Back

Baseline Data Processing, Analysis, and Reporting Consultant Voice of Youth (VoY)Project

Baseline Data Processing, Analysis, and Reporting Consultant Voice of Youth (VoY)Project

: VSO

: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

: 1027

: 13 January 2021

18 January 2021

Baseline Data Processing, Analysis, and Reporting Consultant

Voice of Youth (VoY)Project

 

การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประมวล วิเคราะห์ และรายงานผลข้อมูลฐาน

โครงการเสียงเยาวชน(โวย)


 

VSO is seeking to appoint a consultant for the provision of baseline data processing, analysis, and reporting to its Voice of Youth (VoY) project. The contract will be for a period of 6 weeks.

 

องค์การหน่วยอาสาสมัครอังกฤษ(วีเอสโอ) มีความประสงค์ที่จะจัดหาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประมวล วิเคราะห์และรายงานผลข้อมูลฐานของโครงการเสียงเยาวชน (โวย) ในสัญญาระยะเวลา 6 สัปดาห์

 

Contract period: 20 January – 3 March 2021

ระยะเวลาสัญญาจัดจ้าง: 20 มกราคม – 3 มีนาคม 2564

 

  1. Background to VSO and the Voice of Youth (VoY) Project

ข้อมูลวีเอสโอและโครงการเสียงเยาวชน

Voluntary Service Overseas (VSO) has been working in Thailand for over 50 years to improve the lives of the most marginalized, and since 2013 has been implementing its Volunteering for Development (V4D) program to empower citizens, especially youth, to take part in the sustainable development of Thailand.

 

Recognizing the important role that youth can play in the development of their country, including in localizing and achieving the Sustainable Development Goals (SDGs), Voluntary Service Overseas (VSO), Puey Ungphakorn School of Development Studies (PSDS) and Why I Why Foundation (YIY) have partnered to address the challenges that hinder the ability of youth to participate and contribute through the Voice of Youth project (VoY). The project aims to improve the capacity of youth led CSOs (YLCs), empower youth as agents of change, and support them in demanding an enabling environment to participate in Thailand’s development and governance.

 

The specific objective for this project is for young people in Thailand to effectively participate in and contribute to the sustainable development and governance of their communities and country. This will contribute the project’s overall objective of young people having an enabling environment and the capacity to drive poverty and inequality reduction and the achievements of the SDGs. The action goes beyond traditional youth programming that places young people as beneficiaries, instead, the project works directly with YLCs, letting them drive the agenda and lead work in their communities, from the design to the implementation and monitoring. To do so, the action will give them the tools and knowledge to address issues that affect them, providing them the organizational and financial capacity to apply these within their communities and supporting them to create vital partnerships. The project works also links the local with the national level through youth-led advocacy and yearly conferences to promote the importance of youth participation in development and governance and highlight their contribution to the SDGs.

This is a three years project starts in January 2020 to December 2022 and working with 10 youth groups in eight provinces. In this project, youth leaders will be aged between 15 to 35, and youth community members between 11 to 35. Youth-led CSOs are originally defined as CSOs that are managed by youth, who are the primary decision-makers and drive the work. Due to the early development of youth organisation, the definition of YLC is expanded to an informal group that are led and managed by youth.

 

องค์การหน่วยอาสาสมัครอังกฤษ(วีเอสโอ) ดำเนินงานในประเทศไทยมากว่า 50 ปี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบางในประเทศ และตั้งแต่ปี 2013 วีเอสโอได้นำหลักการอาสาสมัครเพื่อการพัฒนา(Volunteering for Development – V4D) มาใช้ในการเสริมสร้างพลังให้กับพลเมือง โดยเฉพาะเยาวชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

 

ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของเยาวชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในงานพัฒนาของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน วีเอสโอ(VSO) วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ฯ (PSDS) และมูลนิธิวายไอวาย (YIY) จึงได้ร่วมมือกันศึกษาความท้าทายหรืออุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของเยาวชนผ่านโครงการเสียงเยาวชน(VOY)

 

วัตถุประสงค์เฉพาะของโครงการโวยคือการให้เยาวชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีธรรมาภิบาลทั้งในชุมชนของตนและในประเทศ ซึ่งเชื่อมต่อกับวัตถุประสงค์รวมของโครงการซึ่งคาดหวังให้เยาวชนได้มีพื้นที่และขีดความสามารถที่จะช่วยผลักดันในการลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การดำเนินงานของโครงการโวยแตกต่างจากโครงการเยาวชนที่ผ่านๆ มา ซึ่งกำหนดให้เยาวชนอยู่ในฐานะผู้ได้รับผลประโยชน์ แต่โครงการโวยจะทำงานไปพร้อมๆ กับเยาวชน และให้เยาวชนได้ผลักดันงานในชุมชนด้วยตัวเอง ตั้งแต่การออกแบบ การดำเนินงาน และการติดตามผลการดำเนินงาน โดยโครงการจะสนับสนุนเครื่องมือและความรู้เพื่อช่วยระบุปัญหาและความท้าทายที่มีผลต่อเยาวชน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างทักษะการบริหารจัดการโครงการ การจัดการด้านการเงิน เพื่อนำไปปรับใช้ในชุมชน และหนุนเสริมการสร้างภาคีและการทำงานร่วมกัน การดำเนินงานของโครงการยังต้องการส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงชุมชนกับงานพัฒนาในระดับชาติผ่านงานประชุมประจำปีเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับเยาวชนและชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานพัฒนา การมีธรรมาภิบาล และการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

 

โครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2565 ทำงานกับเยาวชน 10 กลุ่ม ใน 8 จังหวัด เยาวชนแกนนำในโครงการนี้มีอายุระหว่าง 15 ถึง 35 ปี และสมาชิกเยาวชนทั่วไปในชุมชนมีอายุระหว่าง 11 ถึง 35 ปี ในโครงการโวยระยะแรกองค์กรภาคประชาสังคมของเยาวชน หมายถึง องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งบริหารจัดการ ดำเนินงาน และมีอำนาจตัดสินใจโดยเยาวชน แต่หลายๆ พื้นที่องค์กรภาคประชาสังคมของเยาวชนยังอยู่ในระยะเริ่มและมีเพียงการรวมกันแบบหลวมๆ ดังนั้นองค์กรภาคประชาสังคมของเยาวชนจึงรวมถึงกลุ่มเยาวชนที่มารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน

 

  1. Background and rationale หลักการและเหตุผล

As part of the project’s monitoring and evaluation framework, the baseline assessment will be conducted in order to provide information base against which to monitor and assess the progress of the action and its effectiveness during implementation and after the activity is completed.

 

The baseline assessment will determine the current levels of knowledge and skills of youth leaders and youth CSOs in the project areas. The baseline assessment will also include a Knowledge Attitudes and Practices (KAP) survey which will determine current attitudes, knowledge and practices of young people, community members, local government, and other stakeholders towards the importance of youth participation in development and governance.

 

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลฐานของโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานติดตามและประเมินผลของโครงการโวย ข้อมูลฐานจะช่วยให้เรามีข้อมูลตั้งต้นเพื่อติดตาม ประเมินผลความก้าวหน้า และประสิทธิภาพของกิจกรรมระหว่างการดำเนินงานและหลังจากที่โครงการสิ้นสุดลง

 

การประเมินข้อมูลฐานจะเป็นตัวบ่งชี้สถานะปัจจุบันของระดับความรู้ ทักษะของเยาวชนแกนนำ และองค์กรภาคประชาสังคมของเยาวชนในโครงการ นอกจากนี้การประเมินข้อมูลฐานยังรวมถึง “การสำรวจความรู้ เจตคติหรือทัศนคติ(KAP)” ซึ่งทำให้เราทราบถึงข้อมูลปัจจุบันที่เกี่ยวกับทัศนคติ ความรู้ และการปฏิบัติของเยาวชน สมาชิกในชุมชน องค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานพัฒนาและการมีธรรมาภิบาล

 

  1. Objectives วัตถุประสงค์

  1. to process and analyses the baseline data using the statistical analysis program.

เพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลฐานโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ


 

  1. to produce baseline data report which demonstrate the current attitudes, knowledge and practices of young people, community members, local government and other stakeholders towards the importance of youth participation in development and governance with additional focus on young women’s participation.

เพื่อเรียบเรียงรายงานในการอธิบายทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ การทำงานของเยาวชน สมาชิกในชุมชน องค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานพัฒนาและการมีธรรมาภิบาล โดยให้ความสำคํญในประเด็นการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่เป็นผู้หญิง

  1. Scope ขอบเขตการดำเนินงาน:

The VoY project is implementing in eight provinces namely Chiang Mai, Chiang Rai, Phayao, Lamphun, Prae, Khon Kaen, Maha Sarakham, and Yala) with 10 youth groups. Each participating youth group, with support from group’s mentors, will collect up to 545 questionnaires during November 2020 to first week of January 2021, then return the completed form to VSO in Bangkok.

The maximum number of questionnaires is 5,450 set which could be less due to the recent restriction of movements in some locations due to COVID 19 outbreak. The final number will be finalised prior to contract signing.

โครงการเสียงเยาวชนทำกิจกรรมในพื้นที่ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน แพร่ ขอนแก่น มหาสารคาม และยะลา ร่วมกับกลุ่มเยาวชนจำนวน 10 กลุ่ม โดยมีพี่เลี้ยงกลุ่มคอยสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจำนวน 545 ชุดต่อกลุ่ม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2564 หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มจะรวบรวมแบบสอบถามทั้งหมดส่งวีเอสโอเพื่อประมวลผลต่อไป


 

โดยจะมีแบบสอบถามรวมทั้งหมด 5,450 ชุด หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตราการต่างๆในแต่ละพื้นที่ วีเอสโอจะสรุปจำนวนแบบสอบถามทั้งหมดและแจ้งให้ทราบก่อนการลงนามในสัญญาจ้าง

  1. Approach and Methodology กระบวนการและวิธีวิจัย

The consultant is required to process the baseline data, 5,450 set of questionnaires, using selected statistical data analysis programme then analyses the data in the way that the data is best demonstrate current attitudes, knowledge and practices of young people, community members, local government and other stakeholders towards the importance of youth participation in development and governance with additional focus on young women’s participation.


 

ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องประมวลผลข้อมูลฐานจากแบบสอบถามจำนวน 5,450 ชุด โดยใช้เครื่องมือทางสถิติที่เหมาะสม และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ การทำงานของเยาวชน สมาชิกในชุมชน องค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเยาวชนในงานพัฒนาและธรรมาภิบาล โดยให้ความสำคํญในประเด็นการมีส่วนร่วมของเยาวชนที่เป็นผู้หญิง


 

  1. Qualifications and Experience

คุณสมบัติและประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ:  

  1. Expertise in quantitative research methods, with at least 5 years of experience.

  2. Strong quantitative data analysis skills

  3. Ability to work within strict deadlines.

  4. Good understanding of safeguarding and data privacy and willing to follow the guidelines provided.

  5. Expertise in issues related to community development, sustainable development, youth empowerment, or capacity building is an asset.

  6. เป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยเชิงปริมาณและมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี

  7. มีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความเชี่ยวชาญ

  8. สามารถทำงานภายใต้กรอบเวลาที่จำกัดได้

  9. มีความเข้าใจเรื่องการป้องกัน/คุ้มครอง และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และจะปฏิบัติตามระเบียบต่างๆที่มีให้

  10. มีความเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาชุมชน การพัฒนาอย่างยั่งยืน การเพิ่มพลังให้กับเยาวชน หรือการเสริมสร้างขีดความสามารถ


 

  1. The submission must address the terms of reference and include:

ผู้สนใจส่งข้อเสนอขอให้เตรียมรายละเอียดประกอบการสมัครดังต่อไปนี้:

  1. Applicant’s resume

  2. A cover letter explaining the applicant’s interest and suitability

  3. A technical proposal including research scope, design, methods, and work plan (2 pages maximum)

  4. A detailed budget outlining consultancy fee and other expenses (if any) in THB

  5. Examples of work: reports previously developed by the applicant as the lead researcher in similar context or using similar approaches as the one in the technical proposal

  6. Please contact Anuwat.Khalertrum@vsoint.org for the term of reference and related documents

  7. Applicant can submit the application in either Thai or English


 

  1. ประวัติการทำงาน

  2. จดหมายแนะนำตัว ระบุความสนใจและความเหมาะสมต่องานนี้

  3. ข้อเสนอด้านเทคนิค ระบุขอบเขตงานวิจัย การออกแบบ วิธีวิจัย และแผนการดำเนินงาน (ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ)

  4. แผนรายละเอียดงบประมาณ ระบุค่าใช้จ่ายในการทำงานเป็นที่ปรึกษาโครงการและค่าใช้จ่ายต่างๆ

  5. ตัวอย่างงานที่ผ่านมา เช่น รายงานที่ผู้สมัครเป็นหัวหน้าทีมวิจัยในบริบทที่ใกล้เคียงกับโครงการเสียงเยาวชน หรือ วิธีวิจัยที่นำเสนอในข้อเสนอด้านเทคนิค

  6. กรุณาติดต่อ Anuwat.Khalertrum@vsoint.org เพื่อขอข้อกำหนด (TOR) และเอกสารเพิ่มเติม

  7. ผู้สมัครสามารถส่งข้อเสนอและเอกสารการสมัครได้ทั้งภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ

  8. Closed date for submission วันที่ปิดรับข้อเสนอ:

 

Applicant should submit their interest by 18 January 2021.

ผู้ที่สนใจสามารถส่งข้อเสนอเข้ามาที่โครงการได้ภายในวันที่ 18 มกราคม 2564

 

Submissions should be addressed to Anuwat.Khalertrum@vsoint.org

โดยส่งเอกสารทั้งหมดที่อีเมล์มาที่ Anuwat.Khalertrum@vsoint.org

 

Further enquiry: Anuwat.Khalertrum@vsoint.org

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่: Anuwat.Khalertrum@vsoint.org


 

Contact : Anuwat.Khalertrum@vsoint.org


ผู้ประสานงาน / Coordinatorนักพัฒนาโครงการ / Creative project developer