Back

จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบการเรียน E-learning การลดอันตรายจากการ ใช้สารเสพติดชนิดฉีด

จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบการเรียน E-learning การลดอันตรายจากการ ใช้สารเสพติดชนิดฉีด

: มูลนิธิรักษ์ไทย : CARE Thailand

: Nonprofits / องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

: 1159

: 9 July 2020

20 July 2020

ขอบเขตงาน (Terms of Reference: TOR)

เพื่อพัฒนาระบบการเรียน E-learning การลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดชนิดฉีด

สนับสนุนงบประมาณโดย

โครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ด้วยชุด RRTTR (Stop TB and AIDS through RTTR-STAR PROJECT สำหรับปี พ.ศ. 2561-2563

 

เลขที่แบบเสนอขออนุมัติ

Requisition number

PG#87/2563

วันที่เสนอขออนุมัติ

Issued dated

25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จุดประสงค์ขอบเขตงาน

จัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาระบบการเรียน E-learning การลดอันตรายจากการ ใช้สารเสพติดชนิดฉีด

งานของโครงการ

PG/ PWID

 

ที่มาของงบประมาณ

The Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria

กองทุนโลกด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย

การเปรียบเทียบราคา

Require for competitive bidding

เปรียบเทียบราคา

 

องค์ประกอบเอกสารในขอบเขตงาน

  1. จุดประสงค์
  2. ที่มาและความสำคัญ
  3. วัตถุประสงค์ของขอบเขตงาน
  4. ผลงานที่คาดหวัง
  5. ขอบเขตการดำเนินงาน
  6. ระยะเวลาและสถานที่ในการดำเนินงาน
  7. การส่งมอบงานและการชำระเงิน
  8. วงเงินงบประมาณ
  9. ค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ
  10. ลิขสิทธิ์ และเงื่อนไขในการดำเนินงาน
  11. คุณสมบัติของผู้รับจ้าง และเอกสารประกอบการพิจารณา
  12. หน่วยงานและผู้รับผิดชอบหลัก
  13.  ภาคผนวก

 

 

  1. จุดประสงค์

เพื่อจัดทำหลักสูตร/ระบบการสอนออนไลน์ แบบ e-learning ที่ออกแบบเจาะจงสำหรับ โครงการ STAR และมีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาความรู้ ทักษะ ของแกนนำแนวหน้าที่ลงชุมชน ให้ทำงานเป็น ใน 2-3 เดือน หลังจากเข้ามาทำงาน และ เสริมทักษะอย่างต่อเนื่องในระหว่างการทำงาน

 

  1. ที่มาและความสำคัญ

ตามยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทย .ศ.2560-2573 รัฐบาลมีเป้าหมายในการ เข้าถึงกลุ่มประชากรหลัก ที่ยังพบอัตราเอชไอวีสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรอื่น ๆ ซึ่งประชากรหนึ่งใน ประชากรหลัก คือ ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด หรือ People Who Inject Drugs (PWID) ซึ่งมีโอกาสในการรับ และแพร่เอชไอวี ทั้งโดยเพศสัมพันธ์ และ การใช้เข็มร่วมกัน โดยที่เป้าหมายโครงการ คือ การแนะนำให้ความรู้ เพื่อลดอันตรายการใช้สารชนิดฉีด และรวมทั้งนำเข้ามาในระบบสาธารณสุข เพื่อดูแลสุขภาพ และตรวจหา เอชไอวี ซึ่งหากพบว่มีผลเลือดเป็นบวก จะแนะนำให้รักษาทันที ทั้งนี้ในการเข้าหาผู้ใช้สารเสพติด ใช้ระบบ เพื่อนถึงเพื่อน หรือ peer educator ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ หรือ ไม่มีประสบการณ์การใช้สารเสพติด ก็ได้ แต่มีทักษะในการลงพื้นที่ ชุมชนต่าง ๆ เพื่อพบผู้ใช้สารเสพติดฉนิดฉีด ให้ความรู้ ให้อุปกรณ์สะอาด และ เข้าสู่บริการสุขภาพ โดยการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  เอชไอวี  ไวรัสตับอักเบ วัณโรค และติดตาม อย่างต่อเนื่อง

 

ประเด็นปัญหา

  1. แกนนำเเพื่อนถึงเพื่อน มีอัตราการเข้า-ออกสูง จึงต้องอบรมคนที่เข้ามาแทนที่บ่อครั้ง ซึ่งการอบรมโดย วิทยากรต้องมีการเตรียมการมาก จึงทำให้ผู้ที่เข้าทำงานใหม่ ขาดการพัฒนาด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน
  2. เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ตำแหน่งอื่น ๆ ขาดความเข้าใจ เรื่องการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ดังนั้น การหนุนเสริมการทำงานของแกนนำจึงทำได้จำกัด
  3. ขาดการรวบรวมจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้ที่ทำงานใหม่ หรือทำงานมาพักหนึ่งแล้วแต่จำเป็นต้อง อบรมเพิ่ม
  4. การอบรมแบบดั้งเดิม ครั้งหนึ่ง 4-5 วัน ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก การหวังผลได้น้อย หากผู้เข้าอบรม เป็นหัวหน้างานเพื่ออบรมต่อ ขาดเครื่องมือการสอนต่อ และขาดวิธีการประเมินผลเป็นระบบ
 

 

  1. วัตถุประสงค์ของขอบเขตงาน

วัตถุประสงค์ของขอบเขตงานนี้เพื่อ พัฒนาหลักสูตรที่ รวมสองหลักสูตร คือ

  1. หลักสูตรการเริ่มงานใหม่ (เริ่มแรก) 30 ชั่วโมง
  2. หลักสูตรการพัฒนาทักษะต่อเนื่อง (ระดับกลาง)  30 ชั่วโมง

หลักสูตรการเริ่มงานใหม่ จะประกอบด้วย การนำเสนอ แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ที่สอดคล้องกับลักษณะ การเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม (แกนนำภาคสนามที่เริ่มงานและอยู่ในช่วงทดลองงาน)​

  • 1) แนะนำโครงการ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  • 2) นิยามการลดอันตรายจากกากรใช้สารเสพติดในรูปแบบต่าง ๆ และ ความหมายในโครงการ ที่เกี่ยวกับ PWID โดยเฉพาะโครงการ STAR 
  • 3) การใช้สารประเภทต่าง ๆ และวงจรชีวิตของ ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด
  • 4) ความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 
  • 5) ความรู้เรื่องโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด และการแนะนำที่ถูกต้อง อันรวมถึง
    1. STI
    2. HIV
    3. HCV,
    4. TB
  • 6) ความรู้เบื้องต้นเรื่องบริการของโครงการอุปกรณ์สะอาด ถุงยาอนามัย การรักษาสุขภาพ การตรวจ STI/HIV/HCV/TB
  • 7) เทคนิคการลงพื้นที่ เข้าถึงและสร้างสัมพันธ์กับผู้ใช้ยา และการทำงานกับผู้นำชุมชน
  • 8) เทคนิคการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • 9) เทคนิคการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • 10) การทำงานกับความหลากหลาย อายุ เพศ ความเชื่อ
  • 11) การส่งต่อเพื่อนไปยังสถานบริการสุขภาพและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสิทธิประโยชน์
  • 12) การติดตามดูแลเพื่อนหลังการตรวจ
  • 13) การรักษาสุขภาพกายใจคนทำงาน
  • 14) การทำรายงาน
 

 

เนื้อหาของหลักสูตร Intermediate (ผู้ที่จบหลักสูตรแรกแล้ว หรือหลังจากผ่านช่วงทดลองงานและมีอายุงานไม่เกิน 1 ปี)

  • 1) การส่งต่อ เมธาโดน
  • 2) การให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ปลอดภัย
  • 3) การแนะนำ/ช่วยเหลือ น็อคยา และ นาล็อคโซน (Naloxone)
  • 4) การอยู่ดี คนทำงาน ไม่ ใช้สารเพิ่ม
  • 5) ชุดแบบตรวจเอชไอวีจากน้ำลาย (Oral Fluid)
  • 6) ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่สัมผัสเชื้อ (Pre-Exposure Prophylaxis: PrEP)
  • 7) การให้การปรึกษา
  • 8) การติดตามผู้ที่รักษา เอชไอวี วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ
  • 9) - การทำงานด้านสิทธิ์

 

แนวทางการพัฒนาหลักสูตร

  1. ขั้นตอนการค้นคว้า โดยการหารือกับ มูลนิธิรักษ์ไทย และองค์กรภาคี รวมทั้งการค้นคว้าจากตัวอย่าง หลักสูตร จากมูลนิธิรักษ์ไทยและการค้นคว้าทางเว็บ หรือผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอื่น ๆ  เกิดกรอบ หลักสูตรที่เสนอ มูลนิธิรักษ์ไทยเพื่ออนุมัติ
  2. ขั้นตอนการก่อนเตรียม ผลิต โดยการประชุมกล่อมย่อยกับตัวแทนของกลุ่มเป้าหมาย (เจ้าหน้าที่ภาคสนาม) ในกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพ เชียงใหม่ และ นครศรีธรรมราช  เกิดกรอบ การนำเสนอที่ใช้ในการผลิต
  3. ขั้นตอนการผลิต ประกอบด้วการผลิต หลายรูปแบบทั้งการนำเสนอโดย บุคคล ที่คัดเลือกมาก การนำเสนอเป็นข้อความ/เสียง การนำเสนอเป็นโมชั่นกราฟิค และการนำเสนอเป็นภาพ หรือคลิป รวมทั้งการออกแบบการประเมินผล หรือทดสอบความรู้ของผู้ที่เข้าร่วมการอบรม งาน creative ทุกชิ้นต้องมีลิขสิทธิ์ที่มอบให้รักษ์ไทย  ไม่ติดลิขสิทธิ์ของที่อื่นใด รวมทั้งหากมีการใช้ภาพ หรือคลิปการสัมภาษณ์ต้องมีใบลงชื่อรับรองและยินยอมโดยเจ้าของงานนั้น ๆ
  4. ขั้นตอนการออกแบบด้าน IT เว็ไซท์ และสามารถดาวน์โหลดผ่าน Play Store  และ App Store ลงในคอมพิวเตอร์หรือ มือถือหรือแพด ระบบ Android และ iOS เพื่อเป็นที่เป็นการออกแบบระบบ ออนไลน์ มีระบบ login และสามารถสะสมประวัติการใช้ ของแต่ละ user รวมทั้งข้อมูลผลการทดสอบ  รวมทั้งการอบรมเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิรักษ์ไทยในการใช้ดูแลรักษา และ การแก้ไขปรับปรุงหากจำเป็น
  5. ขั้นตอนการทดลองการใช้ และปรับปรุง พร้อมทั้งทำคู่มือการใช้ สำหรับหัวหน้างาน
  6. ขั้นตอนส่งมอบงาน พร้อมทั้งเอกสารที่ยืนยันเรื่องลิขสิทธิ์ 
  7. การรับประกันระบบหลังการจบงานว่าหากมีเหตุขัดข้องด้านเทคนิค ไอที ระบบ หรือ เนื้อหา ผู้รับงานจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุดในช่วงประกันระยะเวลา 12 เดือน ของการใช้เริ่มแรก

 

กลุ่มเป้าหมาย

  1. คนทำงานในพื้นที่ที่ทำงานในประเด็นผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด

            - คนทำงานที่เป็นผู้ใช้ยาหรืออดีตผู้ใช้ยา

            - คนทำงานที่ไม่เคยมีพื้นฐานด้านยาเสพติดมาก่อน

  1. บุคคลภายนอก หรือองค์กรอื่นที่มีความสนใจในประเด็นด้านยาเสพติด

 

  1. ผลงานที่คาดหวัง

 

เกิดระบบการเรียน E-learning หลักสูตรการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดชนิดฉีด 2 ระดับ สำหรับเจ้าหน้าที่โครงการที่เพิ่งเริ่มทำงานและเจ้าหน้าที่โครงการที่ทำงานที่ผ่านช่วงทดลองงานและมีอายุงานไม่เกิน 1 ปี ระบบ E-learning ที่พัฒนาขึ้นจะต้องใช้งานง่าย มีความน่าสนใจ มีข้อมูลที่ถูกต้อง มีความละเอียดอ่อน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย วัดผลเชิงความรู้ได้จริง ไม่ใช้ภาษาหรือการสื่อความที่ทำให้เกิดการตีตรา หรือสร้างทัศนคติเชิงลบ

 

  1. ขอบเขตการดำเนินงาน

“ผู้รับจ้าง” จะต้องดำเนินงานภายใต้ขอบเขตงานที่ตกลงไว้กับมูลนิธิรักษ์ไทย (“ผู้ว่าจ้าง”) เพื่อออกแบบหลักสูตร E-learning การประเมินการใช้งาน และการสรุปงาน ตามระบุในข้อ 4 ส่งให้ผู้ว่าจ้างได้อย่างสมบูรณ์ตามกำหนดเวลา โดยมีรายละเอียดของงานของผู้รับจ้างดังต่อไปนี้

 

Infrastructure Specification

- โปรแกรมต้องถูกสร้างขึ้นบน Platform ที่รองรับทั้ง ระบบ Mobile Hybridge
                        - iOS

- Android

- Website
- Desktop

- Model และ Version ที่ตัว application ต้อง support Website ที่เป็นพื้นฐานขั้นต่ำสุด โดย base Browser Model รองรับทั้ง Chrome, IE, Firefox ใน version พื้นฐานขั้นต่ำสุดในแต่ละ Browser Model
- Data

Contact : ผู้รับจ้าง ต้องยื่นเสนอเอกสารประกอบ ตามรายละเอียดระบุในข้อ 11 ก่อนการลงนามในสัญญา โดยส่งทางไปรษณีย์ หรือ ส่งทางอีเมล์ ณ สำนักงานมูลนิธิรักษ์ไทย 12.1 ผู้รับผิดชอบงานหลัก คุณพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิรักษ์ไทย ที่อยู่ มูลนิธิรักษ์ไทย 185 ซอยประดิพัทธ์ 6 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-265- 6830 โทรสาร 02-271-4467 อีเมล promboon@raksthai.org 12.1 ส่งทางอีเมลแสดงความจำนงในการประกวดราคา ถึง คุณเนาวรัตน์ อินทุประภา เจ้าหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างมูลนิธิรักษ์ไทย ที่อยู่ มูลนิธิรักษ์ไทย 185 ซอยประดิพัทธ์ 6 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย โทรศัพท์ 02-265-6888, 092-269-0674 โทรสาร 02-271-4467 อีเมล naowarat@raksthai.org


นักพัฒนาโครงการ / Creative project developerนักกิจกรรม / Activist