: ActionAid Thailand
: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
: 1100
: 12 May 2020
25 May 2020
ประกาศรับสมัครที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก
1.ความเป็นมา
มูลนิธิแอคชั่นเอด (ประเทศไทย) ร่วมกับ สมาคมการศึกษาทางเลือกไทย และสมาคมไทบ้าน เป็นผู้ดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Building an active, networked civil society to improve delivery and access to quality education in Thailand : ACCESS EU-Education) ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม และพัฒนาศักยภาพชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการโรงเรียนในชุมชนมากขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม น่าน กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ผ่านการปรับใช้ “โมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก” เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งถึงสิทธิและบริบทพื้นฐานของเด็กในชุมชนนั้น ๆ โดยยึดแนวทางการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning) เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งถึงสิทธิและบริบทพื้นฐานของเด็กในชุมชนนั้นๆ โดย นำร่องใน 400 โรงเรียน มีระยะเวลาการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 4 ปี (พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566)
ดังนั้น ภายใต้เป้าหมายผลลัพธ์ 3.1 ของโครงการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาในการสร้างหลักฐานความรู้และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการปฏิบัติงานและสนับสนุนการรายงานโครงการและสนับสนุนโมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการฯ จึงเปิดรับที่ปรึกษาจากผู้สนใจที่เป็นนักวิชาการประจำมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อรับทุนในการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา(Baseline) และโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทยขึ้นดังกล่าว.
2.วัตถุประสงค์และขอบเขตลักษณะงานของที่ปรึกษานี้
โครงการ ACCESS EU-Education ต้องการดำเนินการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษา เพื่อสร้างหลักฐานความรู้และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการปฏิบัติงานและสนับสนุนการรายงานโครงการ จึงต้องการที่ปรึกษาให้ช่วยดำเนินการ ดังนี้ :-
2.1 เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานแนวคิด ระบบ โครงสร้าง บุคลากร และการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ยึดแนวทางการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning) ที่มีนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นฐานของเด็กในชุมชนนั้นๆ และสังคมที่เปลี่ยนแปลง
2.2 เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยการมีส่วนร่วมและหนุนเสริมขององค์กรภาคประชาสังคมในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของโรงเรียนขนาดเล็ก
2.3 เพื่อดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทบทวนวรรณกรรมรายงานการศึกษาวิจัยและการตีพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาไทย การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาเชิงนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก
3. เป้าหมาย
3.1 โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ 8 จังหวัดตัวอย่าง (ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม น่าน กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด) ที่ยึดแนวทางการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning) และมีนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
3.2 เครือข่ายภาคประชาสังคมของพื้นที่ดำเนินการของโครงการ ที่มีการสนับสนุนในการเสริมสร้างความเข็มแข็งให้โรงเรียนขนาดเล็ก
4. ขอบเขตการศึกษา
4.1 ศึกษา รวบรวมข้อมูลข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์แนวคิด ระบบ โครงสร้าง บุคลากร และการ จัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ยึดแนวทางการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning) รวมถึงนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้และเสริมสร้างความคิดของเด็กในพื้นที่ 8 จังหวัดตัวอย่าง (ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม น่าน กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด)
4.2 จัดทำรายงานสรุปสังเคราะห์ข้อมูล/ทบทวนวรรณกรรมรายงานการศึกษาวิจัยและการตีพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาไทย ปัญหาเชิงนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย การยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 70 หน้า (A4) ขึ้นไป
5. วิธีการดำเนินการ
ที่ปรึกษาวิจัยดำเนินการ ดังนี้
5.1 ศึกษา รวบรวมข้อมูลพื้นฐานระบบการศึกษาไทย การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาเชิงนโยบายต่างๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก
5.2 จัดทำเครื่องมือวิจัย
5.3 ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กตามบริบทของชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงานการศึกษา หรือองค์กรต่างๆ ในพื้นที่ 8 จังหวัดตัวอย่าง
5.4 วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการศึกษา
5.5 จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ส่งโครงการฯ
6. งบประมาณ
170,000 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
7.ระยะเวลาในการดำเนินการและการส่งมอบผลงาน
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญา
ครั้งที่ |
ระยะเวลา |
ผลงานที่ส่งมอบ |
1 |
ภายใน 3 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาจ้าง |
- รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัย Baseline ด้านการศึกษาและโรงเรียนขนาดเล็ก - เค้าโครงร่างรายงานการศึกษาวิจัยBaseline การศึกษาฉบับสมบูรณ์ |
2 |
ภายใน 5 เดือน นับจากวันลงนามในสัญญาจ้าง |
รายงานการศึกษาวิจัย Baseline การศึกษาฉบับสมบูรณ์และโรงเรียนขนาดเล็ก (Final Report) |
8. การส่งมอบผลงาน
ที่ปรึกษาต้องนำเสนอรายงานตามงวดงานในรูปแบบไฟล์ อิเล็กทรอนิกส์ Microsoft word และ ไฟล์ (.pdf) ถึง
- คุณพัชกร พัทธวิภาส (ผู้จัดการโครงการ) อีเมล: Patchgorn.pattawipas@actionaid.org
- สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (องค์กรพันธมิตร) อีเมล: taecaoffice2020@gmail.com
9.งวดการส่งมอบงานและงวดการจ่ายเงิน
การจ่ายค่าจ้างแบ่งเป็นจำนวน 3 งวด ดังนี้
- งวดที่ 1 : จ่าย 30% ของค่าจ้างทั้งหมด เมื่อที่ปรึกษาดำเนินการส่งเอกสารแผนการดำเนินงานให้แก่สำนักงานโครงการฯ และหลังจากมีการลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้ว
- งวดที่ 2 : จ่าย 50% ของค่าจ้างทั้งหมด เมื่อที่ปรึกษาดำเนินการจัดส่งรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยBaseline ด้านการศึกษาและโรงเรียนขนาดเล็ก พร้อมทั้ง เค้าโครงร่างรายงานการศึกษาวิจัยBaseline การศึกษาฉบับสมบูรณ์ และคณะกรรมการโครงการพิจารณาเห็นชอบ
- งวดที่ 3 : จ่าย 20% ค่าจ้างทั้งหมด เมื่อที่ปรึกษาได้ส่งรายงานโครงการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์และคณะกรรมการโครงการพิจารณาเห็นชอบ
10.คุณสมบัติของที่ปรึกษา
เป็นนักวิชาการ/อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับคณะ/สาขาวิชาด้านการศึกษา มีผลงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา / ปฏิรูปการศึกษา/โรงเรียนขนาดเล็ก /พัฒนาหลักสูตร/การเรียนการสอน/ พัฒนาครู/นวัตกรรมการศึกษา /ฯลฯ มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
11. ประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลจากการศึกษาจะได้โมเดลโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยยึดแนวทางการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning) และมีนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นฐานของเด็กในชุมชนนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิที่เด็กควรจะได้รับเป็นสำคัญ คือ เด็กสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพผู้เรียนได้ในอีกแนวทางหนึ่ง นำไปสู่การแก้ปัญหาเชิงนโยบายได้
12. การยื่นข้อเสนอและจัดทำเอกสารเสนองาน
12.1 ผู้ยื่นต้องจัดทำเอกสารประกอบ ดังนี้
- ประวัติบุคลากร (Curriculum Vitae) และผลงานการศึกษาวิจัยหรือประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์กับการพิจารณาคุณสมบัติ
- ข้อเสนอโครงการ ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย กรอบแนวคิดการศึกษาวิจัย ขั้นตอน วิธีการ และแผนการดำเนินงานตามภารกิจ (Task Schedule)
12.2 ส่งเอกสารทั้งหมดอีเมลถึง ผู้จัดการโครงการ ACCESS –EU Education
อีเมล : Patchgorn.pattawipas@actionaid.org
ส่งต่ออีเมลถึง : taecaoffice2020@gmail.com
ส่งเอกสารทั้งหมด ภายในวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16.00 น.
12.3 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.)
คุณเทวินฏฐ์ อัครศิลาชัย
ตำแหน่ง ผู้ประสานงานโครงการฯ
เบอร์โทรศัพท์ 081-8844062
อีเมล taecaoffice2020@gmail.com
13. ข้อสงวนสิทธิ์
ข้อมูล เอกสาร ผลการศึกษาวิเคราะห์ รายงาน และทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนระบบทั้งหมดที่ ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติงาน เป็นลิขสิทธิ์และ/หรือทรัพย์สินทางปัญญาของ “โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา” การพิมพ์ หรือดำเนินการอื่นใด เพื่อจำหน่าย ใช้ประโยชน์หรือเผยแพร่ จะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างก่อน