Back

แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กโดยชุมชน ของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก

3 September 2012

2109

แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กโดยชุมชน ของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก
แผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กโดยชุมชน  ของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ประกาศรับข้อเสนอโครงการ (Proposals) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างศักยภาพชุมชนและองค์กร (GEF SGP Stakeholders Workshop) I. บทนำ : แผน สนับสนุนโครงการขนาดเล็กโดยชุมชน ของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility’s  Small Grants Programme หรือ ที่เรียกกันสั้นๆว่า GEF SGP)  เป็นแผนที่ให้การสนับสนุนการเงินให้ชุมชนในประเทศก าลังพัฒนา ผ่านการบริหารขององค์กรประชาสังคม และ องค์กรชุมชน เพื่อให้ชุมชนและองค์กรสามารถด าเนินโครงการสิ่งแวดล้อมในขอบข่ายสิ่งแวดล้อมของ GEF อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ  ความหลากหลายทางชีวภาพ ดินเสื่อมโทรม แหล่งน ้าสากล และสารเคมีที่เป็นอันตราย  โดยโครงการเหล่านี้ต้องแสดงผลลัพธ์ที่ชัดเจนด้านสิ่งแวดล้อมในขอบข่ายดัง กล่าว  ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนช่วยลดความยากจน และ ช่วยสร้างศักยภาพ และ ความสามารถของท้องถิ่นด้วย  โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)  เป็นองค์กรก ากับดูแล GEF SGP GEF SGP ด าเนินงานแบบกระจายอำนาจ โดยให้ความสำคัญกับประเทศที่เข้าร่วมกับแผนฯ  มีผู้ประสานงานระดับชาติ (National Coordinator หรือ NC) คอยประสานงานรับแนวความคิดโครงการ และ ข้อเสนอโครงการจากองค์กรฯ แล้วส่งให้คณะกรรมการก ากับดูแลระดับชาติ (National Steering Committee หรือ NSC ) พิจารณาตรวจสอบและอนุมัติ      NSC ประกอบไปด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง  จากสถาบันการศึกษา จากองค์กรประชาสังคม  ซึ่งมีจิตอาสาและเสียสละเวลาช่วยดูแลก ากับการด าเนินการของแผนฯ     เมื่อ NSC อนุมัติแล้ว ก็จะมีการลงนามในข้อตกลง (Memorandum of Agreement หรือ MOA)  และมีการโอนเงินเป็นงวดๆให้กับองค์กรประชาสังคมที่ได้รับการอนุมัติโครงการ ประเทศไทย เข้าร่วมกับแผนฯ มาตั้งแต่ปี 1994 GEF SGP ให้ความส าคัญเป็นอันดับต้นๆ ต่อชุมชนที่มีรายได้น้อย และ มีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ สังคม   รวมทั้งให้ความส าคัญกับภาคส่วนต่างๆในชุมชน  เช่น  กลุ่มผู้หญิง  กลุ่มผู้ด้อยโอกาส   กลุ่มวัฒนธรรม/ขนกลุ่มน้อย  และ กลุ่มเยาวชน   ดังนั้น GEF SGP  จึงเห็นความจ าเป็นเร่งด่วนในการสร้างศักยภาพของชุมชน และ ภาคส่วนที่อยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างเปราะบางเหล่านี้  ขณะเดียวกัน องค์กรประชาสังคมที่ท างานร่วมกับชุมชนเหล่านี้ก็ควรจะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ไปพร้อมกัน   ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรชุมชน และ องค์กรประชาสังคม สามารถเขียน ข้อเสนอโครงการ (Project Proposal)  และ ด าเนินโครงการอย่างราบรื่น และ ยั่งยืน จริงอยู่ แม้ว่าโครงการที่เคยได้รับการสนับสนุนจาก GEF SGP จะมีกิจกรรมสร้างศักยภาพเป็นส่วนประกอบอยู่แล้วทุกโครงการ (ในงบประมาณ 10-40 % ของงบแต่ละโครงการ)  แต่ กิจกรรมสร้างศักยภาพในภาพรวมผ่านโครงการ Stakeholders Workshops  จะช่วยให้ค าแนะน าเพิ่มเติมต่อองค์กรชุมชน/องค์กรประชาสังคม  ช่วยให้กิจกรรม และ ผลลัพธ์ของโครงการมีความเข้มข้น ประสบการณ์ผ่านการสังเคราะห์ เป็นระบบและขั้นตอน น าไปสู่การจัดการความรู้ และ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อขยายผล อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป้าประสงค์ของการให้ทุน องค์กรประชาสังคมที่มีประสบการณ์ตรง ท าโครงการ Stakeholders Workshop ใน OP5  ก็คือ  “เพื่อเสริมศักยภาพของชุมชน และ ขององค์กรประชาสังคมให้มั่นคงยิ่งขึ้น เพื่อให้มีส่วนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โลก” ดังนั้นทุนที่ GEF SGP ให้ด าเนินโครงการ Stakeholders Workshops  จะต้องเสริมศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้มีศักยภาพในกิจกรรมหลักๆดังต่อไปนี้ 1. การมีส่วนร่วมในการเจรจา  ปรึกษาหารือ  เพื่อแก้ปัญหา  วางแนวทางปฏิบัติ ในการพัฒนาท้องถิ่น  และ ระดับทีสูงขึ้นไป 2. ประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง 3. แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ตามขอบข่ายสิ่งแวดล้อมของ GEF เพื่อหนุนเสริมบทบาทและ หน้าที่ของรัฐบาลที่มีต่อ GEF 4. ตรวจสอบ และ ประเมินผลกระทบและแนวโน้มการเปลี่ยนแปงด้านสิ่งแวดล้อม (โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบและแนวโน้มที่เกิดจากโครงการโดยตรง  และ เกิดนอกพื้นที่โครงการในทุกระดับ              โดยร่วมมือกับองค์กรประชาสังคมต่างๆ    ในประเทศ   สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ II. โครงกำรประชุมเชิงปฏิบัติกำร เพื่อสร้ำงศักยภำพชุมชน และ องค์กร(Stakeholders Workshop): กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ 1. ผู้น าชุมชน และ ผู้แทนองค์กรประชาสังคมในท้องถิ่น  ที่ก าลังประสบกับการเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นตามขอบข่ายทั้ง  5 ของ GEF  และต้องการแก้ปัญหาเหล่านั้น  (ณ ปัจจุบัน มีองค์กรจ านวนหนึ่ง ได้ยื่นเสนอแนวความคิดต่อ GEF SGP แต่องค์กรผู้เสนอโครงการ Stakeholders Workshop  ต้องหาผู้แทนจากกลุ่มที่ด้อยโอกาสอื่นๆเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม เช่นกลุ่มผู้ใช้แรงงานปั่นสามล้อเลี้ยงชีพ ) 2.  บุคคลทั่วไป ที่อาจยังไม่พร้อมที่จะด าเนินโครงการในพื้นที่  แต่ต้องการสร้างความตระหนัก และ ให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม  และ รวมถึงเจ้าพนักงานของรัฐที่เป็นกรรมการ/คณะท างานด้านสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ 3. ผู้น าโครงการในปีที่ 1 ของ OP 5  จ านวน 8 โครงการ ที่พึ่งเริ่มต้นด าเนินกิจกรรมในเดือนสิงหาคม 2555  ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วม และ ได้รับค าแนะน า ในการด าเนินโครงการด้วย ลักษณะพิเศษขององค์กรที่สามารถยื่นข้อเสนอโครงการStakeholders Workshop 1.ต้องเป็นองค์กรประชาสังคมที่มีประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้   หรืออย่าง น้อย ต้องเป็นองค์กรที่มีศักยภาพในการรวบรวมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และ ประสบการณ์ตรงให้เข้ามารวมตัวกันท างานนี้   ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ นี้ต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของ GEF   การพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม    การออกแบบ  และ จัด Workshops   การติดตามผลหลังจาก Workshop  (เพื่อติดตามดูว่า ชาวบ้านเขียน Proposal ได้หรือไม่   ทำงานได้ราบรื่นหรือไม่ ฯลฯ )   พร้อมทั้งรวบรวมอุปกรณ์ /เอกสารที่เหมาะสมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.  องค์กรประชาสังคมระดับนานาชาติ หรือ NGO ระดับ  Inter  เสนอไม่ได้  แต่เข้าร่วมเป็น ภาคีได้ การออกแบบกิจกรรม และ เนื้อหาของ Stakeholders Workshop องค์กร ประชาสังคมที่สนใจรับทุนด าเนินกิจกรรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ควรติดต่อผู้ประสานงาน GEF SGP เพื่อศึกษา ยุทธศาสตร์ของโครงการ (Country Programme Strategy)และล าดับขั้นตอนของการสนับสนุน  เพื่อที่น าไปสู่ 1.การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมประชุมซึ่งจะต้องจัดประมาณ 4-5  ครั้ง ตลอดอายุโครงการ 2.การพัฒนากระบวนการประเมินความต้องการของการพัฒนาด้านความรู้ และ ศักยภาพ (ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการ Start-up โครงการ ) 3. ออกแบบหลักสูตรของการประชุมเชิงปฏิบัติการ (อาจมีการปรับปรุงเพิ่มเติม โดยใช้ผลลัพธ์ในข้อ 2 เป็นบรรทัดฐาน)  ซึ่งจะมีเนื้อหาหลักดังต่อไปนี้: • อนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อม (Rio Conventions และ Conventions หรือ   Agreements  ต่างๆ ที่ประเทศไทย มีภาระผูกพัน ต้องปฏิบัติตาม) • GEF Focal Areas • กระบวนการปรึกษาหารือ เพื่อน าไปสู่การออกแบบโครงการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การท าให้โครงการเป็นโครงการของชุมชน ซึ่งรวมเอาประเด็นของบทบาทหญิงชาย และ กลุ่มเยาวชนเข้าไว้ในโครงการ • การปรับปรุงแนวความคิดโครงการ ให้เป็นข้อเสนอโครงการที่สมบูรณ์ • การจัดการโครงการ  และ การด าเนินกิจกรรม • การค านวณงบประมาณ  และ การจัดการด้านบัญชี • การประชาสัมพันธ์ และ การจัดการความรู้ (เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อส่งเสริมงานพัฒนา เพื่อให้ข้อมูลกับกระบวนการวางแผนนโยบายพัฒนาระดับชาติ (เกี่ยวข้องกับข้อความในข้อ 1 ของหน้า 2 ) 4. จัดหาทีมผู้ฝึกอบรม (Trainers) และ ทีมสนับสนุนด้านวิชาการ (Resources persons)  เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง (ประมาณ 4-5 ครั้ง ตามความเหมาะสม)   และติดตาม ประเมินผล หลังจาก โครงการสิ้นสุดลง 5. ผลิตวัสดุ และ อุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม 6. รวบรวมผู้เชียวชาญ/ผู้มีประสบการณ์ด้านวิชาการให้เป็นเครือข่ายอาสาสมัคร ซึ่งจะสมารถให้ค าแนะน าได้เมื่อมีการร้องขอ 7. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามที่ได้ออกแบบ และ วางแผนไว้ 8. พัฒนาระบ หรือ กลไก เพื่อประเมินผลของความส าเร็จในการสร้างศักยภาพ คุณลักษณะพิเศษ ในการด าเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ  ที่น่าพิจารณา  มีดังต่อไปนี้: 1)   การมีส่วนร่วมจากบรรดาผู้มีประสบการณ์ตรง  อาทิ  ผู้น าโครงการที่เคยได้รับการสนับสนุนจาก GEF SGP   และ  ถ้ามีงบประมาณ และ เวลาพอ ก็ให้มีการเดินทางไปเยี่ยมเยียนโครงการที่ประสบผลส าร์จ 2)   การมีส่วนร่วมจากพนักงานจากองค์ของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่ ในการอนุญาต ตั้งเรื่อง หรือ เสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง  หรือสามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติต่างๆของรัฐ   และควรมีเป้าเอาพนักงานเหล่านี้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรและเครือข่ายต่อไปด้วย 3)   ตรวจสอบให้แน่ใจว่า กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นต้องใช้ภาษาที่ชาวบ้านเข้าใจได้  ไม่ควรใช้ค า หรือ วิธีการค านวณที่ซับซ้อนเกินไป 4)   การเลือกตัวแทนองค์กรชาวบ้านหรืองค์การประชาสังคมเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติ การฯ ต้องดูจากแนวความคิดโครงการที่ยื่นเสนอมา  ควรตรวจสอบให้แน่ว่า ชาวบ้านจริงใจพร้อมที่จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จริงๆ และ ต้องออกแบบให้มีการปรับปรุงแนวความคิดโครงการให้เป็นข้อเสนอโครงการที่ สมบูรณ์ 5)    การใช้เวทีของการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกว่าเดิมกับเจ้าพนักงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติการตามอนุสัญญาต่างๆ 6)   การมีส่วนร่วมจาก คณะกรรมการก ากับดูแลโครงการ (NSC) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรึกษาหารือ หรือการระดมความคิดเพื่อหนุนเสริมนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ  เพื่อที่ว่าข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการด าเนินงานของ GEF SGP จะถูกเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง และ ตรงตามประเด็นที่วางแผนไว้ ผลที่คำดว่ำจะได้รับ การ ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ จะต้องส่งผลให้มีการสร้าง และ เสริมศักยภาพ ใน 4 ประเด็นตามที่กล่าวไว้ในบทน า      ตัวชี้วัดความส าเร็จของโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ  อย่างน้อยที่สุด ควรประกอบไปด้วย 1)  ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจชัดเจน มองภาพสู่การปฏิบัติจริงได้ ในเรื่องขอบข่าย   สิ่งแวดล้อมทั้ง 5 ของ GEF และ อนุสัญญาต่างๆ 2) ผู้เข้าร่วมน าความรู้จากข้อ 1) ออกสู่การปฏิบัติจริง  ซึ่งประเมินได้จาก ความสามารถ  ในการปรับปรุงแนวความคิดโครงการ เป็นข้อเสนอโครงการที่สมบูรณ์ได้  หรือ  ความสามารถในการได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกระบวนการปรึกษาหารือ ระดมความคิด เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับต่างๆ 3)  มีการทดสอบ และ พัฒนาสื่อของการเรียนรู้ที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และ ใช้ได้จริง 4) มีเอกสารต่างๆ รูปภาพ วีดีทรรศน์  ซึ่งผู้ที่ได้ท าโครงการโดยตรง น ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5)  มีการจัดตั้งเครือข่ายของทีมสนับสนุนด้านวิชาการ หรือ ด้านการจัดการองค์กร เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน 6)  มีการริเริ่มเพื่อที่จะจัดตั้งเครือข่ายของผู้เข้าร่วมประชุมฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ บทเรียน อย่างต่อเนื่อง 7)  มีการประเมินผลของการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ พร้อมทั้งมีการพัฒนากลไกประเมินความก้าวหน้า 8) กลไกประเมินความก้าวหน้า ด าเนินการต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุน และ แนะน าในการแก้ไขปัญหา หลังจาก โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสิ้นสุดลง  งบประมาณ งบประมาณส าหรับโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการตามรายละเอียดที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ ไม่เกิน  $ 50,000 องค์กร ผู้เสนอควรให้รายละเอียดของงบประมาณที่จะเสนอ (Budget Breakdown) ซึ่งประกอบไปด้วย  การเตรียมการก่อนจัดการประชุม  ค่าเดินทางของผู้ที่ถูกคัดเลือกเข้าร่วม และของ วิทยากร  ค่าเช่าสถานที่  ค่าอาหาร  ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  รวมทั้ง กิจกรรมติตามประเมินผลหลังจาก การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ สิ้นสุดลง นอก จากนี้  องค์กรผู้เสนอ ต้องจัดหางบประมาณมาสมทบด้วย  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงินสด (in cash) หรือในรูปของทรัพย์สิน เวลา และ แรงงาน (In kind)  องค์กรใดที่สามารถหางบสมทบได้มาก จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ  แหล่งของงบสมทบอาจมาจากงบหรือทรัพย์สินขององค์กรเอง  หรือจากองค์กรเครือข่าย  จากโครงการอื่นๆ  จากผู้ให้ทุนรายอื่น  จากสถาบันการศึกษา หรือแม้แต่จากหน่วยงานภาครัฐ   ไม่ควรจ้างที่ปรึกษาต่างชาติ (Consultants) ที่มีรายได้สูงๆ   นอกเสียจากว่า จะสมัครใจเป็นอาสาสมัครในโครงการโดยไม่ขอรับค่าจ้าง   ควรเลือกผู้เชี่ยวชาญจากองค์ภายในประเทศซึ่งสังกัดอยู่กับองค์กรทั้งภาครัฐ และ เอกชน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และ เพื่อสร้างพันธมิตรและส่งเสริมความร่วมมือระดับองค์กรระดับประเทศต่อไปใน อนาคต องค์กรที่สนใจ และ ต้องกำรรำยละเอียดเพิ่มเติม กรุณำติดต่อ ผู้ประสำนงาน แผนสนับสนุนโครงกำรขนำดเล็กโดยชุมชน  กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ชั้น 12 ตึกองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก   กทม 10200 โทรศัพท์ 02 304-9100  ต่อ 1820 หมำยเหตุ: ปิดรับข้อเสนอโครงกำรในวันที่ 15 กันยำยน  2555

About Us

เว็บไทยเอ็นจีโอ สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และเผยแพร่แนวคิดวัฒนธรรมเสรี เนื้อหาในเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอดอทโออาจี ท่านสามารถเอาไปใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงท่านระบุที่มาและห้ามทำการค้า

ThaiNGO Team

ติดต่อประสานงาน - Contact
Tel : 099-014-3797

ทศพร แกล้วการไร่ : ผู้ดูแลเว็บ - Webmaster
Tel : 080-078-4016

อัฎธิชัย ศิริเทศ : บรรณาธิการ - Editor
Tel : 082-178-3849

Email : webmaster@thaingo.org

Office Hours : Mon-Fri , 9.00-17.00

Contact Info

2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310

2044/23 New Phetchaburi Road, Bangkapi, Huai Khwang, Bankok 10310

+662 314 4112