Back

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis) ในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของ เด็กนักเรียนนักศึกษาไร้รัฐไร้สัญชาติในสถานศึกษา

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis)  ในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของ เด็กนักเรียนนักศึกษาไร้รัฐไร้สัญชาติในสถานศึกษา

: Plan international

: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

: 1962

: 19 February 2022

4 March 2022

 

การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis)

ในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของ เด็กนักเรียนนักศึกษาไร้รัฐไร้สัญชาติในสถานศึกษา


 

 

  1. เกี่ยวกับองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล

เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาสิทธิและความเสมอภาคของเด็ก โดยเฉพาะสําหรับเด็กผู้หญิงทั่วโลก ในฐานะองค์กรพัฒนาอิสระและมนุษยธรรม เราทํางานร่วมกับเด็ก เยาวชน ผู้สนับสนุน และพันธมิตรของเรา เพื่อจัดการกับสาเหตุของความท้าทายที่เด็กหญิงและเด็กเปราะบางทุกคนต้องเผชิญ เราสนับสนุนสิทธิเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกว่าจะถึงวัยผู้ใหญ่ และช่วยให้เด็กเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อวิกฤตและความทุกข์ยาก เราผลักดันการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติและนโยบายในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก โดยใช้การเข้าถึงประสบการณ์และความรู้ของเรา เป็นเวลากว่า 80 ปีที่เราได้สร้างความร่วมมืออันทรงพลังสําหรับเด็ก และเรามีบทบาทในกว่า 75 ประเทศทั่วโลก

 

 

  1. ความเป็นมาในหัวข้อ/ ประเด็น

โครงการ We Belong #Status ได้ดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ สภาพปัญหาการไร้รัฐไร้สัญชาติของบุคคลในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงมีจำนวนมากในสถานศึกษา เขตการศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะเด็กที่ขึ้นต้นด้วยรหัส G เด็กไร้รัฐ
(ทุกสังกัด) ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาด้านสถานะและสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ไร้สถานะทางกฎหมาย การเข้าถึงสิทธิด้านการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิการเดินทางออกนอกพื้นที่ และสิทธิการประกอบอาชีพ ทำให้เด็กๆ เหล่านี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการแสวงหาผลประโยชน์ทั้งทางด้านแรงงาน และเสี่ยงต่อการถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ

ความไร้รัฐ ไร้สัญชาติส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนหลายประการ เด็กและเยาวชนที่ไร้สถานะที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาจะขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ เด็กหลายคนขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตเพราะความหวาดกลัวและความกังวลในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและการถูกเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุของการไม่มีสถานะบุคคล ส่งผลต่อโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา แน่นอนว่าจะส่งกระทบในเชิงเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศในอนาคตด้วย

ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ ด้วยการช่วยให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาผ่านระบบการบันทึกด้วยรหัส G (บุคคลไร้รัฐ) อย่างไรก็ตาม พบว่า กระบวนการในการกำหนดเลข 13 หลักให้กับเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียน ยังเผชิญกับอุปสรรคทั้งในเชิงนโยบายและแนวปฏิบัติบางประการ ซึ่งส่งผลให้เด็กและเยาวชนจำนวนมากไม่สามารถได้รับการรับรองสถานะ หรือมีความล่าช้าติดขัดบางประการ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากร ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยและแก้ไข จะช่วยให้กระบวนการการรับรองสถานะบุคคลของเด็กในสถานศึกษามีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และช่วยขจัดความไร้รัฐของเด็กในสถานศึกษา ซึ่งเป็นฐานรากให้เด็กสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ ตามมา

เป็นที่แน่นอนว่า การขจัดความไร้รัฐของเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา รวมถึงการจัดสรรทรัพากรที่จะเอื้อให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสิทธิและการบริการจากภาครัฐ คือต้นทุนทางเศรษฐกิจของประเทศที่รัฐต้องแบกรับ อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณาตามความเป็นจริงว่า เด็กและเยาวชนเหล่านี้กำลังจะเติบโตขึ้นมาเป็นประชากรของประเทศ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมให้กับประเทศได้ในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงุทนทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ คือการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งผลเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว และช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง

การศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis) ของการดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กไร้รัฐในสถานศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายในอนาคต ข้อค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้จะช่วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงนโยบายและแนวปฏิบัติที่เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยื่นขอและพิจารณาสถานะบุคคล รวมถึงเข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญในการลงทุนทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสิทธิและคุณภาพชีวิตของเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติภายใต้แผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต

 

  1. การมุ่งเน้นการวิจัย

การศึกษาวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis) ในการขจัดความไร้รัฐในสถานศึกษา มุ่งศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุนทางสังคมเพื่อขจัดความไร้รัฐในสถานศึกษา ว่าส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเยาวชนรวมถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาวอย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยในการวิจัย ดังนี้

1. เพื่อศึกษาข้อเท็จจริง วิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถานะบุคคลของกลุ่มเด็กเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ และอุปสรรคปัญหา ในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ ของเด็กนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G

2. เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม อันเกิดจากการที่เด็กและเยาวชน ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา การรักษาพยาบาล การเดินทาง ปัญหาการเข้าถึงสิทธิในการบริการด้านหลักประกันสุขภาพ ปัญหาในการเข้าถึงทุนการศึกษา ปัญหาในการเดินทาง และปัญหาในการประกอบอาชีพ

3. เพื่อศึกษาประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หากเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

4. เพื่อนำผลของการศึกษาในสามข้อดังกล่าวข้างต้น มาประเมินความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis) ในการขจัดความไร้รัฐในสถานศึกษา เปรียบเทียบกับ ความคุ้มค่าในการลงทุนทางสังคมเพื่อขจัดความไร้รัฐในสถานศึกษาในประเทศไทย

  1. สิ่งที่ต้องส่งมอบ

สิ่งที่ต้องส่งมอบ

รูปแบบ

กำหนดส่ง

รายละเอียดเพิ่มเติม

รายงานการวิจัยขั้นต้น Inception Report

.docx & .pdf

ต้นเดือนมีนาคม 2565

 

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม (ข้อมูลต้นฉบับ)

เอกสารต้นฉบับจริงจากภาคสนาม

ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565

 

แบบฟอร์มยินยอมการให้ข้อมูลที่กรอกเรียบร้อยแล้ว

เอกสารต้นฉบับจริงจากภาคสนาม

ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565

 

เครื่องมือรวบรวมข้อมูล

.docx & .pdf

ภายในวันที่ 20 เมษายน 2565

ต้องผ่านการอนุมัติ Ethical Approval

ข้อมูลดิบที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (รวมถึงการถอดเทป)

ในรูปแบบ .docx, Excel (.xlsx) (และ SPSS หากทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณ)

ภายในวันที่ 30 เมษายน 2565

 

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์(รวมบทสรุปผู้บริหาร)

.docx & .pdf

ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2565

จัดส่งไฟล์พร้อมจัดทำรูปเล่มรายงานงานวิจัยภาษาไทย 3 ฉบับ แปลเป็นภาษาอังกฤษ 3 ฉบับ

บทสรุปงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์สี ขนาด A3

โปสเตอร์สี ขนาด A3 รวมถึงไฟล์ต้นฉบับที่สามารถแก้ไขได้

ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2565

 

PowerPoint presentation) งานวิจัย ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

.pptx & .pdf หรือรูปแบบที่แก้ไขได้อื่นๆ

 

 

 

 

 

  1. คุณสมบัติที่คาดหวัง (4 – 5 คุณสมบัติหลัก)


 

ทีมที่ปรึกษาที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมการคัดเลือกในครั้งนี้ ควรมีคุณสมบัติต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. มีประสบการณ์การทำงานด้านสังคมศาสตร์หรือการวิจัยด้านกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 3 ปี

  2. มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในลักษณะของการประเมินความคุ้มค่าทางสังคม (Cost-Benefit Analysis)

  3. มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ และสามารถทำงานในสถานการณ์ต่างๆ ได้

  4. มีความรู้ความเข้าใจ สามารถตั้งคำถาม จับประเด็น สรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเท็จจริง โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

  5. มีทักษะในการสื่อสารที่ชัดเจน สามารถบริหารจัดการ มีความเป็นผู้นำ คล่องตัว สามารถจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่กระทบต่องานวิจัย ทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นของทีมงานในฝ่ายวิชาการ และภาคส่วนสนับสนุนในท้องถิ่น มีความรับผิดชอบ และตรงต่อเวลา

  6. มีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

  7. มีความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวในการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในปัจจุบันเป็นอย่างดี

  8. มีความสามารถในการถามคำถาม ประมวลคำถาม และคำตอบในการทำงานกับกลุ่มเยาวชน

9) มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยม ทั้งฟัง พูด อ่าน และเขียน10)หากมีประสบการณ์ในการทำงานที่คล้ายคลึงกันสำหรับ INGOs หรือผู้บริจาคจากต่างประเทศ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

 

  1. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • คุณสุมิตร วอพะพอ; ผู้จัดการ We Belong#Status, Plan International Thailand (Sumit.Wophapho@plan-international.org)

  • คุณสุดาวดี ลิมไพบูลย์; MERL Manager, Plan International Thailand (sudawadee.limpaibul@plan-international.org)

 

 

  1. การส่งโครงร่างการวิจัยเพื่อขอรับการคัดเลือก

ผู้สมัครที่สนใจควรให้ข้อเสนอที่ครอบคลุมด้านต่อไปนี้:

  • โครงร่างงานวิจัยที่ตอบสนองตามรายละเอียดใน TOR

  • นำเสนอกระบวนการการดำเนินการด้านจริยธรรมและวิธีการปกป้องเด็กและเยาวชน รวมถึงการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ตลอดจนแผนการรับมือความเสี่ยงนั้นๆ

  • ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

  • ประวัติทีมวิจัย

  • ตัวอย่างผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้ อย่างน้อย 3 เรื่อง

  • งบประมาณโดยละเอียด รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมรายวัน ค่าใช้จ่าย ฯลฯ

 

ผู้สนใจ โปรดส่งใบสมัคร พร้อมด้วยโครงร่างการวิจัย มาที่ คุณสุพรชัย นวทวีพร Supornchai.nawataweeporn@plan-international.org ายในวันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 17.00

 

Contact : Supornchai.nawataweeporn@plan-international.org


ที่ปรึกษา / Consultantนักวิจัย / Researcher