: Oxfam in Thailand
: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
: 928
: 9 June 2021
25 June 2021
Terms of Reference (TORs)
เพื่อการจัดจ้างนักวิจัยหรือคณะผู้วิจัยเพื่อกำหนดกรอบวิธีและแนะนำแนวทางแก่สมาชิกในวงสนทนาหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Platform) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อภาคเอกชน
ข้าวโพดถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำหรับไก่เนื้อในสัดส่วนที่มากที่สุดถ้าเทียบกับอาหารสัตว์อื่นๆที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการรวบรวมงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าในปีพ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีการใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ทั้งหมดประมาณ 8,344,700.8 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.9 ทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อส่งผลให้เกิดต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของผลผลิตข้าวโพดอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผู้ผลิตอาหารสัตว์กับผู้ผลิตไก่เนื้อมักจะเป็นบริษัทในเครือ หรือบริษัทที่มีเจ้าของเดียวกัน ดังนั้นการบริโภคไก่เนื้อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของปริมาณการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องไปสู่ปัญหาหมอกควันจากการเผาไร่ข้าวโพดที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในระดับที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง ในขณะที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานทั้งอุตสาหกรรมข้าวโพดและอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อควรมีบทบาทในการลดทอนปัญหาและสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ผู้ผลิตไก่เนื้อ โรงฆ่า บริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ เป็นต้น
องค์การอ๊อกแฟมเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและมียุทธศาสตร์เฉพาะในการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งองค์การภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการแสวงหาทางออกของปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานดังกล่าว
หนึ่งในแผนการดำเนินงานขององค์การอ๊อกแฟมภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นคือการส่งเสริมให้เกิดการวงสนทนาหลายฝ่าย (Multi-stakeholder Platform) โดยองค์การอ๊อกแฟมมีความมุ่งหวังที่จะให้วงสนทนาดังกล่าวเป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาข้อเสนอแนะด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อภาคเอกชนที่มีข้อเสนอแนะจากหลากภาคส่วน โดยมีความเชื่อมั่นว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในทางออกเพื่อนำไปสู่การจัดทำแนวทางการปฎิบัติและนโยบายสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป
ด้วยเหตุนี้ องค์การอ๊อกแฟมจึงมีความประสงค์ที่จะจัดจ้างนักวิจัยหรือคณะผู้วิจัยเพื่อกำหนดกรอบวิธีและแนะนำแนวทางแก่สมาชิกในวงสนทนาหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Platform) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อภาคเอกชน ซึ่งจะกลายเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากความร่วมมือจากสมาชิกในวงสนทนาหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Platform)
ภาณุพันธุ์ สมพงษ์ – เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคเอกชน (PSompong@oxfam.org.uk)
องค์กรอ็อกแฟมมีความประสงค์ที่จะจัดจ้างนักวิจัยหรือคณะผู้วิจัยเพื่อทำการศึกษาตามประเด็นดังต่อไปนี้
ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2564–1 พฤศจิกายน 2564
No |
Activities |
Expected Output |
Delivery Date |
1 |
วิเคราะห์ปัญหาของการเผาไร่ข้าวโพด ทั้งสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายการปลูกไร่ข้าวโพดและการเผาไร่ข้าวโพดผ่านการรวบรวมจากสมาชิกของวงสนทนาหลายฝ่าย (Multi-Stakeholder Platform) |
ร่างรายงานประเด็นสำคัญที่ได้มาจากการรวบรวมจากสมาชิกวงสนทนาหลายฝ่าย |
1 กันยายน 2564 |
2 |
วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และห่วงโซ่อุปทานไก่เนื้อ |
ร่างรายงานที่ได้มาจากข้อ 1 และความเชื่อมโยงไปสู่ห่วงโซ่อุปทานไก่ |
1 ตุลาคม 2564 |
3 |
จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อภาคเอกชน |
นำข้อเสนอจากสมาชิกในวงสนทนาทั้งจากข้อ 1 และ 3 มาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อภาคเอกชน |
25 ตุลาคม 2564 |
4 |
สมาชิกในเครือข่ายพิจารณาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืนตามข้อ 3 และแสดงความคิดเห็นต่อฉบับร่าง (ถ้ามี) |
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวปฎิบัติด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อภาคเอกชนฉบับสมบูรณ์ |
1 พฤศจิกายน 2564 |
ค่าตอบแทนของนักวิจัยหรือที่คณะผู้วิจัยเป็นจำนวนเงิน XXX บาทโดยแบ่งจ่ายดังนี้
งวดที่ 1 จ่ายเป็นจำนวน 30% ของค่าตอบแทน เมื่อได้รับรายงานตามข้อ 1
งวดที่ 2 จ่ายเป็นจำนวน 30% ของค่าตอบแทน เมื่อได้รับรายงานตามข้อ 2
งวดสุดท้าย จ่ายเป็นจำนวน 40% ของค่าตอบแทน เมื่อได้รับรายงานฉบับสมบูรณ์
กรุณาส่งประวัติการทำงานและเอกสารที่เกี่ยวข้องมาที่ hr_thailand@oxfam.org.uk