัติการในแหล่งเรียนรู้ จำนวน 6 แห่ง)     286,000 189,200 1,520,000   621,000 229,800 ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
   

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

2.4 ศึกษาเรียนรู้ร่วมกับชุมชนในการจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ – สร้างกระบวนการเรียนรู้วิธีการสำรวจร่วมกับชุมชน – สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายของชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิตในน้ำด้านพืช และสัตว์น้ำ (6 แหล่งน้ำ 6 ฐานข้อมูล) – ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมง (สร้างสมดุลแหล่งน้ำ 6 แห่ง ปล่อยพันธุ์ปลาแห่งละ 30,000 ตัว มีฐานข้อมูลแหล่งน้ำ 6 แห่ง)     40,000 300,000   460,000 สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย
2.5 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลแหล่งน้ำระดับท้องถิ่น (2 ลำน้ำ: น้ำลาว, น้ำจัน)   421,460   คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย
   – สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษ (ข้อมูลตาม พรบ.สิ่งแวดล้อม) 461,000 สถาบันการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
   – สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาดินถล่ม 500,000 ปภ.ชร.
3. การรณรงค์ สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.1 อาสาสมัครพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ – จัดค่ายอาสาสมัครเด็กและเยาวชนเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (จัดฝึกอบรมให้กับเด็กเยาวชน จำนวน 5 รุ่น ๆ ละ 50 คน รวม 250 คน) – จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปในสังคมได้มี โอกาสและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมผ่านการทำกิจกรรมร่วม กันกับเด็กและชุมชนอย่างต่อเนื่อง     280,000   220,000     ปภ.ชร.ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา   ปภ.ชร.ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา
3.2 จัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชนพื้นที่เสี่ยงภัยและจัดกิจกรรมฝึกซ้อมแผนป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มอาสาสมัครฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 18 พื้นที่ ๆ ละ 100 คน 500,000 ปภ.ชร. สส.อิทธิเดช

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

4. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 254,892 ทสจ.ชร.
4. โครงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากวิกฤตหมอกควัน 5,840,000 บาท
1. พัฒนาระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศ 1.1 พัฒนาระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศ 500,000 สถาบันการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชมงคงล้านนา
2. สร้างเครือข่ายปลอดการเผาในพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่อนุรักษ์ 2.1 เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการเผาในป่าอนุรักษ์ – จัดเวทีประชาคมป้องกันไฟป่าโดยการมีส่วนร่วม  (จัดเวทีประชาคม จำนวน 10 ครั้งแก่ราษฎรกลุ่มหมู่บ้านเป้าหมาย 1,000 คน)   165,000

สบอ. 15

สบอ. 15

สส.ละออง

สส.ละออง

   – จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการเผาในพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (ส่งเสริมหมู่บ้านเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันไฟป่า จำนวน 20 หมู่บ้านเป้าหมาย เฝ้าระวังการเผาในพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 30 ป่าปฏิบัติงาน 90 วัน) 2,303,740
3. สร้างเครือข่ายปลอดการเผาในพื้นที่เกษตร    – พัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้การจัดการฟางข้าวแบบครบวงจร จำนวน 10 ชุมชน ชุมชนละ 1 แปลง ๆ ละ 5 ไร่ 220,000

สำนักงานเกษตรจ.ชร.

สส.อิทธิเดช

   – สร้างเครือข่ายเกษตรจัดการฟางข้าวแบบครบวงจร (จำนวน 10 รุ่นๆ ละ 50คน) 357,000
4. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนในชุมชน 4.1 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนในชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงราย

สส.อิทธิเดช

   – สำรวจศักยภาพด้านพลังงานทดแทน เพื่อคัดเลือก อปท.เป็นชุมชนนำร่องของแต่ละอำเภอ จำนวน 1 ชุมชน/อำเภอ 128,100  
   – จัดประชุมชี้แจงโครงการกับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 ครั้ง โดยแยกตามกิจกรรมที่อปท.เข้าร่วม 1) ด้านก๊าซชีวภาพ จำนวน 5 อปท. รวม 50 คน 2) ด้านเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง จำนวน 5 อปท. รวม 50 คน 3) ด้านเชื้อเพลิงอัดแท่ง 4 อปท. รวม 40 คน 4) ด้านเตาชีวมวล(เตาแกลบ) จำนวน  4 อปท. รวม 40 คน 115,400
 

ที่

โครงการ/แผนงาน

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยดำเนินการ

   – จัดอบรมสร้างฐานอาชีพ  ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ   จำนวน 4 ครั้ง โดยแยกตามกิจกรรมที่อปท. เข้าร่วม 1) ด้านก๊าซชีวภาพ จำนวน 5 อปท.ๆละ10 คน รวม 50 คน 2) ด้านเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง จำนวน 5 อปท.ๆละ 20คน รวม 100 คน 3) ด้านเชื้อเพลิงอัดแท่ง 4 อปท.ๆละ10 คน รวม 40 คน 4) ด้านเตาชีวมวล(เตาแกลบ) จำนวน 4 อปท.ๆละ10 คน รวม 40 คน 665,400

สำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงราย

สส.อิทธิเดช

   – ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านพลังงาน (จำนวนทั้งสิ้น 13 กลุ่ม) 1) ด้านเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง 1 กลุ่ม/อปท.รวม 5 กลุ่ม 2) ด้านเชื้อเพลิงอัดแท่ง 1 กลุ่ม/อปท.รวม 4 กลุ่ม 3) ด้านเตาชีวมวล(เตาแกลบ) 1 กลุ่ม/อปท.รวม 4 กลุ่ม 350,340
5. ลดปริมาณการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ 5.1 เพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศจากภาคขนส่ง 525,000 สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย
5.2 ส่งเสริมการปรับแต่งเครื่องยนต์ในภาคขนส่ง 300,000 สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย
6.การติดตามประเมินผลฯ 164,020 ทสจ.ชร.

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112